ทำไมไอแล้วเจ็บซี่โครง สัญญาณเตือน 3 ภาวะอันตรายที่ควรระวัง!!
ทำไมไอแล้วเจ็บซี่โครง? คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยเพราะอาจกำลังประสบปัญหานี้อยู่ และเป็นที่รู้กันดีการไอจนเจ็บซี่โครงนั้นไม่ใช่ภาวะปกติของร่างกาย เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วหากเป็นการไอแบบปกติเราจะไม่เกิดอาการเจ็บที่หน้าอกหรือซี่โครงมากนัก อาจจะมีการระคายเคืองบ้างอาจเป็นเพราะอวัยวะที่เกี่ยวข้องอยู่ในบริเวณที่ใกล้กัน แต่ถ้าหากไอจนเริ่มเจ็บแบบผิดสังเกต ก็ไม่ควรนิ่งเฉย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะ “กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ” ได้นั่นเอง
ทำไมไอแล้วเจ็บซี่โครง เป็นอาการของโรคร้ายแรงหรือเปล่า?
เมื่อเกิดอาการไอ เรามักคิดว่ามีสาเหตุมาจากปอดเท่านั้น แท้จริงแล้วการไอ เป็นการสะท้อนการขับออกสู่ภายนอกของอวัยวะต่าง ๆ ภายใน ทั้งอวัยวะตันและกลวงแล้วแต่ปัญหาที่เกิด ปอดเป็นเพียงหนึ่งในอาการ และปอดเป็นเพียงส่วนปลายระบบลำโพงที่ช่วยกระจายเสียงของพลังส่วนเกินที่เป็นเสียงและลมแล่นผ่านหลอดลมสู่ลำคอออกสู่ปากสู่บรรยากาศภายนอกเท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วอาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากอวัยวะอื่น ๆ หรือภาวะผิดปกติทางร่างกายได้ โดยเฉพาะการเจ็บซี่โครงจากการไอ ยิ่งไม่ควรละเลยและควรตรวจให้ละเอียดว่าต้นตอคืออะไรกันแน่
3 ภาวะอันตราย!! ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการไอแล้วเจ็บที่ซี่โครง
เนื่องจากอาการไอจนเจ็บซี่โครงนั้นเป็นภาวะที่หาสาเหตุที่ชัดเจนได้ค่อนข้างยาก ซึ่งทั้ง 3 ภาวะนี้ก็อาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งได้เช่นกัน ประกอบด้วย…
1.อาการของกล้ามเนื้ออักเสบ
มักเกิดจาการเปลี่ยนท่า หรือการทำท่าที่ใช้กล้ามเนื้อบิรเวณนั้นๆ เป็นประจำ วิธีรักษาเบื้องต้นคือ ทานยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อได้
2.ข้อต่อระหว่างกระดูกซี่โครงและกระดูกอ่อนอักเสบ
อาการมักเจ็บแปล๊บๆ หรือจี๊ดได้ เวลาไอ หายใจเข้าหายใจออก หรือเวลาขยับตัว อาการสำคัญคือมักมีจุดกดเจ็บชัดเจน การวินิจฉัยอาศัยขจากทั้งประวัติและการตรวจร่างกายค่ะ วิธีรักษาเบื้องต้นคือสามารถทานยาแก้อักเสบตามคำแนะนำของเภสัชกรได้
3.เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
อาการมักหายใจหรือไอแล้วเจ็บแปล้บหน้าอก อาจมีหรือไม่มีไข้ก็ได้ มักเกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อ แต่ด้วยโรคนี้ต้องทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด ดังนั้น ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม จากที่บอกไปว่า ทั้ง 3 ภาวะนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บในขณะที่ไอได้ ดังนั้น หากอาการไม่ทุเลาลงหรือเป็นมากขึ้น ผู้ประสบปัญหาควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปให้ไวที่สุด
ลักษณะอาการเจ็บซี่โครงที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ไอ มีอะไรบ้าง?
เมื่อซี่โครงเกิดอาการเจ็บจากการไอนั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายบริเวณด้วยกัน เช่น..
- ไอแล้วเจ็บใต้ซี่โครงขวา
- ไอแล้วเจ็บใต้ซี่โครงซ้าย หรือ ไอเจ็บใต้ราวอกซ้าย
ซึ่งแต่ละเคสก็จะมีอาการเจ็บของแต่ละบริเวณที่แตกต่างกันออกไป โดยนอกจากภาวะอันตรายทั้ง 3 ข้อดังกล่าว อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น พฤติกรรมเสี่ยง หรือ อุบัติเหตุ เป็นต้น
ไอจนเจ็บซี่โครง รักษา ยังไงได้บ้าง?
สำหรับแนวทางการรักษาอาการเจ็บซี่โครงเบื้องต้นที่ทุก ๆ คนควรทราบนั้น ก็แบ่งออกได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น…
การดูแลตนเองที่บ้าน
ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองที่บ้านเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดในเบื้องต้น เช่น
- ประคบเย็นหรือประคบร้อนในบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น ยกของหนัก วิ่งหรือกระโดด
- ออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้ออาจช่วยบรรเทาอาการได้ โดยค่อย ๆ ออกแรงบริเวณช่วงอก
การทำกายภาพบำบัด
นอกจากการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองแล้ว แพทย์อาจใช้วิธีกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนังเพื่อลดอาการปวด (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation : TENS) อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีวิธีป้องกัน Costochondritis อย่างสิ้นเชิง แต่การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยความระมัดระวังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการใช้แรงในการทำกิจกรรมที่มากเกินไป และหากรู้สึกเจ็บหน้าอกขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย ควรหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ และรีบไปพบแพทย์ทันที
การผ่าตัด (กรณีที่วินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นสาเหตุที่จำเป็นต้องผ่าตัด)
หากรักษาด้วยวิธีการอื่นแล้วอาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้นหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีในข้างต้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด
จะเห็นได้ว่าการดูแลรักษาอาการเจ็บซี่โครงจากอาการไอในแต่ละแบบนั้นจะรองรับผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงที่ต่างกัน โดยสำหรับผู้ป่วยท่านใดที่ระดับความรุนแรงไม่มากและสามารถดูแลตนเองได้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง อาการเจ็บก็จะหายได้ในเวลาต่อมา แต่สำหรับท่านใดที่มีอาการรุนแรงและมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลต่อไป
สรุป ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “อาการเจ็บซี่โครงจากการไอ”
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ทุก ๆ คนสามารถเห็นได้แล้วว่าอาการนี้แม้จะเกิดขึ้นและหายเองได้ แต่ก็ไม่ควรละเลยเนื่องจากยังมีภาวะรุนแรงต่าง ๆ ที่อาจแอบแฝงได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและการเข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที ไม่ว่าระดับอาการจะรุนแรงมากหรือน้อยก็ตาม ก็ควรรีบเข้ารับการตรวจและการให้คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนอกจากการรักษาเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว แต่ละเคสอาจได้รับการรักษาที่มากหรือน้อยที่แตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของผู้ป่วยท่านนั้น ๆ เอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ฝึกหายใจ” ฟื้นฟูปอดสู้ยุคโควิด-19
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- ปวดหลังล่าง ปวดสลักเพชร ก้นกบ