Trigger point คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ?
Trigger Point หรือ จุดปวดในกล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ ซึ่งจุดกดเจ็บเป็นอาการสำคัญที่พบในผู้ป่วยกลุ่ม อาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด มีลักษณะคือ เป็นปุ่มหรือก้อน ขนาดเล็กภายในกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับแรงกระทำ ดังนั้น หากอยากรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ผู้อ่านต้องรู้จักกับเจ้าจุดกดเจ็บชนิดนี้เสียก่อน
Trigger point คืออะไร เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้หาย?
คนไข้หลายๆคนมาพบหมอ เพราะ อาการปวดเฉพาะที่บางตำแหน่ง ทั้ง คอ บ่า หรือ แขนขา คลำได้เป็นก้อน ซึ่งก้อนตรงกล้ามเนื้อเช่นนี้คือ จุดกดเจ็บ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้คนไข้รู้สึกปวดกล้ามเนื้ออยู่เสมอ อีกทั้งในคนไข้บางราย ได้บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อด้วยการนวดที่บริเวณดังกล่าว โดยไม่รู้เลยว่าการนวดด้วยวิธีที่ผิด อาจทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
จุดกดเจ็บ คือ
จุดกดเจ็บไกเป็นอาการสำคัญที่พบในผู้ป่วยกลุ่ม อาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด มีลักษณะคือ เป็นปุ่มหรือก้อน ขนาดเล็กภายในกล้ามเนื้อ เมื่อได้รับแรงกระทำ เช่น แรงกด หรือแรงดึง ทำให้แสดงอาการปวดเฉพาะที่และพบร่วมกับ อาการปวดแผ่ร้าว เกิดจากกลไกที่ซับซ้อนของพยาธิกำเนิด ของจุดกดเจ็บไก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบ อวัยวะภายในร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบประสาท และ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
จุดกดเจ็บ เกิดจาก
จุดกดเจ็บ มักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อเกร็งหรือหดตัวสะสมเป็นเวลานาน เกร็งบ่อยๆ และมีการกดเบียดเส้นเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อทำให้มีการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงได้ตามข้อต่างๆ ต่อไปนี้
- มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการใช้งานซ้ำๆ
- อยู่ในท่าทางใด ท่าทางหนึ่ง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน (มากกว่า1ชั่วโมง) เช่น การใช้สมาร์ทโฟน และ การนั่งจ้องหน้าคอม เป็นต้น
- ลักษณะโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ เช่น หลังค่อม , กระดูกสันหลังคด เป็นต้น
- ท่าทาง สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์สำนักงาน ที่ไม่เหมาะในการทำงาน
- สภาวะเครียด
จุดกดเจ็บแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
จุดกดเจ็บสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะอาการ ดังนี้
Active Trigger Point
ลักษณะอาการคือ เมื่อกดลงไปที่จุดกดเจ็บชนิดนี้จะมีก้อนหรือจุดกดเจ็บจะทำให้เกิดอาการร้าว โดยจุดกดเจ็บแบบ Active จะเป็นจุดที่ถูกเร่งให้มีความไวมากขึ้น หรือเกิดจากการ บาดเจ็บเฉียบพลันทำให้เกิดอาการเจ็บโดยไม่ต้อง ถูกกระตุ้น และทำให้เกิดการปวดร้าวไปที่บริเวณอื่นได้ จุดกดเจ็บแบบ Active นั้นเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการ บาดเจ็บซ้ำโดยการป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อนั้น ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ เรื้อรัง ข้อติดขัด และมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
Latent Trigger Point
ลักษณะอาการคือ เมื่อขณะกดลงกล้ามเนื้อที่มีก้อนหรือจุดกดเจ็บจะไม่มีอาการร้าว แต่จะทำให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหว ร่วมกับการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่มีปัญหา โดยจะทำให้เกิดความเจ็บปวดได้เมื่อถูกกด Latent อาจคงอยู่เป็นเวลานานหลายปี หลังจากเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ซึ่ง Latent Trigger Point จะเริ่มเกิดจากการเจ็บปวดเฉียบพลันเนื่องจาก minor overstretching or overuse หรือ chilling of muscle
จุดกดเจ็บ มีลักษณะอย่างไร?
1. มีลักษณะคล้ายเม็ดสาคู (nodule)
มีขนาดโตประมาณ 3-6 ซม.และไวต่อการกระตุ้น (Hyperirritability)
2. มีความไวต่อการกระตุ้น
หรือที่เรียกว่า hypersensitivity or hyperirritable โดยเชื่อว่าเนื้อเยื่อบริเวณจุดกดเจ็บมีต้นตอที่เกิดมาจากเนื้อเยื่อได้รับอันตราย ดังนั้น จึงมีการหลั่งสารต่างๆ ที่ทำให้ปลายประสาทที่รับความเจ็บปวด ไวต่อการกระตุ้นจึงทำให้จุดกดเจ็บไวต่อ ความเจ็บปวด
3. ต้องอยู่ใน Taut band ของกล้ามเนื้อ
ซึ่งสามารถคลำได้เป็นลำยาวขนาดเล็กพบว่า Taut band เกิดจาก hypercontracted sarcomeres
4. มี local response
ซึ่งเป็นการตอบสนองที่กล้ามเนื้อหดตัวเมื่อมีการ กระตุ้น ซึ่งคลำได้เป็น Taut band
5. เกิดอาการปวดมากเมื่อถูกกด (painful on compression)
เป็นลักษณะที่ค่อนข้างสำคัญสำหรับอาการปวดเมื่อจุดกดเจ็บถูกกด เนื่องจากเป็นบริเวณที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น นั่นจึงทำให้เมื่อมีแรงกด จุดเจ็บบริเวณนี้จึงมีอาการปวดและ
6. ส่งอาการปวดร้าว ( referred pain)
และพฤติกรรมของระบบประสาท อัตโนมัติ
การดูแลรักษา “จุดกดเจ็บ” ทางกายภาพบำบัด
- ใช้คลื่นกระแทก (Shock Wave) เพื่อคลายจุดกดเจ็บออก (Trigger point)
- ทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อลดการอักเสบและกระตุ้นการซ่อมแซมกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น
- ประคบร้อน ประคบเย็น
- ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปรับท่าทางให้ถูกต้องตามโครงสร้างร่างกาย
การรักษาโดย “จุดปวด” ด้วยวิธีอื่นๆ
Trigger point injection (การฉีดยาที่จุดปวด)
เป็นการรักษาที่ง่ายปลอดภัยทำซ้ำได้ รักษาได้ตรงจุดตรงเหตุ แต่การฉีดให้ตรงจุดต้องรักษาให้กล้ามเนื้อโดยรอบหายเกร็งตัวและต้องแก้ไขปัจจัยเสริมก่อนเพราะฉีดไม่ตรงจุดอาการอาจมากขึ้น
การใช้ยา
จำเป็นต้องใช้ยารักษาหลายแบบไปพร้อมกันเพื่อตัดวงจรการเกิดโรค ได้แก่
- Analgesic (ยาแก้ปวด) เช่น paracetamol
- NSAIDs (ยาต้านอักเสบ) ใช้ในรายที่มีการอักเสบเท่านั้น
- Muscle Relaxant (ยาคลายกล้ามเนื้อ) ไประงับกระแสประสาทที่ทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบหดเกร็งคลายตัว ช่วยให้การรักษาที่จุดปวดด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การฉีดยาง่ายยิ่งขึ้น
- ยานวด ช่วยให้การนวด คลายจุดปวดได้ผลดียิ่งขึ้น
วิธีการนวด จุดกดเจ็บ ที่ถูกต้อง
แพทย์เฉพาะทางกล้ามเนื้อสมัยใหม่บางกรณี ก็คุ้นเคยกับการรักษาที่ใช้การฉีดยาและผ่าตัดเพื่อที่จะแก้ปัญหา โดยมองข้ามไปว่าวิธีดังกล่าวเป็นการทำลายสมดุลในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไข้โดยไม่จำเป็น ข้อจำกัดของการกด จุดกดเจ็บก็มีหลายอย่างเหมือนกัน คือต้องทำโดยที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูง ไม่งั้นก็อาจเห็นผลไม่ชัดเจน หรือหาตำแหน่งของจุดกดเจ็บไม่เจอ และจากที่กล่าวไปว่าข้อจำกัดอีกอย่างคือ เจ็บ ซึ่งจะเจ็บมากเวลากด ซึ่งหากกดโดยวิธีที่ผิดอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้อีก ดังนั้น วิธีการกดคือ ค่อยๆกดบริเวณกล้ามเนื้อเหนือจุดกดเจ็บ (ยังไม่ใช่จุดที่คนไข้เจ็บ)เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆคลายตัว มีเลือดมาเลี้ยงรอบๆก่อน จะได้ลดอาการปวดและพอเริ่มคลาย ก็จะเริ่มกดไปที่จุดปวดนั้นให้คลายตัว ให้เลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงจุดนั้นๆได้ หลังจากกดแล้ว ดื่มน้ำเยอะๆ นอนพักเนอะๆ เว้นซัก 2-3 วันเป็นอย่างน้อย ก่อนที่จะกดซ้ำสัก 3-4 ครั้ง จุด trigger point นี้ก็จะค่อยๆหายไปซึ่งการกินยา หรือ การนวด จะไม่ได้แก้ไขตรงจุดนี้ อย่างไรก็ดี สำคัญที่สุด คือ เมื่อรักษาหายแล้ว จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะในการทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอน ใช้คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม