กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
รักษากระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
ภาวะกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่เกิดการบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้มีการผิดรูปและเกิดการไม่สมดุลกัน โดยสังเกตได้จากด้านหลังผู้ป่วยจะมีลักษณะที่คล้ายดังรูปด้านล่าง ซึ่งจะสังเกตเห็นความผิดปกติจากระดับไหล่ สะบัก หรือเอวที่ไม่เท่ากันได้ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้มีโอกาสเพิ่มองศาการคดของกระดูกมากขึ้น และการ รักษากระดูกสันหลังคด จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ดังนั้นการ รักษากระดูกสันหลังคด จะได้ผลดีที่สุดเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาในช่วงที่เหมาะสม และการดำเนินของโรงยังไม่รุนแรง
Image Source: Mayo Clinic
กระดูกสันหลังเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อมีกระดูกสันหลังคด
แนวกระดูกสันหลังที่บิดไปมา อาจพบได้ทั้งส่วนคอ หลังส่วนบนและหลังส่วนล่าง โค้งที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการบิดหมุนของกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวกระดูกสันหลังทั้งแนว การบิดหมุนของกระดูกสันหลังนี้มีผลทำให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ เกิดการยึดรั้งและไม่แข็งแรง จึงอาจทำให้มีส่วนโค้งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ การบิดหมุนของกระดูกสันหลังที่เกิดบริเวณหลังส่วนบน ยังส่งผลให้มีการบิดของกระดูกซี่โครง สังเกตเห็นหลังบิดเบี้ยวไม่เท่ากัน
https://en.wikipedia.org
สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกสันหลังคด
ปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานที่มีโอกาสเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะกระดูกสันหลังคดมีดังนั้น- อายุ – ที่พบบ่อยมักพบในเด็กที่อยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต หรือ ในช่วงของที่น้องๆกำลังมีพัฒนาการด้านความสูง
- เพศ – ถึงแม้ว่าเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีอัตราการตรวจพบภาวะกระดูกสันหลังคดในระยะแรกเท่าๆกัน แต่เด็กผู้หญิงจะมีความเสี่ยงที่องศาการคดจะเพิ่มมากขึ้นในระยะถัดๆไปจนจำเป็นต้องการเข้ารับการรักษา
- ประวัติครอบครัว – หากครอบครัวไหนที่มีประวัติบุคคลในบ้านมีภาวะกระดูกสันหลังคด ก็มักจะพบว่าคนใกล้ชิดมีโอกาสที่จะมีภาวะกระดูกสันหลังคดได้มากกว่าครอบครัวที่ไม่มีประวัติของโรค
อวัยวะไหนบ้างที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะกระดูกสันหลังคด
- หัวใจและปอด – เมื่อกระดูกสันหลังมีการคดและบิดมากๆอาจจะส่งผลให้กระดูกซี่โครงที่บิดตามไปกดทับต่อหัวใจและปอดได้ ทำให้กระทบต่อระบบการเต้นของหัวใจ และการหายใจ
- ปวดหลัง – ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังตั้งแต่เด็ก อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาเมื่อมีอายุมากขึ้น
- โครงสร้างร่างกาย – เมื่อกระดูกสันหลังของผู้ป่วยเริ่มคดมากขึ้นในระดับนึงแล้ว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างร่างกายที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดจากภายนอก เช่น ระดับความสมดุลของไหล่และสะโพกไม่เท่า หรือ การบิดของกระดูกซี่โครง สิ่งเหล่านี้มักจะกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยเมื่อต้องออกจากบ้าน
กระดูกสันหลังคดอันตรายหรือไม่?
เมื่อรู้ว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีภาวะกระดูกสันหลังคด สิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก คือ องศาการคดของกระดูกจะคดมากขึ้นหรือไม่ และในอนาคตจะปวดหลังไหม หรือมีปัญหากระดูกสันหลังอื่นๆในระยะยาวหรือไม่ ข้อมูลทางการแพทย์อาจช่วยทำให้เราเลือกวิธีการดูแลตนเองแทนความกังวลได้ ดังนี้- มุมกระดูกสันหลัง >50 องศา จนถึง 70 องศา อาจส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการหายใจได้
- อาการปวดหลัง และการกดทับเส้นประสาทอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการบิดหมุนของกระดูกสันหลัง
- หากพบในเด็กที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโต อาจพบการคดของกระดูกสันหลังมากขึ้น ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาทันทีที่ตรวจพบ
วิธีตรวจภาวะกระดูกสันหลังคดด้วยตัวเอง
หากผู้ป่วยต้องการทราบว่าตัวเอง หรือคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกสันหลังคดหรือไม่ จะมีวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นด้วยด้วยตัวเองง่ายๆตามข้อด้านล่างนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับการปรึกษาได้อย่างรวดเร็วหากตรวจพบเจอเร็ววิธีที่ 1 ให้ถอดเสื้อออกแล้วยืดหันหน้าเข้าหากระจกเงา หลังจากนั้นสังเกตความสมดุลของไหล่เท่ากันรึเปล่า ตัวเอียงหรือไม่ และมีซี่โครงข้างใดปูดนูนออกมาไหม ถ้าหากไม่มีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาแสดงว่ายังไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกสันหลังคด
วิธีที่ 2 อีกหนึ่งวิธีที่สามารถตรวจได้ง่าย คือ การยืนตรง กางขาเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆก้มตัวลงและยืดแขนทั้งสองข้างไปด้านหน้าให้ถึงระดับสะโพกตามตัวอย่างรูปด้านล่าง วิธีการทดสอบนี้จะเรียกว่าวิธี Adam’s Forward Bend Test หากพบว่าแผ่นหลังทั้งสองข้างนูนไม่เท่ากันจะแสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสันหลังคด และควรที่จะเข้ารับการปรึกษาเพื่อลดโอกาสในการคดของกระดูกมากขึ้น

Illustration by Gilbert M. Gardner

Image: https://www.orthobullets.com/
ผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าตัดทุกรายใช่ไหม?
การ รักษากระดูกสันหลังคด หลายท่านคงคิดถึง “การผ่าตัด” เท่านั้น ในปัจจุบัน พบว่า การแพทย์ทางเลือกอย่างการทำกายภาพบำบัด และการใส่เสื้อเกราะเพื่อดัด สามารถทำให้ส่วนโค้งลดลงได้ ขณะที่ผู้ที่มีกระดูกสันหลังคด มากกว่า 50 องศา อาจเลือกวิธีการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังให้กลับมาตรงอีกครั้ง แต่อาจพบผลเสียจากการผ่าตัดได้ เช่น อันตรายที่เกิดขึ้นต่อเส้นประสาทช่วงของการผ่าตัด อาจทำให้เกิดการอ่อนแรงของขาหลังการผ่าตัดได้ (Paralysis) และการจำกัดการเคลื่อนไหวของหลังลดลงอย่างน้อย 25% อย่างไรก็ตาม มีเทคนิคการ รักษากระดูกสันหลังคด มากมาย ทั้งการรักษาด้วย Schroth methods การออกกำลังกายด้วย Pilates โดยผู้เชี่ยวชาญ หรือแม้แต่การออกกำลังกายเฉพาะทาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง ซึ่งจะสามารถช่วยลดความโค้งของภาวะกระดูกสันหลังคด และทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น ลดอาการปวดเนื่องจากภาวะดังกล่าวได้ การทำกายภาพบำบัดจึงเป็นวิธีที่นิยมและได้ประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันรักษากระดูกสันหลังคดด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
การ รักษากระดูกสันหลังคด ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษา โดยจะมุ่งเน้นไปที่การชะลออาการคดและทำให้องศาของการคดลดน้อยลง รวมทั้งช่วยลดอาการปวดและอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ด้วยหลักการรักษาด้านการออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และจัดโครงสร้างกระดูก ในกรณีที่องศาการคดของกระดูกสันหลังไม่รุนแรง หรือ มีองศาการคดที่ไม่มาก โครงสร้างต่างๆยังสามารถที่จะปรับเข้าสู่แนวแกนกลางได้ การรักษาทางกายภาพบำบัดจะเริ่มจากการตรวจหาสาเหตุของการเกิดกระดูกสันหลังคด และจะใช้เทคนิคการรักษาเฉพาะซึ่งจะเน้นไปทางฝึกออกกำลังกายเพื่อปรับโครงสร้าง (ตัวอย่างรูปด้านล่าง) รวมถึงอาจจะมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบางกลุ่มที่ตึงเกินไป
Image Source: https://www.wikihow.com/Do-Scoliosis-Treatment-Exercises
คำถามที่พบบ่อย
กายภาพบำบัดสามารักษาภาวะกระดูกสันหลังคดได้รึเปล่า: การรักษาทางกายภาพบำบัดจะเน้นไปทางด้านการออกกำลังกายสำหรับลดองศาการคดของกระดูกสันหลัง ทำให้โครงสร้างร่างกายดีขึ้น และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ผลของการรักษาจะช่วยทำให้-
- ลดอาการปวด
- พัฒนาการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น
- การหายใจที่ดีขึ้น
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร
ทำไมต้องเลือก Newton Em Clinic

- สาขาลาดพร้าว เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาราชดำริ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาทองหล่อ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขากาญจนาภิเษก เบอร์โทร 099-553-9445, 083-559-5954
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
Tel: 099-553-9445ปรึกษา หรือ ติดตามความรู้สุขภาพอื่นๆได้ตามช่องทางด้านล่าง
References
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scoliosis/symptoms-causes/syc-20350716
- https://www.mymed.com/diseases-conditions/scoliosis/what-are-the-symptoms-risk-factors-and-complications-of-scoliosis