“ข้อศอกซ้น” อาการเล็ก ๆ ที่ไม่ควรละเลย
“ข้อศอกซ้น” อาการที่หลาย ๆ คนอาจมองว่าเป็นอาการเล็ก ๆ ไม่รุนแรง ปล่อยไว้ก็ได้เพราะเดี๋ยวก็คงจะหายเอง แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่อาการที่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง นั่นเป็นเพราะอาการบาดเจ็บต่าง ๆ โดยเฉพาะอาการซ้นที่อาจส่งผลต่อส่วนอื่น ๆ ได้ โดยในเบื้องต้นอาจไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรนัก แต่หากปล่อยจนกลายเป็นอาการเรื้อรังขึ้นมา ก็จะยิ่งกระทบการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะนักกีฬาที่ไม่ควรให้เกิดอาการเรื้อรังเป็นอย่างยิ่ง
ข้อศอกซ้น เกิดจากอะไร หากไม่รักษาจะส่งผลอันตรายอย่างไรบ้าง?
สำหรับความบาดเจ็บของข้อศอกชนิดนี้ เป็นอาการบาดเจ็บที่มักเกิดจากการใช้งานหรือเคลื่อนไหวมือ ข้อมือ หรือข้อศอกมากเกินไป รวมถึงสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยจากอุบัติเหตุในระหว่างการเล่นกีฬาหรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วย นอกจากนี้ อาจเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น โรคข้ออักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อ อีกด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้อาจส่งผลอันตรายมากกว่าที่คิด
อาการซ้นของข้อศอก เกิดจาก….
สาเหตุของอาการซ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น…
- อาจเกิดจากการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อจากการเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น การเล่นกีฬาอย่างกอล์ฟหรือเทนนิส การประกอบอาชีพที่ต้องเคลื่อนไหวแขนในท่าเดิมซ้ำ ๆ
- การถูกกระทบกระแทกอย่างรุนแรงและกะทันหันจากอุบัติเหตุก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อเกิดการอักเสบและทำให้เกิดอาการซ้นได้เช่นกัน
- โรคอื่น ๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวไหล่, โรคข้ออักเสบ, ภาวะหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคเรื้อนจากระบบประสาท เป็นต้น
ซึ่งแต่ละสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซ้นนั้น จะได้รับการรักษาที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะในนักกีฬาที่ต้องได้รับการรักษาแบบเฉพาะทางเพื่อให้ศอกกลับมาแข็งแรงก่อนการแข่งขันในครั้งต่อไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยทั่วไปหรือนักกีฬาก็ควรเลือกเข้ารับการรักษากับแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญด้วย
ข้อศอกเกิดการซ้น มีลักษณะอาการอย่างไร หากไม่รักษาจะส่งผลต่อร่างกายยังไงบ้าง?
อาการซ้นของข้อศอกในแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือความรุนแรงของอาการ เช่น…
- รู้สึกปวดหรือล้าแขนจนไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ถนัด
- รู้สึกตึงหรือปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว เช่น บิดข้อมือ งอแขน ยืดแขน
- รู้สึกปวด แสบร้อน ชา หรือเสียวแปลบบริเวณข้อศอกด้านนอก
- มีอาการปวดอาจลามมาถึงบริเวณข้อมือ หรือปวดมากขึ้นในเวลากลางคืน
อาการปวดข้อศอกอาจเกิดขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรืออาจมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม
อาการปวดข้อศอกที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว แต่อาจทำให้เคลื่อนไหวแขนหรือหยิบจับสิ่งของได้ไม่สะดวกในช่วงแรกเท่านั้น แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หรือผู้ป่วยกลับไปทำกิจกรรมตามปกติก่อนที่อาการปวดจะหายดี ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อเกิดการอักเสบซ้ำ และทำให้อาการปวดกำเริบขึ้นมาได้
แนวทางการรักษา
สำหรับการรักษาเบื้องต้นโดยยังไม่ต้องเข้าทำการผ่าตัด แบ่งได้ 2 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้…
การรักษาโดยแพทย์
การรักษาโดยแพทย์มักใช้รักษาอาการปวดข้อศอกที่มีความรุนแรง หรือเป็นผลมาจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งจะมีวิธีในการรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุของการเกิดอาการและเงื่อนไขสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
การทำกายภาพบำบัด
ในช่วงต้น นักกายภาพบำบัดอาจทำการ การประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดในช่วงแรก ๆ จากนั้นจะเริ่มนำอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดมาใช้ เช่น การทำอัลตราซาวด์ช่วยลดอาการปวดและอักเสบ และหลังอาการปวดดีขึ้น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จะช่วยป้องกันการอักเสบซ้ำในอนาคตได้นั่นเอง
ทั้งนี้ ในบางกรณีที่อาจมีภาวะอาการที่เรื้อรังหรือรุนแรงมาก ๆ อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีการผ่าตัดผ่านกล้อง (arthroscopic surgery) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดที่มีความปลอดภัย แผลผ่าตัดเล็ก และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
แนวทางการป้องกัน
สำหรับแนวทางการป้องการนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้…
สำหรับนักกีฬา
สิ่งที่ต้องทำคือ การจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เช่น การใช้อุปกรณ์ในบ้าน เช่น ด้ามไม้กวาด ท่าหยิบจับหนังสือ เอกสาร ไม้เทนนิสต้องขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่เกินควร เพราะจะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่า ทั้งนี้ควรมีด้ามจับที่เหมาะมือเพื่อลดการเกิดอาการบาดเจ็บด้วย
สำหรับบุคคลทั่วไป
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อศอกหรือกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวแบบซ้ำ ๆ หรือการใช้งานที่หนักเกินไป ทั้งนี้ อาจทำท่ากายบริหารแบบเบา ๆ เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยลดการบาดเจ็บของข้อศอกบริเวณด้านนอกได้
อย่างไรก็ตาม นอกจากการรักษาและการป้องกันที่กล่าวมา นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์ (X-Ray), การอัลตราซาวด์ (Ultrasound), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI), หรือซีทีสแกน (CT scan) เพิ่มเติม เพื่อแยกแยะว่าอาการปวดข้อศอกที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากกระดูกหักหรือโรคข้ออักเสบอื่น ๆ รวมถึงตรวจดูความเสียหายของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้คนไข้ได้รับการรักษาที่ตอบโจทย์และถูกต้องมากยิ่งขึ้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ