ไมเกรน กล้าม เนื้อ อีกหนึ่งภาวะที่ต้องระวังหากไม่อยากปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
ไมเกรน กล้าม เนื้อ หรืออาการปวดหัวจากการปวดตึงกล้ามเนื้อ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าภาวะนี้ทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นไมเกรน แต่แท้จริงแล้วเป็นอาการปวดหัวที่เป็นผลกระทบมาจากการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการปวดตึงกล้ามเนื้อนั้นสามารถส่งผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้อีก เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดหลัง หากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเกิดความทุพพลภาพภายหลังได้ ดังนั้น การรักษาหรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ควรทำมากที่สุด
ไมเกรน กล้าม เนื้อ คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ ควรรักษายังไงดี?
อาการไมเกรนจากกล้ามเนื้อ คือ อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวพบได้บ่อย ซึ่งมักมีอาการปวดที่ต้นคอ อาจร้าวไปขมับสองข้างหรือปวดทั่วศีรษะ ปวดตื้อ มึน เหมือนอะไรมาบีบมารัด อาการค่อยๆ เป็น มักเริ่มตอนบ่ายหรือเย็น อาการปวดอาจเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเครียดและการพักผ่อน โดยทั่วไปมักไม่ปวดรุนแรงแต่ทำให้เกิดความทรมานและสูญเสียการงาน เมื่อได้พักผ่อนหรือรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาทอาการก็จะดีขึ้น
ลักษณะอาการของภาวะไมเกรนจากการปวดกล้ามเนื้อ
สำหรับภาวะไมเกรนจากกล้ามเนื้อนั้นมักจะแสดงลักษณะอาการต่าง ๆ ดังนี้…
- ปวดหัวข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ขึ้นอยู่กับความตึงตัวของกล้ามเนื้อคอ บ่า อยู่ที่ข้างใด
- ปวดหัวแบบบีบรัดหรือแบบตุบๆ ก็ได้
- อาจมีอาการปวดคอ บ่า ร้าวขึ้นศีรษะร่วมกัน
- หากมีความตึงของกล้ามเนื้อเพียงด้านเดียว จะไม่พบการปวดสลับข้างไปมาในแต่ละรอบการปวด
- มีกล้ามเนื้อที่คอ บ่า สะบัก ตึงและมีจุดกดเจ็บชัดเจน โดยเฉพาะที่ด้านข้างท้ายทอย ต้นคอ หรือบ่า
- หากมีอาการ เมื่อกดนวดที่จุดกดเจ็บนั้นจะทำให้อาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งผลจากการปวดกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่และมีผลข้างเคียงมายังบริเวณศีรษะ ซึ่งต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและถูกจุดจึงจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้
ปวดไมเกรนจากกล้ามเนื้อตึง ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?
จากที่บอกไปว่าสาเหตุหลักๆ ของอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งนั้นมาจากการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างไม่เหมาะสม หรือการอยู่ในอิริยาบถเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน รู้สึกกล้ามเนื้อตึง ปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ หรือ บ่า ซึ่งหากไม่รักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอักเสบเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวันและการทำงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ หรือแย่กว่านั้นคือผลเสียต่อระบบประสาทและสมอง กล้ามเนื้อที่อักเสบ โดยเฉพาะคอ บ่า ไหล่ มักจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว จนถึงกับก่อโรคไมเกรนแบบเรื้อรังได้เลยทีเดียว
วิธีการรักษาโรคทางกล้ามเนื้อจากคลินิกรักษากล้ามเนื้อตึง
นอกจากการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ แล้ว ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ
โดยการกายภาพบำบัดประกอบไปด้วย การทำกายบริหารเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น คลื่นอัลตราโซนิกหรือกระแสไฟฟ้า เพื่อลดการอักเสบหรือกระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีพยาธิสภาพ
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- การนวด
- การยืดกล้ามเนื้อ
- การประคบร้อน
- การปรับท่าทางที่เหมาะสม
- การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
- การรักษาด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound)
- การแนะนำท่าการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ปวดกล้ามตึงเนื้อเรื้อรัง รักษาหายได้ ด้วยวิธีนี้!!
ปัจจุบันมีวิธีรักษาที่เรียกว่า “Trigger Point Therapy” เป็นการรักษาที่ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการสลายจุด Trigger Point และป้องกันการกลับมาของอาการปวด ใช้เวลาในการรักษาเพียงอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง โดยทำประมาณ 4 – 6 ครั้ง
ขั้นตอนในการรักษานั้นมีตั้งแต่ การกินยา การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด และการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคลที่มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อทุก ๆ คนต้องเข้าใจว่า อาการนี้จะไม่หายขาด เพราะโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วมาจากการทำงาน ทุกคนจึงควรได้รับความรู้ที่ถูกต้องและการดูแลกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี อาการดังกล่าวก็จะหายไปได้
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ