กายภาพบําบัด ที่ไหนดี 5 วิธีเลือกคลินิกกายภาพปี 2566 ที่ควรรู้
กายภาพบําบัด ที่ไหนดี ย้อนไปเมื่อ 40 ปีก่อน ศาสตร์ทางกายภาพบำบัดยังไม่ได้รับความนิยมในเมืองไทย เมื่อพูดถึง “การกายภาพ” หลายคนมักคิดว่าเป็นวิธีการรักษาหลังประสบอุบัติเหตุครั้งใหญ่ หรือเมื่อร่างกายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วกายภาพบำบัดนั้นสามารถช่วยเหลือภาวะร่างกายของคนเราได้มากกว่านั้น ยิ่งในปัจจุบัน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของคนในยุคนี้ส่งผลให้เกิดภาวะป่วยได้ง่าย และดูเหมือนว่าจะมีแนวโน้มที่อาการป่วยหรือภาวะโรคกล้ามเนื้อของคนยุคนี้จะยังคงเป็นภาวะเดิม ๆ การเลือกคลินิกกายภาพบำบัดจึงยังเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน
กายภาพบําบัด ที่ไหนดี คลินิกที่ดีควรมีมาตรฐานอย่างไร และมีเกณฑ์การเลือกอย่างไรบ้าง?
หากมีการพูดถึงเรื่องกายภาพบำบัดแล้ว หลาย ๆ คนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวและเกิดขึ้นได้ยากกับตัวเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วการทำกายภาพบำบัดนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด โดยเฉพาะในยุคสมัยใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ และทำให้เกิดอาการ Office Syndrome กันไม่น้อย โดยการทำกายภาพบำบัดนั้นก็เปรียบเสมือนการรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้ได้ใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกตินั่นเอง
ทั้งนี้ คนไทยในปี พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะใครที่เป็นมนุษย์สายออฟฟิศแล้วก็อาจจะต้องประสบกับปัญหาไหล่ตึง บ่าตึง ปวดหลัง อาการนิ้วล็อกเป็นบางครั้ง หรืออาจจะเป็นอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และแม้แต่อาการป่วยเรื้อรังจากข้อเข่า กระดูกเสื่อม ไม่ต่างจากปีที่ผ่านมา การทำกายภาพบำบัดจึงยังคงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายได้
ดังนั้น ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงนำมาตรฐานที่คลินิกกายภาพในปี 2566 ควรมี และแนวทางการเลือกคลินิกมาฝากผู้อ่านให้ได้ลองศึกษากัน
กายภาพบำบัด หมายถึง…
การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกายและจิตใจด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด
คลินิกกายภาพบำบัด
เป็นสถานพยาบาลที่จัดให้บริการด้านกายภาพบำบัด และดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำบัด…
“ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต” ต้องเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำบัด ต้องเป็นปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขากายภาพบำบัด จากสถาบันการศึกษากรรมการวิชาชีพสาขากายภาพบำบัดรับรอง โดยคณะกรรมการวิชาชีพสาขากายภาพบำบัด อาจสอบความรู้ก่อนก็ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขากายภาพบำบัดกำหนดสำหรับผู้สำเร็จจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขา กายภาพบำบัดจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย
การทำกายภาพบำบัด เหมาะกับใครบ้าง?
บทบาทของกายภาพบำบัดไม่ได้จำกัดแค่การรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ การแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น
นักกายภาพบำบัดนั้นดูแลผู้ป่วยทุกช่วงวัยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ และเป็นการดูแลที่ครอบคลุมหลากหลายระบบในร่างกาย เช่น
ระบบกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ
เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดขา การป้องกันและรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุ หรือการทำงาน รวมถึงผู้ป่วยที่กระดูกหัก ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด และผู้ที่มีความพิการจากการสูญเสียอวัยวะ
ระบบประสาทและสมอง
เช่น ปัญหาการเคลื่อนไหวที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส โรคพาร์กินสัน ผู้ที่มีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด และผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง
ระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือด
เช่น โรคหัวใจ และการบำบัดรักษาหลังจากภาวะหัวใจวาย
ระบบทางเดินหายใจ
เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น
5 วิธีเลือกคลินิกกายภาพบำบัด ในปี 2566 ที่ต้องพิจารณามีปัจจัยอะไรบ้าง?
เมื่อทราบถึงความสำคัญของการทำกายภาพกันแล้ว ก็มาเรียนรู้ถึงปัจจัยในการใช้เลือกคลินิกกันเลยว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งประกอบด้วย
1.เลือกคลินิกที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
เคล็ดลับแรกที่เราจะต้องพิจารณาคือ คลินิกกายภาพบำบัดในกรุงเทพฯ ที่เราสนใจได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ เพราะการทำกายภาพบำบัดเป็นหนึ่งในการบำบัดที่มีความละเอียดอ่อน หากไม่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด อาจจะทำให้บาดเจ็บกว่าเดิม หรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้
2.เลือกคลินิกที่มีเครื่องมือทันสมัยและได้มาตรฐาน
การทำกายภาพบำบัดนั้นนอกจากจะต้องใช้เทคนิคเฉพาะทางในการรักษาแล้ว การทำกายภาพในบางส่วนอาจจะต้องพึ่งพาเครื่องมือในการรักษาที่ทันสมัย เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและช่วยฟื้นฟูหรือบรรเทาอาการเจ็บปวดได้รวดเร็วขึ้น การรักษาที่ใช้เครื่องมือ อย่างเลเซอร์ ช็อกเวฟ อัลตราซาวด์ และเครื่องมือกระตุ้นไฟฟ้า ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวแปรให้ผู้เข้ารับบริการมีอาการดีขึ้น โดยเครื่องมือเหล่านี้จะสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บเรื้อรังให้ดีขึ้นได้ และไม่ต้องพึ่งยาด้วย ส่วนผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวการใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ก็จะช่วยทำให้การเคลื่อนไหวกลับมาปกติได้เร็วขึ้น
3.มีนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ
อันดับที่ 3 ที่เราจะต้องพิจารณาก็คือ มีนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยหัตถการ (Manual Technic) หรือการใช้เครื่องมือทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช็อกเวฟ เครื่องเลเซอร์ การประคบร้อน ประคบเย็น ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องผ่านการวินิจฉัยอย่างละเอียดและมีความเชี่ยวชาญ เพื่อที่จะรักษาได้อย่างถูกต้อง และไม่กลับไปเป็นซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
4.มีราคาที่ชัดเจน
ข้อสุดท้ายเป็นข้อสำคัญเช่นเดียวกัน คือ จะต้องมีราคาค่ารักษาที่ชัดเจน ทำให้เราสามารถประมาณราคาค่ารักษาได้
5.เดินทางง่าย
การทำกายภาพบำบัดมักจะเป็นการรักษาและฟื้นฟูที่ใช้เวลาในการรักษา และต้องมาอย่างต่อเนื่อง ถึงจะสามารถรักษาอาการให้หายได้ง่าย ดังนั้น ควรเลือกคลินิกกายภาพบำบัดในกรุงเทพฯ ที่เดินทางง่าย ติดรถไฟฟ้า หรือใกล้กับบ้าน ที่ทำงาน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ไปทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เพราะหากว่าเราต้องเดินทางลำบาก หรือว่าเดินทางไกล ก็อาจจะทำให้เราเหนื่อยล้าและหมดแรงที่จะเดินทางไปรักษานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษาทุกคนต้องหายจากอาการบาดเจ็บให้เร็วที่สุด และกลับไปทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวได้ ดังนั้น จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็คือ ควรเลือกคลินิกให้ได้ตามเกณฑ์และมาตรฐาน ซึ่งผู้อ่านสามารถนำปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นหลักในการเลือกเพื่อให้ได้คลินิกที่ถูกต้องและปลอดภัยกับตนเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ