กล้ามเนื้อขาอักเสบ กี่วันหาย อาการบาดเจ็บชนิดนี้ นักกีฬาควรรับมือยังไง?
กล้ามเนื้อขาอักเสบ กี่วันหาย เรียกได้ว่าเป็นอาการที่นักกีฬาหลาย ๆ คนต้องเคยพบเจอและต้องเผชิญกับปัญหานี้มาก่อน เนื่องจากเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายนั่นเอง อย่างไรก็ดี แม้จะต้องพบกับอาการนี้บ่อย ๆ แต่ก็อาจยังมีนักกีฬาอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าเมื่อเจออาการบาดเจ็บเช่นนี้ควรใช้วิธีรักษาแบบใด และต้องใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะกลับมาลงซ้อมและลงเล่นได้อีกครั้ง ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงนำคำตอบมาฝากกัน
กล้ามเนื้อขาอักเสบ กี่วันหาย ต้องฟื้นฟูเท่าไหร่จึงจะกลับมาเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม
“ต้นขา” เรียกได้ว่า เป็นแหล่งรวมมัดกล้ามเนื้อ ที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และมั่นคง แต่หลายคนมักมองข้ามความสำคัญ ประมาทในการใช้ชีวิต รวมไปถึงนักกีฬาที่ต้องมีการซ้อมอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหานี้ มักเป็นการไม่วอร์มกล้ามเนื้อต้นขา ก่อนออกกำลังกาย จนทำให้เกิดอาการปวดต้นขา กล้ามเนื้อต้นขาอักเสบ ฯลฯ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จัก อาการกล้ามเนื้อต้นขาอักเสบ รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษา อย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพต้นขาที่แข็งแรง และไม่เป็นอุปสรรคในการเล่นกีฬาในอนาคต
มาทำความรู้จัก “กล้ามเนื้อต้นขา” มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ต้นขาของมนุษย์ มีกลุ่มกล้ามเนื้อหลัก ๆ อยู่ 3 มัดด้วยกัน ประกอบไปด้วย
กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps)
อยู่บริเวณหน้าขาของเรา มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ กระดูกเชิงกราน มาจนถึงเหนือข้อเข่า กล้ามเนื้อมัดนี้ ทำหน้าที่ช่วยพยุง ยึด และ เสริมความแข็งแรงของหัวเข่า ให้เราสามารถก้าว เดิน วิ่ง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring)
อยู่บริเวณด้านหลังขาของเรา มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ กระดูกสะโพก ขนานยาวลงมากับ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า โดยทั้งกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง จะทำหน้าที่ช่วยกันประคับประคอง และ พยุงหัวเข่าของเราให้มั่นคง
กล้ามเนื้อต้นขาด้านใน (Adductor)
อยู่บริเวณขาหนีบชั้นใน เชื่อมต่อระหว่าง สะโพกด้านหน้า และ ด้านหลัง ไปจนถึงข้อเข่า กล้ามเนื้อต้นขาด้านในจะมีความยืดหยุ่น มากกว่ากล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก และ ด้านหลัง
กล้ามเนื้อขาส่วนไหน เสี่ยงต่อการอักเสบจากการเล่นกีฬามากที่สุด?
คำตอบ คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง มีความเสี่ยงในการเกิด กล้ามเนื้อต้นขาอักเสบ มากที่สุด เพราะเป็นกล้ามเนื้อ ที่เชื่อมต่อไปยังกล้ามเนื้อน่อง ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนัก พยุงข้อเข่าของเราเอาไว้ โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดกล้ามเนื้อต้นขาอักเสบนั้น มักมาจาก กล้ามเนื้อต้นขา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีอาการหดเกร็งแบบเฉียบพลัน หรือ ตึงมากจนเกินไป แล้วทำให้กล้ามเนื้อต้นขาบาดเจ็บ เกิดอาการปวดต้นขา สะสม กลายเป็นโรคกล้ามเนื้อต้นขาอักเสบได้นั่นเอง
สาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบ
สาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ การเล่นกีฬาโดยใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ ทุกวัน เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะเกิดการเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนอักเสบ ที่เรียกว่า จุดกดเจ็บ ซึ่งเจ้าก้อนเนื้อนี้เองเป็นตัวการทำให้เกิดโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
การอักเสบ
การอักเสบเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ และมักมีอาการอักเสบรุนแรงของกล้ามเนื้อตามมา สาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติทำให้ร่างกายหันมาทำลายตัวเอง เช่น โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น SLE, IBM เกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง
การติดเชื้อ
การติดเชื้อ ที่เป็นสาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสเอชไอวี กล้ามเนื้ออักเสบอาจจะเกิดจากเชื้อเหล่านี้บุกเข้าไปยังเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโดยตรงหรือมีการปล่อยสารไปทำลายใยกล้ามเนื้อให้เกิดความเสียหาย
การบาดเจ็บจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อุบัติเหตุหรือการออกกำลังกาย
กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนักทำให้ปวดหลัง การที่ก้มตัวลงไปหยิบของจากพื้น ขึ้นที่สูงกล้ามเนื้อหลังต้องเกร็งตัวอย่างมากในการออกแรงยกและของที่ยกมีน้ำหนักที่มากเกินไปทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมาก จนเกิดกล้ามเนื้ออักเสบทำให้ปวดระยะเฉียบพลันได้ โดยกล้ามเนื้ออักเสบจากการเล่นกีฬาหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬานั้นมักเกิดขึ้นได้หลายประเภท เช่น ข้อเท้าพลิก เอ็นเข่าฉีก ล้มกระแทกพื้น ออกกำลังกายหนักเกินไป สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นมาได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็น “กล้ามเนื้อขาอักเสบ”
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ในการเป็นกล้ามเนื้อต้นขาอักเสบนั้นมีหลายกลุ่มด้วยกัน แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักใหญ่ ๆ คือ
นักกีฬามืออาชีพ
กลุ่มที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ความเร็ว และ ต้องใช้แรงขาอย่างมาก เช่น นักกีฬาฟุตบอล นักวิ่ง นักรักบี้ นักบาสเก็ตบอล นักปั่นจักรยาน ฯลฯ เพราะในระหว่างเคลื่อนไหวร่างกาย จะมีการกระโดดสูง ลงมายังพื้น มีการหมุนตัว บิดตัว ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อเท้า หัวเข่า และ ต้นขา เกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิดการบาดเจ็บสะสม จนทำให้กล้ามเนื้อต้นขาอักเสบได้
ผู้ที่ชอบออกกำลังกาย
ที่บางครั้งอาจลืมยืดกล้ามเนื้อ หรือ ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายได้ไม่ดีพอ จนทำให้กล้ามเนื้อต้นขา ขาดความยืดหยุ่น เกิดการหดเกร็ง หรือ ตึงอย่างฉับพลันในขณะออกกำลังกาย จนได้รับบาดเจ็บ กลายเป็นกล้ามเนื้อต้นขาอักเสบได้ ในที่สุด
วิธีการรักษาและฟื้นฟูภาวะกล้ามเนื้อขาอักเสบในกลุ่มนักกีฬาให้ดีขึ้น
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้อขาอักเสบ สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ช่วยคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึก
- เครื่องอัลตราซาวด์ ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
- เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์ ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
- เครื่องอบความร้อนลึก ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ
- การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น
*ในกรณีที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว (Myositis) ทางกายภาพบำบัดไม่สามารถช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทานยากดภูมิคุ้มกัน ตามแพทย์สั่งเท่านั้น*
แนวทางการป้องกันกล้ามเนื้อขาอักเสบ
เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า การป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษาหลังบาดเจ็บ ดังนั้นเราจึงมีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ต้นขา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกล้ามเนื้อต้นขาอักเสบ มาฝากกัน ดังนี้
- อบอุ่นร่างกาย ก่อนออกกำลังกายเสมอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อต้นขา ให้แข็งแรง
- ระมัดระวังในการออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ
- เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าตัวเอง เหมาะกับประเภทการใช้งาน ไม่บีบเท้า สามารถยึดเกาะกับพื้นได้ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ลื่นล้ม จนทำให้กล้ามเนื้อต้นขาอักเสบขึ้นมาได้
- หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง เป็นเวลานาน เพื่อไม่ให้ขาแบกรับน้ำหนักตลอดทั้งวัน
- หลีกเลี่ยงการใช้งานขา ในท่าซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการวิ่งเร็ว วิ่งนาน เดินนาน
สรุป กล้ามเนื้อขานักกีฬาอักเสบ ต้องใช้เวลารักษากี่วัน?
สำหรับทางการแพทย์นั้นได้ระบุไว้ว่า อาการของกล้ามเนื้อขาอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ด้วยการพักและดูแลรักษาตนเอง แต่หากพบว่ายังคงมีอาการรุนแรง ต่อเนื่อง กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเวลานานกว่า 2-3 วัน หรือคิดว่าเอ็นกล้ามเนื้ออาจฉีกขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ทั้งนี้ หากเป็นนักกีฬาจะหายช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเอง และได้รับการรักษาจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดทางกีฬาเฉพาะทางร่วมด้วย
FAQ คำถามที่พบบ่อย
กล้ามเนื้อขาอักเสบเกิดจากอะไร
สาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง
ขาอักเสบกี่วันหาย
กล้ามเนื้อขาอักเสบส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน จากเป็นนักกีฬาจะหายช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเอง และได้รับการรักษาจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดทางกีฬาเฉพาะทางร่วมด้วย
กล้ามเนื้ออักเสบ หายเองได้ไหม
หายเองได้หากผู้ป่วยมีระดับอาการปวดที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าหากสังเกตแล้วว่าอาการไม่หายใน 2-3 วันดังกล่าวควรเข้าพบแพทย์เพราะหากปล่อยไปอาจกลายเป็นอาการเรื้อรังได้
กล้ามเนื้อขาอักเสบทำไง
สามารถทำการรักษาได้ตั้งแต่การรับประทานยาไปจนถึงการเข้ารับการทำกายภาพบำบัดโดยใช้เครื่องมือรักษากล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึกเพื่อบรรเทาอาการอักเสบให้ดีขึ้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ