นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย ปัญหาด้านการนอนแก้ไขได้ด้วยกายภาพ
“นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย” ปัญหาการนอนที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง หลาย ๆ คนอาจคิดว่าการนอนหลับไม่สนิทและตื่นบ่อยในช่วงกลางดึกเป็นเรื่องเล็ก ๆ พยายามข่มตานอนบ่อย ๆ เดี๋ยวก็สามารถหายได้เองแต่แท้จริงแล้วปัญหาด้านการนอนไม่ใช่เรื่องเล็กที่สามารถละเลยได้ เพราะมันจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เราอาจคาดไม่ถึงได้ ดังนั้น การทำกายภาพเพื่อบำบัดปัญหาด้านการนอนให้ดีขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเกินกว่าจะแก้ไขนั่นเอง
นอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อย เกิดจากอะไร บรรเทาได้จากการทำกายภาพบำบัดจริงหรือ?
อาการหลับไม่สนิทนั้น ส่วนใหญ่มักแสดงอาการออกในรูปแบบของ การนอนพลิกไปพลิกมา กระสับกระส่าย เปลี่ยนท่านอนก็แล้ว จัดหมอนใหม่ก็แล้ว จะหลับก็ไม่หลับสักที สมองคิดเรื่องนู้นนี่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นลักษณะอาการที่ปกติ เป็นแค่คืนเดียวก็คงไม่เป็นไร แต่ผู้ประสบปัญหาส่วนใหญ่ต้องทนทรมานกับอาการนี้หลาย ๆ คืนติดกัน ซึ่งผลจากอาการนั้นทำให้เกิดผลเสียสะสมและกลายเป็นปัญหาสุขภาพในที่สุด
“ภาวะนอนไม่หลับ” เกิดจากอะไร
สำหรับสาเหตุและอาการของภาวะนี้แบบเรื้อรังของแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน และสภาพแวดล้อมในห้องนอนของแต่ละคน รวมถึงความกังวล หรือความเครียด ที่ทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) อยู่ในร่างกายมากเกินไป ทำให้นอนหลับไม่สนิท หรือต้องสะดุ้งตื่นกลางดึก เป็นต้น ทั้งนี้อาจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพบางประการของแต่ละท่านที่อาจส่งผลได้เช่นกัน
ผลข้างเคียงจากภาวะนอนไม่หลับ ตื่นเวลาเดิมซ้ำ ๆ เวลาเดิม
จากที่ได้บอกไปว่าอาการนอนไม่หลับนั้นเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะยังมีผลข้างเคียงตามมาอีกมากมาย เช่น…
- นอนไม่หลับเรื้อรัง ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในอนาคต
- ร่างกายเผาผลาญได้ไม่เต็มที่ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดัน โรคอ้วน หรือโรคหัวใจ ตามมาได้
- อ่อนเพลียสะสม คุณภาพความจำลดลง ขาดสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน
การทำ “กายภาพบำบัด” ส่งผลต่อการนอนอย่างไร?
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงไม่สามารถช่วยปรับคุณภาพการนอนหลับให้ดีมากขึ้นได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังส่งผลดีต่อคุณภาพการนอนหลับ อารมณ์ และความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ของการศึกษา 12 ชิ้นบ่งชี้ว่าการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นช่วยเพิ่มระยะเวลาการนอนหลับในภาพรวม ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มออกกำลังกายหรือออกกำลังกายเป็นประจำล้วนมีผลส่งเสริมการนอนหลับทั้งสิ้น ดังนั้น การทำกายบริหารหรือการทำกายภาพบำบัดเบา ๆ จึงสามารถช่วยเบาเทาอาการนี้ให้ดีขึ้นนั่นเอง
3 รูปแบบการออกกำลังกายและการทำกายภาพบรรเทาภาวะนอนไม่หลับ
รูปแบบการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ นั้นมีหลากหลายให้เลือก เช่น…
1.การเดิน
การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ที่จะช่วยหยุดอาการนอนไม่หลับ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ไม่เสียค่าใชจ่าย ทำได้ทุกที่ แถมยังเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่มีการคลื่อนไหวร่างกายแบบใช้กำลังน้อยกว่าการออกกำลังกายแบบอื่น ๆ ทำให้ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ การเดินช่วยปรับการนอนไม่หลับให้ดีขึ้นได้ โดยให้เดินประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงต่อครั้ง ทำได้ทุกวัน หรือย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์
2.โยคะ
โยคะเป็นการออกกำลังกาย โดยใช้หลักการหายใจในช่องท้องเข้ามาช่วยสร้างความผ่อนคลาย และทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้ร่างกายได้ยืดตัวและสัมพันธ์กับกล้ามเนื้ออีกด้วย เวลาที่เหมาะสมที่จะช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้คือการทำโยคะก่อนเข้านอน
3.การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายรูปแบบนี้ถือเป็นวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้ดีอีกทางหนึ่ง โดยการลองยืดเส้นยืดสายเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดตัว และรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบายขึ้น
อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายช่วยทำให้นอนหลับได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เลือกออกกำลังกายก็ส่งผลกระทบต่อการนอนได้เช่นกัน เพราะหากออกกำลังในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม แทนที่จะหลับง่าย อาจกลายเป็นตาค้างยาวไปตลอดทั้งคืน ดังนั้นช่วงเวลาที่แนะนำคือ ช่วงเช้า และ ช่วงเย็น (15.00-17.00) เพื่อให้ห่างจากเวลาเข้านอนอย่างเหมาะสม ร่างกายสามารถปรับสมดุลได้ดีที่สุด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ