“ปวดข้อศอกร้าวลงแขน” อาการนี้คืออะไรกันแน่ รักษายังไงให้หายขาด?
ปวดข้อศอกร้าวลงแขน เป็นอาการที่พบขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้กำลังและกล้ามเนื้อแขนบ่อย ๆ รวมไปถึงนักกีฬา เช่น กอล์ฟ หรือ เทนนิส ที่ก็มีลักษณะการเล่นที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกและแขนด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลาย ๆ คนจะพบเจออาการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จากที่เห็นว่าลักษณะของอาการนี้มีได้หลายตำแหน่งตั้งแต่ข้อศอกจนกระทั่งปลายแขน ซึ่งมักจะทำใช้ผู้ป่วยมีปัญหาในการใช้งานมือและแขนข้างที่มีอาการและส่งผลต่อชีวิตประจำวันสัญญาณเตือนที่ควรมาพบแพทย์ อาการปวดที่บริเวณข้อศอกจากสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดไม่มากแต่เรื้อรัง แต่เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องด้วย
ปวดข้อศอกร้าวลงแขน อาการยอดฮิตที่ไม่น่าไว้ใจ เกิดจากอะไร รักษายังไงได้บ้าง?
ปวดข้อศอกจนร้าวลงแขน อาการยอดฮิตที่พบได้บ่อยในบุคคลทั่วไปที่ใช้ข้อมือและข้อศอกมาก รวมไปถึงนักกีฬาที่มีการใช้ข้อมือ หรือเกร็งข้อมือกระดกขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อศอกจี๊ด ๆ โดยสาเหตุอาจเกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีการฉีกขาดเล็กน้อย แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้ หรือปล่อยให้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ก็สามารถส่งผลให้เกิดการอักเสบและอาการปวดได้ ส่วนใหญ่มักพบในแขนข้างที่ถนัด อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่ทราบสาเหตุเช่นกัน
ปวดข้อศอกเกิดจากสาเหตุใด
ปวดข้อศอกมักเกิดจากการใช้งานมากเกินไป ไม่ว่าจะจากการใช้ชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬาซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยสาเหตุมาจาก การฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบางส่วนบริเวณจุดที่เกาะกับปุ่มกระดูก การอักเสบของถุงน้ำ ข้ออักเสบ พังผืดทับเส้นประสาท กระดูกอ่อนผิวข้อบาดเจ็บ เป็นต้น นอกจากนี้อาการปวดข้อศอกยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างเช่นอายุด้วย
ปวดข้อศอก อาการ เป็นอย่างไร?
อาการปวดของข้อศอกในแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือความรุนแรงของอาการ เช่น…
- รู้สึกปวดหรือล้าแขนจนไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ถนัด
- รู้สึกตึงหรือปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว เช่น บิดข้อมือ งอแขน ยืดแขน
- รู้สึกปวด แสบร้อน ชา หรือเสียวแปลบบริเวณข้อศอกด้านนอก
- มีอาการปวดอาจลามมาถึงบริเวณข้อมือ หรือปวดมากขึ้นในเวลากลางคืน
อาการปวดข้อศอกอาจเกิดขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรืออาจมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม อาการปวดข้อศอกที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว แต่อาจทำให้เคลื่อนไหวแขนหรือหยิบจับสิ่งของได้ไม่สะดวกในช่วงแรกเท่านั้น แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หรือผู้ป่วยกลับไปทำกิจกรรมตามปกติก่อนที่อาการปวดจะหายดี ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อเกิดการอักเสบซ้ำ และทำให้อาการปวดกำเริบขึ้นมาได้
ปวดข้อศอกแบบไหนควรพบแพทย์
โดยธรรมชาติแล้วอาการปวดข้อศอกสามารถหายได้เอง โดยมีการรักษาเบื้องต้นคือการรับประทานยาตามอาการร่วมกับพักการใช้งานข้อศอก รวมถึงมีการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย แต่ถ้าหากพบว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรัง เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากสาเหตุอื่น เช่น โรคเก๊าท์ การอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น
แนวทางการรักษาอาการปวดข้อศอก มีอะไรบ้าง?
สำหรับการรักษาเบื้องต้นโดยยังไม่ต้องเข้าทำการผ่าตัด แบ่งได้ 3 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้…
การรักษาโดยการกินยา
โดยทั่วไปแพทย์มักจะให้ยาเพื่อลดอาการอักเสบ (NSAIDs) ชนิดรับประทานในผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรก และมีอาการไม่มากนัก ถ้าหากรักษาด้วยการใช้ยาแล้วยังมีอาการปวดอยู่ แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการอื่น เช่น ฉีดยาประเภทสเตียรอยด์เข้าเส้นเอ็น เป็นต้น
การรักษาโดยแพทย์
การรักษาโดยแพทย์มักใช้รักษาอาการปวดข้อศอกที่มีความรุนแรง หรือเป็นผลมาจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งจะมีวิธีในการรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุของการเกิดอาการและเงื่อนไขสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
การทำกายภาพบำบัด
ในช่วงต้น นักกายภาพบำบัดอาจทำการ การประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดในช่วงแรก ๆ จากนั้นจะเริ่มนำอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดมาใช้ เช่น การทำอัลตราซาวด์ช่วยลดอาการปวดและอักเสบ และหลังอาการปวดดีขึ้น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จะช่วยป้องกันการอักเสบซ้ำในอนาคตได้นั่นเอง
ทั้งนี้ ในบางกรณีที่อาจมีภาวะอาการที่เรื้อรังหรือรุนแรงมาก ๆ อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีการผ่าตัดผ่านกล้อง (arthroscopic surgery) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดที่มีความปลอดภัย แผลผ่าตัดเล็ก และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
แนวทางการป้องกันเบื้องต้น
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อศอกหรือกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวแบบซ้ำ ๆ หรือการใช้งานที่หนักเกินไป ทั้งนี้ อาจทำท่ากายบริหารแบบเบา ๆ เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยลดการบาดเจ็บของข้อศอกบริเวณด้านนอกได้
อย่างไรก็ตาม อาการปวดข้อศอกแล้วร้าวลงแขน เป็นอาการที่พบในกลุ่มคนที่มีการใช้ข้อมือซ้ำ ๆ จนเกิดการอักเสบและอาการปวดข้อศอกจี๊ด ๆ ขึ้น แต่ทั้งนี้อาการปวดข้อศอกโดยส่วนมากจะสามารถรักษาให้หายได้เองโดยการรักษาเบื้องต้น เช่น รับประทานยา หรือทำกายภาพบำบัดร่วมกับพักการใช้งานแขน อาการปวดข้อศอกไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรังเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวรได้
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ