กระดูกสันหลังคด จัดกระดูกได้มั้ย ใช้วิธีนี้ได้ผลหรือเปล่า?
กระดูกสันหลังคด จัดกระดูกได้มั้ย เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนต้องการทราบเนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะนี้ไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดเพราะอาจกังวลถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การทำกายภาพบำบัด และ การจัดกระดูก จะเป็นทางเลือกที่หลาย ๆ คนสนใจ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 วิธีดังกล่าวเป็นเพียงภาพใหญ่แบบหลัก ๆ เท่านั้น ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีวิธีที่แยกย่อยกันมาอีก ฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า วิธีทางกายภาพบำบัดและการจัดกระดูกมีแนวทางในการรักษากระดูกสันหลังคาดอย่างไรบ้าง?
กระดูกสันหลังคด จัดกระดูกได้มั้ย ช่วยได้จริงหรือไม่?
กระดูกสันหลังเป็นส่วนสำคัญมากในร่างกายของเรา มีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้สามารถตั้งตรงได้ ในทุกวันนี้พบว่าคนไทยมีอาการกระดูกสันหลังคดมากขึ้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่าสนใจ ทั้งนี้ ภาวะผิดปกติทางกระดูกเช่นนี้ ยังมีแนวทางการรักษามากมาย ซึ่งนอกจากการผ่าตัดแล้วก็ยังมีแนวทางการรักษาจากการทำกายภาพบำบัดและการจัดกระดูกอยู่ด้วย ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน
โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ…
โรคกระดูกสันหลังคด หรือ scoliosis คือ ภาวะที่แนวกระดูกสันหลังที่ผิดรูปมีการคดโค้งออกไปด้านข้าง โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย เป็นกระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ (diopathic scoliosis) ซึ่งมักจะพบในช่วงอายุระหว่าง 10- 15 ปี สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติ หรือเกิดร่วมกับโรคพันธุกรรมอื่นๆ เป็นต้น
สาเหตุของกระดูกสันหลังคด มีอะไรบ้าง?
กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ
- โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น
- โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ
ลักษณะอาการ กระดูกสันหลังคด
ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแสดงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายและกระดูกสันหลัง แต่ความผิดปกติมักจะพบได้เมื่อเวลาก้มตัวหยิบของ เนื่องจากกระดูกสันหลังคดจะเห็นได้ชัดเจนเวลาก้ม โดยความผิดปกติได้แก่
- ระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน
- กระดูกไหปลาร้าต่างระดับกัน
- กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
- ร่องเอวทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
- กระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
- ขายาวไม่เท่ากัน
เป็นต้น หากพบว่ามีความผิดปกติดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาให้ตรงจุด
กระดูกสันหลังคดรักษาได้อย่างไร
การรักษากระดูกสันหลังคดนั้นแพทย์จะพิจารณาจากมุมการคด การเปลี่ยนแปลงของมุม และอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก ถ้ากระดูกสันหลังไม่คดมาก แพทย์ก็จะใช้วิธีการติดตามเฝ้าดูอาการโดยจะดูการเปลี่ยนแปลงของมุม ทุก 4-6 เดือน ถ้ามุมคดมากกว่า 25 องศา แพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยใส่เสื้อเกราะเป็นอุปกรณ์ค้ำจุน ให้รัดกระชับ เพื่อดัดกระดูกสันหลัง ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น โดยใส่ประมาณ 23 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้ากระดูกสันหลังคดมากกว่า 45 องศา แพทย์ก็จะพิจารณาการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่โดยการใช้โลหะดามกระดูกสันหลังให้ตรงขึ้น
แนวทางการรักษากระดูกสันหลังคดด้วยการทำกายภาพ
สามารถแบ่งออกได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
- Manual Technique รักษาด้วยการใช้มือ ดึง ดัด ข้อต่อต่างๆ
- Ultrasound ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อชั้นลึก ลดการคั่งค้างของของเสียในร่างกาย
- Electrical Stimulation กระตุ้นเส้นประสาทเพื่อระงับอาการปวด
- Hot Pack เพิ่มการไหลเวียนเลือดกล้ามเนื้อชั้นตื้น
- Stretching Exercise ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อความผ่อนคลาย
- Home Program สอนท่าออกกำลังกายหรือท่าบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อนำไปทำที่บ้าน
ทั้งนี้ การรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดอาจทำร่วมกับการการสอนผู้ป่วยจัดท่าขณะนอน การทรงตัว และการออกกำลังกายต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับแต่ละคน และการให้การรักษานี้ควรเป็นนักกายภาพบำบัดที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางเกี่ยว กับโรคกระดูกสันหลังคด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด
“การจัดกระดูก” เพื่อรักษาภาวะกระดูกสันหลังคด
การจัดกระดูกแบบ S.A.P System (Support Structure Alignment Positioning) คือ ศาสตร์การบำบัด เน้นรูปแบบการบำบัดแบบผสมผสาน ด้วยการจัดเรียงโครงสร้าง และปรับสมดุลแนวกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก และเส้นประสาท โดยการบำบัดจะคำนึงถึงองค์ประกอบหลักๆของโครงสร้าง เช่นกระดูกสันหลังต้องไม่คด ระดับสะโพกต้องตรงไม่ยกสูงต่ำ การรับน้ำหนักลงขาสองข้างต้องเท่ากัน และมีความสมดุลทางโครงสร้างที่เป็นปกติ ด้วยการบำบัดด้วยมือ (หัตถการ) รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์กายภาพบำบัดต่าง ๆ โดยผนวกการรักษาด้วยการจัดกระดูก SAP spine manipulation และเทคนิคกายภาพบำบัด พร้อมอุปกรณ์กายภาพบำบัด รวมทั้งการดูแลกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจากแผนไทย มาประยุกต์รวมกันเป็น S.A.P Systemโดยผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะเจ็บปวดหรือทรมานเลย และใช้เวลาต่อหนึงครั้งแค่ 1 ชั่วโมง เท่านั้น เพราะการรักษาแบบนี้ไม่เจ็บ และไม่ต้องใช้ยาและไม่ต้องผ่าตัดด้วยในวันข้างหน้า
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- กระดูกสันหลังคด กายภาพ บำบัดหายไหม มีขั้นตอนยังไง?