กล้ามเนื้ออักเสบ ห้ามกินอะไร ไม่อยากมีอาการเรื้อรังต้องระวังเอาไว้
กล้ามเนื้ออักเสบ ห้ามกินอะไร เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนต้องการคำตอบ เนื่องจากอาจกำลังสงสัยว่าการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อจำเป็นต้องระวังเรื่องอาหารด้วยหรือ เพราะการทานอาหารมักเกี่ยวข้องกับโรคที่มาจากระบบภายในมากกว่า แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า อาหารที่เรารับประทานนั้นส่งผลต่ออาการเจ็บกล้ามเนื้อของเรามากกว่าที่คิด ซึ่งจะมีทั้งอาหารที่ทานแล้วกล้ามเนื้อฟื้นตัวไวและมีทั้งอาหารที่ทำให้อาการเจ็บแย่ลงเช่นเดียวกัน ซึ่งจะมีอาหารชนิดไหนบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กัน
กล้ามเนื้ออักเสบ ห้ามกินอะไร หากไม่อยากเป็นเรื้อรังต้องงดทานอะไรบ้าง?
ต้องกล่าวเกริ่นไว้ก่อนว่า การอักเสบ นั้น เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้ทุกส่วนของร่างกายจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ และมักมีอาการอักเสบรุนแรงของกล้ามเนื้อตามมา ซึ่งสาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติทำให้ร่างกายหันมาทำลายตัวเอง เช่น โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น SLE, IBM เกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เป็นต้น ซึ่งจากโรคดังกล่าว ผู้อ่านก็จะเห็นแล้วว่าเป็นโรคที่มีภาวะที่อันตรายต่อร่างกาย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงไม่ควรปล่อยให้อาการอักเสบของกล้ามเนื้ออยู่กับเรานาน ๆ
กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) คือ…
กล้ามเนื้ออักเสบ คือ อาการที่เกิดขึ้นจากการใช้งานร่างกายอย่างหนัก จึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนมากจะแสดงอาการในลักษณะของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเป็นเพียงอาการเริ่มต้นของการอักเสบเท่านั้น อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอิริยาบถ เช่น การทำงานที่ใช้แรงมากเกินไป, การเดิน การยืน และการนั่ง กล้ามเนื้ออักเสบมักจะเกิดขึ้นกับอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือเป็นอาการเรื้อรัง จากการได้รับบาดเจ็บ
เราสามารถสังเกตได้เองจากกล้ามเนื้อตึงหลังจากการออกกำลังกาย หรือ จากการทำงานหนัก ซึ่งการปวดเมื่อยและความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นมักจะค่อย ๆ มีอาการแย่ลงเมื่อปล่อยผ่านไปหลายสัปดาห์จะส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ หลัง ขา และสะโพก ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือเป็นอาการจากโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ที่ก่อนจะเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวทุกครั้ง และโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทั้งนี้ทุกกลุ่มและทุกวัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่กลุ่มที่ชอบออกกำลังกาย และกลุ่มคนทำงานที่ต้องยกของหนัก เป็นต้น
ลักษณะอาการกล้ามเนื้ออักเสบ
อาการกล้ามเนื้ออักเสบสามารถแบ่งออกได้หลายอาการ ดังนี้
- มีอาการปวดร้าวลึก ๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจจะปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
- ความรุนแรงของอาการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อย ล้า ปวดรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
- อาจจะมีอาการปวดร่วมกับอาการชา
- บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง นอนไม่หลับ
- มีความผิดปกติของโครงสร้างกล้ามเนื้อร่างกาย เช่น กระดูกสันหลังคด ระดับไหล่ไม่เท่ากัน ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดภาวะการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้
กล้ามเนื้ออักเสบ หากปล่อยทิ้งให้เรื้อรัง ทำให้เป็นโรคอะไรได้บ้าง?
แม้จะดูเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษาให้หายเป็นปกติ อาจทำให้เราต้องเผชิญกับโรคเหล่านี้
1. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Myocarditis) อาจเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว
อาการแรกเริ่มของโรคนี้เหมือนกับไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย อาเจียน อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นช้า บางคนหายใจลำบาก หมดสติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ ดังนั้นถ้าไม่รีบเช็กร่างกายและรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้ในระยะยาว
2.โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว
อาการของโรคนี้เริ่มตั้งแต่การครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกอ่อนแรงยกแขนไม่ค่อยขึ้น บางคนมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงได้จากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กลืนอาหารไม่ได้ หายใจลำบาก อาจร้ายแรงจนถึงขั้นระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจเกิดการอักเสบ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัวเกิดจากความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
3. ออฟฟิศซินโดรม
กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังเป็นหนึ่งในอาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเลื่อนสถานะสู่ผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม ชื่อของโรคนี้บ่งบอกดีว่าเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบร่วมด้วย เช่นปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ นิ้วล็อก เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ เป็นต้น
อาหารที่ “ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออักเสบ” ควรหลีกเลี่ยง
สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้
- สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ห่าน และนกกระทา
- ปลากระป๋อง
- เครื่องในสัตว์
- ชีส หรือ อาหารรสเค็มจัด
- เนื้อวัว
- ผักบางชนิด เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน ถั่งงอก แตงกวา กระถิน ชะอม สะตอ ลูกเนียง ลูกเหรียง หน่อไม้
- ขนมหวานที่รสหวานจัด เช่น ข้าวเหนียวมูล แกงกะทิ
- อาหารหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม แหนม หม่ำ ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สาเหตุที่อาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง…
สาเหตุที่อาหารดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อควรหลีกเลี่ยงก็เพราะ อาหารเหล่านี้เป็น “ของแสลง” นั่นเอง สำหรับความหมายของคำว่าอาหารแสลงคือ อาหารที่ควรงดทานในช่วงที่ยังมีอาการเจ็บป่วย หรือในกรณีของผู้ที่เพิ่งผ่าตัด ที่ควรงดอาหารตามที่คุณหมอระบุเอาไว้ว่าห้ามทาน ซึ่งสาเหตุหลักก็เพราะของแสลงนั้นจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับร่างกายและส่งผลให้แผลจากการผ่าตัดหายช้า หรือในกรณีของผู้ที่ผ่าตัดทำศัลยกรรม อาหารบางชนิดที่ทานเข้าไปก็อาจจะส่งผลต่ออาการอักเสบและทำให้แผลนั้นหายช้าได้เหมือนกัน จึงทำให้อาหารเหล่านั้นกลายเป็นของแสลงในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั่นเอง
การรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้น
การรักษากล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการหรือปวดไม่มาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการหยุดพักกิจกรรมหรืองานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดบวม และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง
- โดยวิธีประคบด้วยความร้อนตรงบริเวณที่กล้ามเนื้ออักเสบ
- ฝึกการเหยียดยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัว โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน โยกไปด้านซ้ายและขวา
- ทานยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้อักเสบ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (ตามคำแนะนำของเภสัชกร)
- ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อและป้องกันข้อยึดติด
- ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไว้นานเพราะอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตได้
รักษาด้วยการกายภาพบำบัด
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ช่วยคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึก
- เครื่องอัลตราซาวด์ ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
- เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์ ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
- เครื่องอบความร้อนลึก ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ
- การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น
ส่วนโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว (Myositis) ทางกายภาพบำบัดไม่สามารถช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทานยากดภูมิคุ้มกัน ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
ท้ายที่สุด ภาวะนี้น่ากลัวตรงที่หากไม่รีบดูแลและรักษา อาจเป็นสะพานพาคุณไปสู่โรคและอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น
หากเริ่มสงสัยว่าตัวเองกำลังมีอาการอย่างที่เกริ่นไป ก็อย่าชะล่าใจ ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญและรักษาอย่างถูกวิธีให้เร็วที่สุดจะดีกว่า เพราะความล่าช้าจากความคิดว่า “ไม่เป็นไร” อาจนำหายนะมาสู่ร่างกายของเราได้นั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ