หายใจ เจ็บซี่โครงขวา อย่านิ่งนอนใจ อาจเป็นภัยร้ายที่เราไม่รู้
หายใจ เจ็บซี่โครงขวา เป็นอันตรายหรือไม่? คำถามที่เป็นข้อสงสัยของหลายๆ คนที่กำลังพบเจอกับอาการนี้อยู่ ซึ่งการเจ็บซี่โครงสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหนัก ยกของหนัก ถูกกระแทก ไอแรงๆ หรือหายใจ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การเจ็บซี่โครงจากการหายใจนั้นค่อนข้างส่งผลกับชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมากๆ เนื่องจากจะเกิดการเจ็บปวดไม่น้อยในขณะที่ต้องหายใจ ดังนั้น จึงควรรักษาอาการนี้ให้หายก่อนที่อาจจะเกิดอาการร้ายแรงอื่นๆ
หายใจ เจ็บซี่โครงขวา เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?
เวลา หายใจ แล้ว เจ็บ ซี่โครง ขวา คล้าย ๆ กับมีอาการปวดชายโครงขวาอยู่เนือง ๆ คงเป็นความกังวลในใจของหลาย ๆ คนอยู่ไม่น้อยว่าอาการปวดชายโครงขวาเป็นสัญญาณของโรคอะไรหรือเปล่า แล้วอาการปวดชายโครงขวาแท้จริงอันตรายไหม ดังนั้น ต้องมาเช็กกันว่าอาการปวดชายโครงขวา บอกโรคอะไรได้บ้าง
สาเหตุของการเจ็บซี่โครงด้านขวา เมื่อหายใจ มีอะไรบ้าง?
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานหนักมากเกินไป หรือซี่โครงที่มีรอยช้ำ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น
- กระดูกซี่โครงหัก
- การได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก
- โรคที่ส่งผลต่อกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน
- การอักเสบที่เยื่อบุด้านในปอด
- กล้ามเนื้อหดตัว
- กระดูกอ่อนที่ซี่โครงอักเสบ
อาการปวดนั้นอาจเกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับบาดเจ็บ หรือค่อยๆ มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังอาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงโรคทางกายได้ ดังนั้นหากมีอาการเจ็บซี่โครงที่ไม่สามารถบอกสาเหตุได้ควรไปพบแพทย์
ลักษณะอาการ
อาจมีได้ทั้งแบบเจ็บแปลบ เจ็บตื้อ ๆ มีอาการปวด หรือ หายใจแล้วเจ็บซี่โครงขวาหลัง สามารถพบได้ทั้งบนหน้าอก หรือใต้หน้าอก หรือเหนือสะดือก็ได้ อาการเหล่านี้สามารถเกิดได้กับซี่โครงทั้ง 2 ข้าง และอาจเกิดตามหลังการได้รับบาดเจ็บ หรืออาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ
โรคร้ายที่อาจเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวจากการเจ็บซี่โครง ขณะหายใจ
สำหรับโรคร้ายแรงที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ประสบปัญหามีอาการเจ็บซี่โครงในขณะที่หายใจนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายโรคด้วยกัน เช่น…
กล้ามเนื้ออักเสบ หรือกระดูกอักเสบ
หากมีอาการเจ็บชายโครงขวาหลังออกกำลังกายหนัก ๆ หรือยกของหนัก ยกผิดท่า ถูกกระแทก หรือไอแรง ๆ ติดต่อกัน ทำให้เอี้ยวตัวแล้วเจ็บชายโครงขวา หรือรู้สึกเสียวแปล๊บ โดยเฉพาะเมื่อขยับตัว และไม่มีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย เคสนี้อาจมีสาเหตุมาจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือกระดูกบริเวณชายโครงด้านขวา ซึ่งอาการไม่อันตรายมาก สามารถกินยาแก้ปวดเพื่อรักษาอาการได้ แต่หากกินยาหลายวันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการปวดชายโครงขวาให้ชัดอีกที
โรคเกี่ยวกับตับและถุงน้ำดี
-
ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
-
นิ่วในถุงน้ำดี
หากนิ่วในถุงน้ำดีไปอุดตันในท่อส่งน้ำดี จะมีอาการเจ็บลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา และอาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทั้งนี้อาการเจ็บชายโครงขวาอาจเป็นบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังกินอาหารไขมันสูง
ปอดอักเสบ หรือเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
มะเร็งตับ
สัญญาณหนึ่งของโรคมะเร็งตับคือผู้ป่วยจะมีอาการแน่นลิ้นปี่ หรือปวดใต้ชายโครงขวาทั้งวัน และอาจปวดร้าวไปที่ไหล่ขวาหรือใต้สะบักด้านขวา ปวดแบบเรื้อรัง ร่วมกับมีอาการเบื่ออาหาร ท้องโต และน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม โรคร้ายเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นข้อสงสัยเท่านั้น ซึ่งแต่ละกรณีอาจมีสาเหตุหรือระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เพื่อให้ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัดว่าอาการนี้เกิดจากอะไรกันแน่ ผู้ประสบปัญหาควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดและรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป
หายใจแล้วเจ็บซี่โครงขวา วิธีรักษา และป้องกัน มีอะไรบ้าง?
สำหรับแนวทางรักษาและป้องกันอาการเจ็บใต้ซี่โครงนั้น สามารถแบ่งออกได้หลายวิธี ดังนี้…
- หากเกิดจากการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น กล้ามเนื้อใช้งานมาก หรือมีรอยช้ำ อาจใช้การประคบเย็นที่บริเวณดังกล่าวเพื่อลดอาการบวมภายใน 24 ชั่วโมงแรก
- หากการใช้ยาทั่วไปยังไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ แพทย์อาจจะสั่งยาตัวอื่นในการรักษา หรืออาจจะมีการใช้วิธี compression wrap ซึ่งเป็นการใช้ผ้ายืดขนาดใหญ่พันรอบหน้าอก วิธีนี้จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมรวมถึงป้องกันอาการปวดที่มากขึ้นได้
- หากมีอาการปวดอาจเรื้อรัง อาจใช้การประคบร้อน หรือจะใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการได้
- หากอาการปวดนั้นเกิดจากมะเร็งกระดูก แพทย์จะอธิบายถึงแนวทางการรักษาซึ่งขึ้นกับตำแหน่งของมะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง หรือมีความผิดปกติอื่นๆ หรือไม่ และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไปตามแต่ละบุคคล
- ในกรณีที่เจ็บจากภาวะทางกล้ามเนื้อ สามารถป้องกันอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบได้โดยการยืดกล้ามเนื้อ,ใช้งานอุปกรณ์ออกกำลังกายให้เหมาะสม,ปรับอิริยาบถการเคลื่อนไหวให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงอิริยาบถและท่าทางที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและซี่โครง เป็นต้น
ซึ่งแนวทางเหล่านี้เป็นการป้องกันและการรักษาแบบเบื้องต้นเท่านั้น สำหรับดคสที่รู้สึกว่ามีระดับความรุนแรงที่มากพอควร หรือมีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นได้ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
การประคบร้อน (Hot pack) สำหรับอาการเจ็บซี่โครง (ในกรณีที่อาการเจ็บเกิดจากกล้ามเนื้อ)
การประคบประเภทนี้ คือ วิธีที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวด ตึง หรือเกร็ง เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือเส้นเอ็น การประคบร้อนจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวให้ดีขึ้นโดยการช่วยให้ผ่อนคลาย เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ หรือฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย เป็นต้น
-
วิธีการประคบ
- เริ่มใช้หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง
- ประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
- ควรใช้เจลสำหรับประคบร้อนหรือผ้าสะอาดชุบน้ำร้อนที่อุณหภูมิความร้อนไม่ควรเกิน 45 องศา
- อาการที่ควรทำประคบร้อน เช่น ปวดตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า หลัง น่อง ปวดประจำเดือน
-
ข้อดีของการประคบร้อน
ประคบร้อนจะช่วยให้การไหลเวียนโลหิตบริเวณที่ประคบดีขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปวดและบวมได้เป็นอย่างดี และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่อที่ตึงหรือเกร็งคลายตัวลง และยังช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายหรือเกิดความเสียหายให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
-
อาการที่การประคบร้อนช่วยได้
- อาการปวดข้อหรือข้ออักเสบ เพื่อบรรเทาอาการข้อฝืดและคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งได้
- อาการปวดศีรษะหรือบริเวณต้นคอซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ
- อาการเคล็ดขัดยอก
- โรคเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง
-
ข้อพึงระวัง
- ไม่ควรประคบด้วยความร้อนที่มากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ประคบ
- ไม่ควรประคบนานหรือถี่จนเกินไป
- ไม่ควรประคบร้อนตรงบริเวณที่มีหน้าแผลหรือมีเลือดไหละจะทำให้อักเสบมากขึ้น
- ควรประคบต่อเมื่อการอักเสบลดน้อยลงแล้ว
ทั้งนี้ แม้อาการประคบร้อนจะเป็นแนวทางที่ง่ายและสามารถทำได้เอง แต่ก็ควรศึกษาการใช้หรือขั้นตอนการประคบให้ละเอียดเพื่อที่จะได้ไม่ส่งผลเสียตามมาในภายหลัง
สรุป ข้อควรรู้ของ “อาการเจ็บซี่โครงด้านขวาเมื่อหายใจ”
ท้ายที่สุด การป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการเจ็บซี่โครงเป็นสิ่งที่สำคัญ หากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บในขณะที่หายใจมาก ๆ ควรรีบไปพบแพทย์โดยไว ไม่ควรปล่อยให้อาการเรื้อรังหรือปวดมากจนทนไม่ไหว เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที ทั้งนี้ ควรทำร่วมกับการดูแลตนเอง ออกกำลังกาย และเลี่ยงอิริยาบถที่จะนำไปสู่การบาดเจ็บให้ได้มากที่สุดเพื่อป้องกันการกลับมาเกิดอาการซ้ำนั่นเอง
FAQ คำถามที่พบบ่อย
เจ็บใต้ซี่โครงด้านขวาเกิดจากอะไร
อาการเจ็บซี่โครงด้านขวา อาจเกิดจาก เจ็บจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกอ่อนบริเวณอกอักเสบ ปลายเส้นประสาทอักเสบ อาจเป็นลักษณะเจ็บจี๊ดๆ เจ็บไม่มาก หรืออาจเกิดจากกระเพาะอาหารอยู่ทางด้านซ้ายมีอาการอักเสบซึ่งมีโอกาสจะเจ็บลามมาถึงฝั่งขวาได้นั่นเอง
หายใจแล้วเจ็บซี่โครงเกิดจากอะไร
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานหนักมากเกินไป หรือซี่โครงที่มีรอยช้ำ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น กระดูกซี่โครงหัก การได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก โรคที่ส่งผลต่อกระดูก และการอักเสบที่เยื่อบุด้านในปอด เป็นต้น
ทำยังไงให้หายเจ็บซี่โครง
หากเกิดจากการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น กล้ามเนื้อใช้งานมาก หรือมีรอยช้ำ อาจใช้การประคบเย็นที่บริเวณดังกล่าวเพื่อลดอาการบวมภายใน 24 ชั่วโมงแรก
กระดูกซี่โครงอักเสบ รักษาอย่างไร
เบื้องต้น ผู้ป่วยต้องรักษาด้วยการกินยาแก้ปวดโดยเฉพาะยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen หรือ naproxen ร่วมกับการหยุดพัก งดยกของหนัก หรือกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดการกระทบกระแทก บริเวณหน้าอก หรือ เกิดการเคลื่อนไหวของบริเวณดังกล่าว
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ฝึกหายใจ” ฟื้นฟูปอดสู้ยุคโควิด-19
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- ปวดหลังล่าง ปวดสลักเพชร ก้นกบ