อาการปวดจี๊ดที่ต้นขา เป็นสัญญาณจากโรคร้ายหรือไม่ รักษายังไง?
“อาการปวดจี๊ดที่ต้นขา” เชื่อได้ว่าเป็นอาการที่หลาย ๆ คนอาจกำลังพบเจออยู่และไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ในบางรายอาจมีอาการชา ๆ ยิบ ๆ ตามต้นขาร่วมด้วย จึงมีความกังวลใจว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายหรือไม่ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าอาการเจ็บจี๊ดที่กล้ามเนื้อแบบนี้เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาไว้เบื้องต้นเพื่อระมัดระวังและป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายขึ้น
อาการปวดจี๊ดที่ต้นขา เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?
หากคุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่ อาจแปลได้ว่าคุณอาจกำลังประสบปัญหากล้ามเนื้ออักเสบ หรือ ปัญหาเส้นประสาท ก็ได้เช่นกัน ซึ่งอาการปวดจี๊ดตามที่กล่าวนี้เป็นอาการเริ่มต้นของภาวะปัญหาดังกล่าวซึ่งหากเราไม่รักษาให้หายขาดก็อาจส่งผลปวดหรือเจ็บจี๊ดดังกล่าวแบบเรื้อรังจนกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง ดังนั้น ก่อนเราจะทราบถึงแนวทางการรักษา เรามาดูต้นตอของปัญหานี้ไปพร้อม ๆ กันก่อน
อาการปวดจี๊ด ๆ ที่ต้นขา เกิดจากอะไร?
อาการปวดขาจี๊ดๆดังกล่าวมานั้น อาจจะมีสาเหตุมาจาก การมีปลายเส้นประสาทอักเสบจากการขาดวิตามิน หรือการถูกกดทับบริเวณดังกล่าวนานๆ เช่นการนั่งทับ หรือยืนลงน้ำหนักแบบผิดท่า สาเหตุอื่นๆเช่น การปวดจากกล้ามเนื้อที่ขาตึงตัว อาจจะมีลักษณะคล้ายปวดเมื่อย ปวดจากการรับรู้ความรู้สึกของของสมองผิดปกติ การมีภาวะงูสวัด ซึ่งอาจมีอาการปวดจี๊ด ๆ นำมาก่อนจะมีตุ่มน้ำใสขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ สามารถแบ่งออกเป็นข้อ ๆ ให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้นตามสาเหตุดังนี้…
- ปลายประสาทอักเสบ
- มีปัญหาที่เส้นประสาทสมอง
- มีความผิดปรกติของเกลือแร่ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก
- การใช้ยาบางชนิดทำให้มีเรื่องของกล้ามเนื้ออักเสบ
- ความผิดปรกติของตัวเส้นเอ็น
ดังนั้นตอนนี้ที่สำคัญคือ ต้องตรวจร่างกาย และ ประวัติเพิ่มเติมว่าก่อนที่จะมีอาการปวดทำอะไร มีประวัติเรื่องของอุบัติเหตุมาก่อนหรือไม่ มีปัญหาขาอ่อนแรงร่วมด้วยหรือไม่ค่ะ เพื่อที่จะได้วินิจฉัยแยกโรคออกไป
การรักษาเบื้องต้นกับอาการเจ็บจี๊ดที่กล้ามเนื้อขา
เบื้องต้นควรพักการใช้งานบริเวณที่มีอาการเป็นมากๆ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้มีอาการมากขึ้น ฝึกออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ กินยาแก้ปวดได้หากปวดมาก
หากพักการใช้งานแล้วอาการไม่ดีขึ้น ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่นขาบวม แดง ร้อน มีไข้ หรือปวดจี๊ดๆปวดแสบร้อนร้าวไปหลายตำแหน่ง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม
กล้ามเนื้ออักเสบรักษาแบบไหน แบ่งออกได้เป็นกี่วิธี
สำหรับอาการนี้สามารถแบ่งวิธีรักษาได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
รักษาด้วยการใช้ยา
โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) ยาที่สามารถซื้อทานเองได้ตามร้านขายยา ได้แก่ ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาต้านอักเสบ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และไดโคฟีแน็ก เป็นต้น
การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เป็นกระแสไฟฟ้าบำบัดเพื่อช่วยในการลดปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า ES ซึ่งช่วงกระแสไฟนี้ จะมีช่วงความถี่ต่ำที่สบายผิว และไม่ละคายเคือง เราจะเลือกใช้ให้เห็นผลถึงการคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและกล้ามเนื้อชั้นลึก โดยผู้รักษาจะมีความรู้สึกสั่นสบายระหว่างการกระตุ้น และรู้สึกถึงการคลายในระดับกล้ามเนื้อชั้นลึกตรงจุดที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
- เครื่องอัลตร้าซาวด์ เป็นเครื่องรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ผลความร้อนในลักษณะความร้อนลึกโดยปล่อยความร้อนลึดออกมาใต้ผิวหนังที่ 2-5 cm. ใช้ลดอาการปวด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อในชั้นลึก ลดอาการบวม และช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมทั้งคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น โดยการประคบนั้นช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง ช่วยบรรเทาอาการปวด และลดบวมได้ดีอีกด้วย ซึ่งก็จะมีการใช้แตกต่างกันไป
-
กล้ามเนื้ออักเสบใช้เวลารักษานานแค่ไหน
สำหรับระยะเวลาในการรักษาโดยทั่วไป อาการกล้ามเนื้อ หรือ เอ็นอักเสบ จะใช้เวลาราว 2-4 สัปดาห์ ก็จะหายดี หากได้พักอย่างเต็มที่ แต่ในกรณีที่ใช้งานกล้ามเนื้อหลังหรือกล้ามเนื้อนั้น ๆ อยู่ซ้ำ ๆ เช่น เล่นกีฬา นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ และยกของหนัก ฯลฯ ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้พัก และทำให้หายช้าลงได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้ที่กำลังมีภาวะอาการควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาที่เหมาะกับระดับอาการของตนเองและถูกจุดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่คาดหวังด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?