กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาการบาดเจ็บที่หลาย ๆ คนกำลังพบเจอ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าอาการกล้ามเนื้ออักเสบนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการเล่นกีฬาและการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อเกิดอาการเจ็บกล้ามเนื้อประเภทนี้ ผู้ป่วยหลายคนมักเลือกที่จะรักษาด้วยการฉีดยา เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องใช้เวลานาน และอาจเห็นผลได้เร็วกว่าวิธีอื่น ๆ แต่ความคิดเช่นนี้อาจไม่ได้เป็นทางออกทางเดียวเสมอไป
กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ ได้ผลจริงไหม ต้องเข้ารับการรักษานานแค่ไหน?
ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 ที่มีปัญหาเรื่องอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ สาเหตุมาจากท่านั่งทำงาน ที่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาด 0.5-1 ซม. เรียกว่า “Trigger Point” หรือก็คือ จุดกดเจ็บที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืด นั่นเอง เนื่องจากการปวดกล้ามเนื้อนั้น ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่บริเวณใดก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีจุดกดเจ็บอยู่ที่บริเวณนั้นเสมอไป นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้าพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษานั่นเอง
กล้ามเนื้ออักเสบ คือ
โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว เป็นโรคในกลุ่มโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการอักเสบของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ในรายที่เป็นอย่างรุนแรงอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถลุกจากเตียงหรือเดินได้ มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอักเสบ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ซึ่งมักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและล้ามากหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน และอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือเป็นอาการเรื้อรังก็ได้
กล้ามเนื้ออักเสบ สาเหตุ
ตามปกติแล้วสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้ออักเสบนั้นค่อนข้างจะระบุได้ยาก เพราะสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้จากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ คือ
การติดเชื้อ
การติดเชื้อที่เป็นต้นเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสเอชไอวี กล้ามเนื้ออักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเหล่านี้บุกเข้าไปยังเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโดยตรงหรือมีการปล่อยสารที่ไปทำลายใยกล้ามเนื้อให้เสียหาย
การอักเสบ
ภาวะที่ก่อให้เกิดการอักเสบไม่ว่าบริเวณใดของร่างกายก็สามารถส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ และมักตามมาด้วยการอักเสบอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องรับการรักษาระยะยาว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักพบว่าเป็นการอักเสบที่เกิดจากโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติที่ร่างกายหันมาทำลายตัวเองนั่นเอง
การได้รับบาดเจ็บ
การออกกำลังกายอย่างแข็งขันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปวด บวม และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย โดยอาจเกิดขึ้นนานเป็นชั่วโมงขึ้นไปหรือเป็นวัน ๆ และทำให้เกิดการอักเสบตามมาในที่สุด แต่ก็มักจะหายไปเมื่อหยุดพักหรือเมื่อร่างกายได้รับการฟื้นฟู
กล้ามเนื้ออักเสบ อาการ
อาการของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนใหญ่จะแสดงในลักษณะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ บางครั้งผู้ป่วยอาจสังเกตได้เอง แต่บางครั้งก็อาจรู้ได้จากการตรวจเท่านั้น ซึ่งความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นนี้มักจะค่อย ๆ แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน และส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ หลัง ขา และสะโพก เป็นต้น
และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- อ่อนล้า
- กลืนลำบาก
- หายใจลำบาก
- ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนมากเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือเป็นอาการจากโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
กล้ามเนื้ออักเสบ วิธีรักษา
การเลือกใช้วิธีรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบในผู้ป่วยรายนั้น ๆ กล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดจากอาการอักเสบอื่น ๆ อาจต้องรักษาด้วยยากดระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจากกล้ามเนื้อนั้นสามารถทำการรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดที่มีความเฉพาะทางทั้งในเรื่องของผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือในการรักษา
การทำกายภาพเพื่อรักษาภาวะ “กล้ามเนื้ออักเสบ”
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)
เป็นการสอดขั้วกระแสไฟฟ้ารูปร่างคล้ายเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ วิธีนี้จะช่วยตรวจหากล้ามเนื้อที่อ่อนแอหรือถูกทำลายจากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยเครื่องจะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของปลายเส้นประสาท เพื่อให้แพทย์สามารถดูว่ามีรูปแบบการทำงานผิดปกติหรือไม่
การทำ MRI Scan
เป็นการวินิจฉัยโดยใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงถ่ายภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย สามารถช่วยระบุหากล้ามเนื้อบริเวณที่มีการอักเสบหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักไม่ค่อยนำมาใช้
เครื่องอัลตร้าซาวด์
ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์
ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เครื่องอบความร้อนลึก
ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ
กล้ามเนื้ออักเสบ นวดได้ไหม?
อาการกล้ามเนื้ออักเสบนั้นสามารถบรรเทาด้วยการนวด แต่ต้องนวดให้ถูกจุด ซึ่งจุดที่ว่านี้ก็คือ “จุดกดเจ็บ” นั่นเอง
ซึ่งจุดกดเจ็บนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. ACUTE MPS
กล้ามเนื้ออักเสบซึ่งพึ่งเป็นมาไม่นานวันแต่ไม่เกิน 2 เดือน เช่นมีอาการปวดทันทีหลังยกของ การแก้ไขหากคุณเองพึ่งมีอาการ ใน 24 ชั่วโมง ก็คือการประคบด้วยน้ำแข็งและการยืดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น หรืออาจพ่นสเปรย์ อย่าพยายามนวดเพราะการนวดหรือกดแรง ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อยิ่งอักเสบมากขึ้น
2. SUB-ACUTE MPS
มีอาการปวดที่มากกว่า 2 เดือน แต่ไม่ถึง 6 เดือน การแก้ไขคือหากเลยระยะเวลาอักเสบหรือปวด บวม แดง ร้อน แล้วสามารถประคบด้วยความร้อนหรือใช้เจลร้อนที่เป็นยาทา ยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับนวดบริเวณดังกล่าวเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเลือดและลดการคั่งค้างของของเสีย
3. CHRONIC MPS
มีอาการปวดมากกว่า 6 เดือนที่มีการรบกวนต่อกิจวัตรหรือการทำงาน การนอน และสุขภาพจิตอาจทำวิธีจาก Sub-acute แต่วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวคือคุณเองต้องสำรวจด้วยว่าอาการดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด และพยายามหลีกเลี่ยงก่อน หากกิจกรรมดังกล่าวไม่สามารถหยุดหรือเลิกทำ สิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขในระยะยาวคือหลังจากอาการปวดดีขึ้นคุณจะต้องเริ่มออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้แก่กล้ามเนื้อ
ซึ่งจุดกดเจ็บแต่ละประเภทที่กล่าวมาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งท้ายที่สุดหากไม่แน่ใจที่จะนวดเองจริง ๆ ก็ควรเข้าพบแพทย์ดีกว่า เพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ดี การปวดกล้ามเนื้อเช่นนี้แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่แท้จริงแล้วสามารถทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอันตรายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น หากใครที่กำลังพบกับปัญหานี้อยู่ ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย ควรรีบเข้าพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาโดยเร็ว เพราะนอกจากจะรักษาการเจ็บปวดแบบเฉียบพลันแล้วก็ยังส่งผลดีต่อกล้ามเนื้อในระยะยาวอีกด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน