ปวดหลัง กินยาพาราได้ไหม ยาแก้ปวด รักษาทุกโรคจริงหรือ?
ปวดหลัง กินยาพาราได้ไหม ? เชื่อได้ว่าเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยและต้องการทราบคำตอบ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าอาการปวดหลังนั้นเป็นอาการปวดที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและเกิดขึ้นได้กับทุกคน อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดอาการปวดก็ต้องกินยา ซึ่งก็คงจะเป็นยาชนิดไหนไปไม่ได้นอกจากยาสามัญประจำบ้านอย่าง “พาราเซตามอล”ที่เราทุกคนคุ้นเคย แต่เจ้ายาตัวนี้สามารถบรรเทาอาการได้ทุกอย่างจริงหรือ บทความนี้มีคำตอบ
ปวดหลัง กินยาพาราได้ไหม ยาสามัญตัวนี้บรรเทาได้ทุกอาการปวดจริง ๆ หรือ?
อาการปวดหลัง ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็มีโอกาสปวดหลังได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะปวดมากหรือน้อย ปวดหลังส่วนบน ปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดหลังด้านข้าง บางรายปวดจนกลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนทราบหรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วเราสามารถลดอาการเหล่านี้ได้หลายวิธี ทั้งทายานวด หรือไปนวดสปาเพื่อคลายเส้น แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มีอาหารที่ช่วยบรรเทาอาหารปวดเมื่อยด้วย เป็นวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้คุณกลับมาฟิตได้เร็วขึ้น แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับภาวะปวดกล้ามเนื้อหลังกันก่อนว่ามันคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะได้ทราบแนวทางการแก้ไขไปด้วยพร้อม ๆ กัน
ปวดหลัง เกิดจาก…
การปวดหลัง ส่วนใหญ่มักสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เราทำในชีวิตประจำวัน เนื่องจากกระดูกสันหลังโดยปกติของคนเราจะตั้งตรง เวลาเรานั่ง ยืน หรือเดิน เราต้องใช้กระดูกสันหลังมาก เพราะฉะนั้นกระดูกสันหลังต้องทำงานหนักตลอดทั้งวัน อาจทำให้เกิดการเกร็ง หรือการใช้งานผิดท่า รวมถึงสัมพันธ์กับการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนหลัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดหลังได้
พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจทำให้ปวดหลังมีอะไรบ้าง?
ต้องบอกก่อนว่าพฤติกรรมที่ทำให้ปวดหลังได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นพฤติกรรมที่มีความรุนแรงแต่อย่างไร แต่สามารถเกิดขึ้นจากพฤติกรรมง่าย ๆ อย่างเช่น…
นั่งนาน ๆ
เช่นเวลานั่งทำงานนาน ๆ หรือที่เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เพราะเวลาที่คนเรานั่งทำงานนาน ๆ กระดูกสันหลังไม่ได้มีการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อที่เกาะกระดูกสันหลังก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดการอ่อนล้า หรือการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้มีอาการปวดตั้งแต่ต้นคอ สะบัก กลางหลัง ปวดหลังส่วนล่าง คือปวดบริเวณเอว จนถึงสะโพก. ซึ่งก็จะเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน
การก้มยกของหนัก
ในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้แรงกล้ามเนื้อหลังมากจนเกินไป เช่น ยืนแล้วต้องยกของจากพื้น ทำให้เกิดการโค้งงอของหลัง อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนกลางและส่วนล่าง ยิ่งถ้าของที่ยกมีน้ำหนักมาก ต้องมีการเกร็ง หรือเอื้อมตัวเพื่อที่จะหยิบสิ่งของ ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อต้องใช้แรงมากขึ้น ก็อาจทำให้ปวดหลังได้
นอนนาน ๆ และนอนเตียงที่ไม่เหมาะสม
จะทำให้ปวดหลังส่วนกลาง จนถึงช่วงล่าง เพราะจะมีการโค้งแอ่นของหลังเวลาที่เรานอน โดยเฉพาะที่นอนที่นิ่ม หรือนุ่มจนเกินไป
พฤติกรรมจากการยืน
เช่น คนที่มีอาชีพที่ต้องยืนนาน ๆ อย่างพนักงานขายของ คนทำอาหาร ช่างตัดผม คนที่ทำงานโรงงาน พริตตี้ MC ต่าง ที่ต้องยืนเป็นเวลานาน ๆ บางคนอาจจะต้องยืนทุกวัน วันละหลายชั่วโมง ซึ่งคนกลุ่มนี้จะใช้งานหลังส่วนล่างมาก กล้ามเนื้อจะเกิดการเกร็งจากการยืนนานตลอดเวลา ทำให้เวลาปวดหลัง จะมีความรู้สึกปวดหลังบริเวณเอว
ไขข้อสงสัย “ยาพารา” ช่วยแก้อาการปวดหลังได้จริงหรือไม่?
เป็นที่รู้จักกันดีกับ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อะเซตามีโนเฟน จัดเป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ชนิดหนึ่งที่ได้ผลดีช่วยในการบรรเทาอาการปวดได้หลายอย่าง เช่น ปวดศีรษะ ปวดไหล่ ปวดหลัง เป็นต้น โดยเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดน้อยถึงปวดปานกลางเท่านั้น ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและไม่มีผลต่ออาการปวดขั้นรุนแรง
แม้ว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นยาแก้ปวดที่แพทย์แนะนำบ่อย ๆ แต่ยานี้กลับไม่ช่วยแก้ปวดหลัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโดยทั่วไปอาการปวดหลังส่วนนั้นจะสามารถหายได้ภายใน 6-8 สัปดาห์ การรักษาที่ดีที่สุดมิใช่จากการใช้ยาอย่างเดียว แต่ต้องมีกายภาพบำบัดเพื่อรักษาสมดุลของกล้ามเนื้อด้วย
แนวทางการรักษาอาการ “ปวดกล้ามเนื้อหลัง” ด้วยกายภาพบำบัด
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้…
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เป็นกระแสไฟฟ้าบำบัดเพื่อช่วยในการลดปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า ES ซึ่งช่วงกระแสไฟนี้ จะมีช่วงความถี่ต่ำที่สบายผิว และไม่ละคายเคือง เราจะเลือกใช้ให้เห็นผลถึงการคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและกล้ามเนื้อชั้นลึก โดยผู้รักษาจะมีความรู้สึกสั่นสบายระหว่างการกระตุ้น และรู้สึกถึงการคลายในระดับกล้ามเนื้อชั้นลึกตรงจุดที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
- เครื่องอัลตร้าซาวด์ เป็นเครื่องรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ผลความร้อนในลักษณะความร้อนลึกโดยปล่อยความร้อนลึดออกมาใต้ผิวหนังที่ 2-5 cm. ใช้ลดอาการปวด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อในชั้นลึก ลดอาการบวม และช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมทั้งคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น โดยการประคบนั้นช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง ช่วยบรรเทาอาการปวด และลดบวมได้ดีอีกด้วย ซึ่งก็จะมีการใช้แตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม อาการปวดหลัง สามารถบรรเทาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้ที่กำลังมีภาวะอาการควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาที่เหมาะกับระดับอาการของตนเองและถูกจุดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่คาดหวังด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- กระดูกสันหลังคด กายภาพ บำบัดหายไหม มีขั้นตอนยังไง?