กระดูกสันหลังคด อันตรายไหม ไม่อยากผ่าตัด รักษาที่ไหนดี?
กระดูกสันหลังคด อันตรายไหม คำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยและอาจเป็นไปได้ที่หลาย ๆ คนยังไม่รู้จักภาวะนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่ากระดูกสันหลังเป็นอวัยวะที่สำคัญที่คอยทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก และเชื่อมโยงเส้นประสาทจากสมองไปถึงเชิงกราน ดังนั้น เมื่อเกิดอาการผิดปกติบางอย่างกับเจ้ากระดูกชิ้นนี้ก็อาจหมายถึงร่างกายของเรากำลังตกอยู่ในอันตรายก็เป็นได้ และด้วยเหตุผลนี้เอง หลาย ๆ คนจึงต้องการรู้และจำเป็นต้องรู้ว่าภาวะกระดูกสันหลังคดมีอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร และมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ Newton Em Clinic มีคำตอบ
กระดูกสันหลังคด อันตรายไหม ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพบ้าง?
เมื่อพูดถึงกระดูกสันหลังคดหลายคนอาจมองว่าไกลตัว ทั้งที่คนไทยเป็นโรคนี้กันมาก 2 – 3 % ของประชากรทั้งหมด โดยพบได้ตั้งแต่วัยเด็กถึงผู้ใหญ่ แต่ที่พบมากที่สุดคือช่วงวัยรุ่น เนื่องจากกระดูกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่น่าสนใจคือ โรคกระดูกสันหลังคดส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ ต้องอาศัยการสังเกต ตรวจคัดกรอง และเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพื่อให้กลับมาเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ…
โรคกระดูกสันหลังคด หรือ scoliosis คือ ภาวะที่แนวกระดูกสันหลังที่ผิดรูปมีการคดโค้งออกไปด้านข้าง โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย เป็นกระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ (diopathic scoliosis) ซึ่งมักจะบในช่วงอายุระหว่าง 10- 15 ปี สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติ หรือเกิดร่วมกับโรคพันธุกรรมอื่นๆ เป็นต้น
สาเหตุของกระดูกสันหลังคด มีอะไรบ้าง?
กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ
- โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น
- โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากระดูกสันหลังคดหรือไม่?
ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแสดงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายและกระดูกสันหลัง แต่ความผิดปกติมักจะพบได้เมื่อเวลาก้มตัวหยิบของ เนื่องจากกระดูกสันหลังคดจะเห็นได้ชัดเจนเวลาก้ม โดยความผิดปกติได้แก่
- ระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน
- กระดูกไหปลาร้าต่างระดับกัน
- กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
- ร่องเอวทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
- กระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
- ขายาวไม่เท่ากัน
เป็นต้น หากพบว่ามีความผิดปกติดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาให้ตรงจุด
กระดูกสันหลังคด ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างไร
กระดูกสันหลังเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกาย เมื่อเกิดปัญหากระดูกสันหลังคดแน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ปัญหากระดูกสันหลังคดยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและอาการอื่นๆ ของผู้ป่วยได้อีกด้วย เช่น
-
ผลกระทบจากร่างกาย
เมื่อแกนกระดูกสันหลังคดเอียง ส่งผลให้ลำตัวเอียงไปตามๆ กัน ยิ่งกระดูกสันหลังเอียงทำมุมมากขึ้น ร่างกายก็จะพยายามปรับตัวโดยการดึงให้แกนตัวกลับตรง ส่งผลให้กระดูกสันหลังปล้องข้างเคียงเกิดการคดเอียงเพิ่มเติมได้ในอนาคต
-
ผลกระทบทางจิตใจ
เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยจากกระดูกสันหลังคด ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนเกิดความกังวลและไม่มั่นใจ ด้วยอาการเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอกของผู้ป่วย
โรคกระดูกสันหลังคด หากปล่อยไว้ไม่รักษา จะส่งผลอันตรายอย่างไร?
บางคนคิดว่ากระดูกสันหลังคด เป็นแค่ผิดลักษณะ เพียงแค่เสียบุคลิกภาพ ไม่ต้องพบแพทย์ก็ได้ ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร แสดงว่ายังไม่รู้จักกระดูกสันหลังคดเพียงพอสำหรับกระดูกสันหลังคด คือ ภาวะที่มีการบิดหมุนของกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวตรง หรือบิดเป็นตัว S หรือ C ซึ่งพบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่มารักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มีโอกาสที่จะทำให้ “คดมากขึ้น” และอาจส่งผลได้ในระยะยาว
- กระดูกสันหลังคดช่วงทรวงอก หากคดมากว่า 60 องศา จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงช่วงปอด เช่น จะทำให้เหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไป และจะคดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- กระดูกสันหลังคดช่วงเอว เมื่อความคดเพิ่มมากขึ้น หลังจะเบี้ยว ทำให้มีลักษณะตัวเอียงได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น ควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากวินิจฉัยได้เร็ว ตัดสินใจรักษาได้เร็ว ผลการรักษาก็ย่อมดีกว่า ยิ่งในเด็กด้วยแล้วหากปล่อยไว้ จะเสียทั้งบุคลิกภาพ สุขภาพจิตใจ ซึ่งการรักษาหากคดไม่มากจะรักษาด้วยการใส่เสื้อประคองเพื่อป้องกันไม่ให้คดมากขึ้น แต่หากคดมากและจำเป็นต้องผ่าตัดจริงๆ ก็มีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยแพทย์ให้ผ่าตัดได้อย่างปลอดภัย และผู้ป่วยเองก็กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ และไม่ต้องมากังวลกับความผิดรูปของกระดูกสันหลังอีกต่อไป
แนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคด
สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ 3 ทางด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกตามระดับอาการของผู้ป่วย ดังนี้
การเฝ้าสังเกตและตรวจซ้ำ ๆ (Observe)
สำหรับวิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกสันหลังคดที่มุมของกระดูกคดไม่ถึง 20 องศา โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการปวด และยังไม่พบความผิดปกติภายนอก
ใส่อุปกรณ์ประคองหลัง (Orthosis)
วิธีการรักษานี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และมีมุมของกระดูกสันหลังคดมากกว่า 20 องศาขึ้นไป โดยเป้าหมายของการใส่อุปกรณ์ประคองหลังมีเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น แต่ไม่ใช่เพื่อให้กระดูกสันหลังหายคด
การผ่าตัด (Operation)
โดยแพทย์จะทำการผ่าตัด เพื่อจัดกระดูกสันหลังให้ตรงไม่คดหรืองอ และใส่สกรูเพื่อยึดกระดูกสันหลังและเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลัง ซึ่งวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีมุมของกระดูกสันหลังคดมากกว่า 40 องศา หรือในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่มีอาการปวดมาก และแกนกระดูกสันหลังเอียงมาก จนทำให้เดินตัวเอียง
กระดูกสันหลังคด รักษาที่ไหนดี?
สำหรับสถานที่รักษาภาวะโรคกระดูกสนหลังคดนั้น จะขึ้นอยู่กับระดับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนซึ่งสามารถอิงได้จากแนวทางการรักษาตามที่กล่าวจากด้านบน ซึ่งสถานที่ให้การรักษาสามารถเป็นได้ทั้ง คลินิคกายภาพบำบัด โรงพยาบาล และสถานที่รักษาแบบเฉพาะทาง ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาจึงต้องเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยระดับอาการก่อน เพื่อที่จะได้เลือกสถานรักษาที่เหมาะกับตนเองรวมถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้อง
ท้ายที่สุด โรคกระดูกสันหลังคดเป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกวัยตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งกระดูกสันหลังคด อาการหรือสัญญาณที่สามารถสังเกตได้ทั่วไปมีหลายอย่าง เช่น สะโพกไม่เท่ากัน ไหล่สองข้างไม่เท่ากัน ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อก้มลงแล้วสังเกตเห็นว่าหลังด้านซ้ายและขวาสูงไม่เท่ากัน เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการรักษากระดูกสันหลังคดนั้นขึ้นอยู่กับระดับของอาการ คนไข้ที่มีลักษณะอาการดังกล่าว หรือสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังคด สามารถรับการตรวจจากแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ชัดเจน และการวางแผนการดูแลสุขภาพหรือแนวทางการรักษาต่อไป
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- กระดูกสันหลังคด กายภาพ บำบัดหายไหม มีขั้นตอนยังไง?