กระดูกสันหลังคด กายภาพ บำบัดหายไหม มีขั้นตอนยังไง?
กระดูกสันหลังคด กายภาพ บำบัดรักษาหายไหม? คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย เนื่องจากหลายคนอาจคุ้นเคยกับการรักษาโดยใช้วิธีผ่าตัด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่อาจจะไม่ทราบถึงการรักษาแบบการทำกายภาพบำบัด อย่างไรก็ดี การทำกายภาพในการแก้ปัญหากระดูกนั้นไม่ได้มีเพียงการทำกายบริหารเท่านั้น แต่ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่สามารถช่วยได้อีก ซึ่งจะมีเครื่องมือชนิดใดบ้างนั้น ในบทความนี้ Newton Em Clinic มีคำตอบ
กระดูกสันหลังคด กายภาพ บำบัด รักษาหายจริงไหม มีวิธีใดบ้าง?
กระดูกสันหลังนั้นมีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้สามารถตั้งตรงได้ ในคนปกติหากมองจากด้านหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนวเส้นตรง แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดเมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นแนวกระดูกโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ โรคกระดูกสันหลังคดเกิดได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10-15 ปี
สาเหตุของการเกิด “กระดูกสันหลังคด“
สาเหตุเกิดได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากการที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งตัวงอ การนั่งตัวเอียง การยืนลงน้ำหนักทั้งสองข้างไม่เท่ากัน การยืนพักขาบ่อย ๆ หรือการถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป
กายภาพบำบัดสำหรับฟื้นฟูกระดูกสันหลังคด
เมื่อพบภาวะกระดูกสันหลังคด การรักษาทางกายภาพบำบัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยชะลอการเพิ่มมุมการคดของกระดูกสันหลังได้ โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมิน วิเคราะห์ภาวะกระดูกสันหลังคด และออกแบบแนวทางการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
เครื่องมือกายภาพบำบัดที่สามารถช่วยปรับแนวกระดูกสันหลังที่คดอยู่ให้ดีขึ้น
นักกายภาพบำบัดจะตรวจภาวะกระดูกสันหลังเพื่อประเมินภาวะคดโค้งทั้งแนวกระดูกเพื่อวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล เพราะความคดโค้งของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป เครื่องมือดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องดึงคอและกระดูกสันหลังไฟฟ้า (Electrical Traction Therapy)
ช่วยยืดกล้ามเนื้อและลดการกดทับเส้นประสาทปรับแนวกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังให้อยู่ในแนวปกติ เพิ่มช่องว่างระหว่างแนวกระดูกสันหลัง
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator)
เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังทั้งสองด้านให้ลดการหดสั้นและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลังและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในมัดที่อ่อนแรง ปรับสมดุลของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดสะบัก ปวดหลังและสะโพกได้
ปากกาไฟฟ้า (Point stimulator)
ปากกาไฟฟ้าช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกของแนวกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอถึงส่วนหลัง ทั้งนี้อาจมีการสอนการจัดท่าในการใช้ชีวิตประจำวัน การนั่ง การนอน การทรงตัว การฝึกการหายใจให้ถูกต้องเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด เนื่องจากการออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าวคือวิธีที่เป็นแบบเฉพาะที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับแต่ละคน
การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง (Brace)
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูก หรือมีอาการกระดูกสันหลังคดในระดับปานกลางสวมเสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) ที่จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้เกิดความคดงอมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะโรคกระดูกสันหลังคด ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ ต้องอาศัยการสังเกต ตรวจคัดกรอง และหากตรวจยืนยันแล้วว่า มีกระดูกสันหลังคดควรรับการรักษาและติดตามอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากกระดูกสันหลังอาจคดมากขึ้น และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีและในเวลาที่เหมาะสม ก็สามารถกลับมาใกล้เคียงภาวะปกติได้
ท้ายที่สุดจะเห็นได้ว่ากระดูกสันหลังคดแม้จะเป็นปัญหาที่ไม่เล็ก แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลมากอีกต่อไปเพราะในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ดีขึ้นมากกว่าแต่ก่อน หากเราเข้าใจว่าโรคนี้เป็นอย่างไรและรักษาได้อย่างไร ก็จะวางใจได้มากยิ่งขึ้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร