ปลายประสาทอักเสบ อายุน้อยก็เป็นได้ ต้องป้องกันก่อนสาย
ปลายประสาทอักเสบ ภาวะที่ดูเหมือนไกลตัวแต่แท้จริงไม่ใช่เลย ภาวะปลายเส้นประสาทเกิดการอักเสบนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ และแสดงลักษณะอาการที่แตกแตกกันไปได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากทุกๆ ส่วนของอวัยวะบนร่างกายถูกควบคุมด้วยคู่เส้นประสาทที่แตกต่างกัน นั่นจึงทำให้คาดเดาได้ยากเมื่อเราเกิดอาการบางอย่างทางกล้ามเนื้อและจะบอกได้ว่าเกิดจากเส้นประสาทคู่ใด อย่างไรก็ดี ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ใช่แค่เพียงในผู้สูงวัยเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในคนอายุน้อยอีกด้วย ดังนั้น การป้องกันภาวะนี้ไม่ให้เกิดขึ้นต้องทำอย่างไร และหากเกิดขึ้นแล้วต้องรักษาอย่างไรให้หาย บทความนี้มีคำตอบ
ปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ทำไมจึงเกิดได้ในคนอายุน้อย
เป็นภาวะหนึ่งของเส้นประสาทซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความเสียหายหรือเกิดโรคบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการ เช่น อ่อนแรง ปวดและชาตามมือและเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
สาเหตุของปลายประสาทที่เกิดการอักเสบ
สาเหตุของปลายประสาทอักเสบนั้นเกิดขึ้นได้จากโรคหรือภาวะหลายประการ ได้แก่
- การขาดวิตามิน ได้แก่ วิตามิน บี 1 วิตามิน บี 6 วิตามิน บี 12 วิตามิน อี และไนอาซิน เป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบหรือสุขภาพของระบบประสาทผิดปกติได้
- ความผิดปกติของไขกระดูก ซึ่งรวมไปถึงโรคเส้นประสาทที่เกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ โรคมะเร็งกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคอะไมลอยด์โดซิส (Amyloidosis)
- โรคทางภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โรคโจเกรน (Sjogren’s Syndrome) ลูปัส (Lupus) โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) กลุ่มโรคโรคกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre Syndrome) โรคเส้นประสาทอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammatory Demyelinating Polyneuropathy: CIPD) และการอักเสบของผนังหลอดเลือด (Necrotizing Vasculitis)
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรค Charcot-Marie-Tooth ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาททางพันธุกรรม
- เกิดบาดแผลหรือการกดทับที่เส้นประสาท บาดแผลที่อาจทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหาย เช่น อุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ หกล้ม หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และการกดทับที่อาจทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหาย เช่น ใส่เฝือก ใช้ไม้ค้ำ หรือการทำท่าทางซ้ำ ๆ เช่น พิมพ์งานมาก ๆ
- การติดสุรา การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีหรือขาดโภชนาการที่ดีของผู้ที่ติดสุรา อาจทำให้ร่างกายขาดวิตามิน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปลายประสาทอักเสบได้
- เนื้องอก เนื้องอกและมะเร็งอาจเกิดขึ้นที่เส้นประสาทหรือกดทบเส้นประสาทได้ นอกจากนี้ มะเร็งบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองภูมิคุ้มกันร่างกายสามารถทำให้เกิดโรคเส้นประสาทหลายเส้น (Polyneuropathy) ซึ่งหมายถึงโรคของระบบประสาทที่เกิดจากมะเร็ง (Paraneoplastic Syndrome)
- การใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะผู้ที่รักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) มีโอกาสเกิดปลายประสาทอักเสบได้
ลักษณะของอาการผิดปกติที่พบ เมื่อมีการอักเสบของเส้นประสาท ต่างๆ
เนื่องจากปลายประสาทนั้นมีอยู่หลายคู่ ซึ่งแต่ละคู่จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อเส้นประสาทเกิดการอักเสบ จึงแสดงลักษณะอาการออกมาแตกต่างกัน ดังนี้ เส้นประสาทคู่ที่ 7 ถ้าเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอาการใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก ส่วนหนึ่งของอาการนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ในช่วงที่ร่างกายทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เส้นประสาทคู่ที่ 8 ถ้าเกิดการอักเสบ จะทำให้สูญเสียการทรงตัว เกิดอาการบ้านหมุน ตามมา บางรายได้ยินเสียงแว่วในหู หรือมีอาการหูดับ เส้นประสาทคู่ที่ 3, 4 หรือ 6 ถ้าเกิดการอักเสบ มักจะพบในกลุ่มคนที่เป็นเบาหวาน อาการที่พบบ่อย คือ เห็นภาพซ้อนแนวใดแนวหนึ่ง เส้นประสาทคู่ที่ 5 หากเกิดการอักเสบ จะมีอาการปวดเสียว ปวดแปล๊บๆ บนใบหน้า ลักษณะอาการคล้ายถูกไฟฟ้าช็อต มักเกิดอาการด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า
แนวทางการรักษาปลายประสาทที่เกิดการอักเสบ
แพทย์จะประเมินวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และตำแหน่งของปลายประสาทอักเสบ ซึ่งมุ่งเน้นการฟื้นฟูเส้นประสาทให้กลับมาทำงานได้ปกติ
การรักษาทั่วไป
- อาบน้ำอุ่น ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการชา และความเจ็บปวดได้
- ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ช่วยป้องกันการขาดวิตามิน
- ลดการสูบบุหรี่
- ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- การผ่าตัด การใช้ยา
- ให้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ
- ฉีดยา
การรักษาทางกายภาพ
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การบำบัด
- การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า
- กายภาพบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
- ทายาและนวดเบา ๆ
การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก Peripherl Magnetic Stimulation (PMS)
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม