ปวดหัว เส้นเลือดเต้นตุบ ๆ จากอากาศร้อน อาจเป็น Heat Stork ไม่รู้ตัว
ปวดหัว เส้นเลือดเต้นตุบ ๆ อาจเป็นอาการฮีทสโตรกที่หลาย ๆ คนอาจไม่รู้ตัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราอาจไม่ทราบว่าภาวะอาการเช่นนี้เป็นสัญเตือนของฮีทสโตรก เนื่องจากอาการปวดหัวนั้นเป็นภาวะที่มีอาการแสดงที่หลากหลายมาก ๆ ซึ่งอาการแต่ละแบบก็จะเป็นตัวบ่งชี้โรคที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดที่โดดเด่นของการปวดหัวแบบฮีทสโตรกนั้นมักเกิดจากอากาศร้อนที่มากเกิดไปทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวดังกล่าว โดยอาจเป็นเพียงอาการเริ่มต้นเท่านั้น
ปวดหัว เส้นเลือดเต้นตุบ ๆ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?
อากาศที่ร้อนจัดในหลายพื้นที่ของประเทศไทยและประเทศในเขตร้อน ทำให้เราต้องเฝ้าระวังภาวะลมแดดโดยเมื่อออกกําลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในสภาพอากาศร้อนชื้น และดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้นมาก การถ่ายเทของอากาศไม่ดี จะทำให้อุณหภูมิร่างกายของเราเพิ่มสูงขึ้นจนอาจทำให้มีอาการปวดหัวเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาการปวดหัวดังกล่าวอาจเป็นเพียงอาการเริ่มต้นเท่านั้น โดยอาจมีภาวะอันตรายอื่น ๆ ตามมาได้เช่นกัน
ปวดหัว เส้นเลือดเต้นแบบตุบ ๆ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
อาการปวดแบบตุ้บ ๆ ที่ขมับ มักจะเกิดจากการเต้นของเส้นเลือด ถ้ามีลักษณะปวดบีบ ๆ ก็อาจจะมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้…
- ภาวะเครียด วิตกกังวล
- ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ
- ภาวะเส้นเลือดอักเสบ
- การปวดหัวแบบไมเกรน
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ หรือ คาเฟอีน
- การสูบบุหรี่
- อยู่สภาวะแวดล้อมที่ร้อนเกินไป
ซึ่งจากที่ผู้อ่านได้เห็นได้ว่าอาการปวดหัวดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ฮีทสโตรก คืออะไร?
ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการหรือไม่สามารถระบายความร้อนออกได้มากกว่า 2 ชั่วโมง อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ ซึ่งหากได้รับการรักษาที่ล่าช้า ก็มีอันตรายถึงชีวิตได้
เส้นเลือด ในสมอง เต้น ตุบๆ เกิดจากอะไรกันแน่?
เส้นเลือด ขมับ เต้นตุบๆ หรือ เส้นเลือดบริเวณศีรษะเต้นแรงจนเรารู้สึกได้ นั้น ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก ภาวะเครียด วิตกกังวล, ปวดหัวแบบไมเกรน, ภาวะเส้นเลือดอักเสบ และอยู่สภาวะแวดล้อมที่ร้อนเกินไป เป็นต้น ซึ่งหากเป็นช่วงเริ่มต้น ผู้ประสบปัญหาสามารถรับประทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ และปรับพฤติกรรมบางอย่างเช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นให้มากขึ้น ก็สามารถหายได้
ปวดศีรษะธรรมดา VS ปวดแบบฮีทสโตรก
ปวดหัวธรรมดาจะปวดบีบรัดรอบศีษระไม่รุนแรงมาก แต่ปวดแบบฮีทสโตรก จะมีลักษณะปวดตุบๆ คล้ายเส้นเลือดเต้น เชื่อว่าอาจเกิดจากการขาดน้ำและอุณหภูมิไปกระตุ้นสมองบางส่วน อย่างไรก็ตามต้องดูปัจจัยอื่นร่วมด้วยว่าก่อนหน้านี้คนไข้มีปัจจัยเสี่ยงฮีทสโตรกหรือไม่
ปวดหัวตุบ ๆ จากฮีทสโตรก อันตรายอย่างไร
ปวดหัว เป็นอาการที่มีสัดส่วนมากที่สุดที่คนไข้จะเดินเข้ามาในแผนกอายุรกรรมสมอง และระบบประสาท สาเหตุอาจจะเกิดจากการดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่ที่เปลี่ยนไป ทุกคนต่างเร่งรีบ อาจมีความเครียดและอดนอน แต่อาการปวดศีรษะไม่ได้เกิดจากแค่ความเครียดหรืออดนอนก็ได้ อาจจะเป็นอาการนำของโรคอันตราย พิการหรือเสียชีวิตก็ได้
อาการปวดศีรษะเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากจะพบในวัยทำงาน วัยกลางคนจนกระทั่งไปถึงผู้สูงอายุ และแต่ละช่วงอายุสัดส่วนของโอกาสน่าจะเป็นโรคต่างๆ ก็แตกต่างกัน เช่น ในวัยทำงานอาจจะเจอโรคที่ไม่อันตราย วัยสูงอายุขึ้นไปจะเจอโรคอันตรายมากกว่า
วิธีป้องกันตัวเองจากอาการปวดหัวแบบฮีทสโตรก
สำหรับการป้องกันเบื้องต้นสำหรับการเกิดอาการปวดหัวหรือภาวะอื่น ๆ จากฮีทสโตรกสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้
- จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
- อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงมาก
โดยจาก 5 วิธีดังกล่าว เป็นเพียงการป้องกันเบื้องต้นเท่านั้น ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ หากใครที่ต้องการศึกษาการสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้เช่นเดียวกัน
วิธีบรรเทาอาการปวดหัวแบบฮีทสโตรกด้วยการนวดกดจุด
ถ้าเช็คตัวเองเบื้องต้นแล้วมั่นใจว่า สาเหตุอาการปวดหัวนั้น ไม่ใช่อาการของโรคทางหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกสมอง แต่เป็นเพียงปวดศีรษะจากความเครียด ออฟฟิศซินโดรม หรือพักผ่อนไม่เพียงพอทั่ว ๆ ไป ควรหยุดการกินยาแก้ปวดแบบไม่จำเป็น แล้วหันมาลองแก้อาการปวดหัวด้วยตัวเองก่อน เช่น การ นวดกดจุด และยืดกล้ามเนื้อ ถ้าอาการปวดหัวที่เป็น มีอาการตึงของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ร่วมด้วย ก็เป็นได้ว่าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดจากการทำงานหนักของกล้ามเนื้อคอ และบ่า ให้ลองนวดกดตรงกล้ามเนื้อบริเวณที่เรียกว่า Trapezius คือช่วงบ่า และ ไหล่ นวดกดไว้จนกล้ามเนื้อมัดที่จับเป็นก้อนเริ่มคลายตัว หลังจากนั้นให้ยืดกล้ามเนื้อคอ โดยใช้มือขวาดึงศีรษะเอียงไปด้านขวาค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง อาการปวดหัวจะผ่อนคลายลง
คำถามที่พบบ่อย
ปวดหัวแบบไหนเสี่ยงเส้นเลือดแตก
มีอาการปวดหัวรุนแรง ร่วมกับมีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกทันที โดยเป็นอาการร่วมที่แสดงถึงภาวะทางร่างกายที่บ่งบอกว่าเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ที่เกิดจากเลือดออกในเนื้อสมองนั่นเอง
ขมับเต้นตุบๆเกิดจากอะไร
อาการปวดแบบตุ๊บ ๆ ที่ขมับ มักจะเกิดจากการเต้นของเส้นเลือด ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก ภาวะเครียด วิตกกังวล, ปวดหัวแบบไมเกรน, ภาวะเส้นเลือดอักเสบ และอยู่สภาวะแวดล้อมที่ร้อนเกินไป เป็นต้น
อาการปวดหัวแบบไหนอันตราย
อาการปวดศีรษะที่บ่อยครั้งเกินไป หรือมากกว่า 1 ครั้งใน 1 สัปดาห์ และปวดต่อเนื่องเป็นเดือน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าเราอาจกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ไม่ควรละเลยและรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- กระดูกสันหลังคด กายภาพ บำบัดหายไหม มีขั้นตอนยังไง?