ปวดข้อศอก ยืดแขนไม่ได้ 5 ท่ากายภาพ หมดกังวลอาการปวด!
ปวดข้อศอก ยืดแขนไม่ได้ อาการธรรมดาที่สามารถส่งผลร้ายแรงได้หากปล่อยไว้! ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะละเลยอาการนี้ เป็นเพราะคิดว่าเป็นการปวดกล้ามเนื้อธรรมดา สามารถหายเองได้ ซึ่งไม่ผิดนักที่จะเชื่อเช่นนี้ แต่สิ่งสำคัญที่ทุก ๆ คนควรทราบอีกอย่างคือ ความสามารถในการหายเองของอาการปวดจะเกิดขึ้นแค่กับบางเคสเท่านั้นและยังสามารถกลับมาเป็นได้เรื่อย ๆ ทั้งนี้ หากผู่ประสบปัญหายังมีพฤติกรรมเสี่ยงซ้ำ ๆ ก็อาจไม่หายเลยและส่งผลให้เกิดความเรื้อรังได้ในที่สุด
ปวดข้อศอก ยืดแขนไม่ได้ เกิดจากอะไร รักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง?
ปวดข้อศอกจนทำให้ยืดแขนไม่ได้ อาการยอดฮิตที่พบได้บ่อยในบุคคลทั่วไปที่ใช้ข้อมือและข้อศอกมาก รวมไปถึงนักกีฬาที่มีการใช้ข้อมือ หรือเกร็งข้อมือกระดกขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อศอกจี๊ด ๆ โดยสาเหตุอาจเกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีการฉีกขาดเล็กน้อย แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้ หรือปล่อยให้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ก็สามารถส่งผลให้เกิดการอักเสบและอาการปวดได้ ส่วนใหญ่มักพบในแขนข้างที่ถนัด อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่ทราบสาเหตุเช่นกัน แต่ก็มีการคาดเดาสาเหตุจากทางการแพทย์อยู่บ้าง
ปวดข้อศอกเกิดจากสาเหตุใด
ปวดข้อศอกมักเกิดจากการใช้งานมากเกินไป ไม่ว่าจะจากการใช้ชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬาซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยสาเหตุมาจาก การฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบางส่วนบริเวณจุดที่เกาะกับปุ่มกระดูก การอักเสบของถุงน้ำ ข้ออักเสบ พังผืดทับเส้นประสาท กระดูกอ่อนผิวข้อบาดเจ็บ เป็นต้น นอกจากนี้อาการปวดข้อศอกยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างเช่นอายุด้วย
ปวดข้อศอก อาการ เป็นอย่างไร?
อาการปวดของข้อศอกในแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือความรุนแรงของอาการ เช่น…
- รู้สึกปวดหรือล้าแขนจนไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ถนัด
- รู้สึกตึงหรือปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว เช่น บิดข้อมือ งอแขน ยืดแขน
- รู้สึกปวด แสบร้อน ชา หรือเสียวแปลบบริเวณข้อศอกด้านนอก
- มีอาการปวดอาจลามมาถึงบริเวณข้อมือ หรือปวดมากขึ้นในเวลากลางคืน
อาการปวดข้อศอกอาจเกิดขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรืออาจมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม อาการปวดข้อศอกที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว แต่อาจทำให้เคลื่อนไหวแขนหรือหยิบจับสิ่งของได้ไม่สะดวกในช่วงแรกเท่านั้น แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม หรือผู้ป่วยกลับไปทำกิจกรรมตามปกติก่อนที่อาการปวดจะหายดี ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อเกิดการอักเสบซ้ำ และทำให้อาการปวดกำเริบขึ้นมาได้
แนวทางการรักษาอาการปวดข้อศอก มีอะไรบ้าง?
สำหรับการรักษาเบื้องต้นโดยยังไม่ต้องเข้าทำการผ่าตัด แบ่งได้ 3 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้…
การรักษาโดยการกินยา
โดยทั่วไปแพทย์มักจะให้ยาเพื่อลดอาการอักเสบ (NSAIDs) ชนิดรับประทานในผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรก และมีอาการไม่มากนัก ถ้าหากรักษาด้วยการใช้ยาแล้วยังมีอาการปวดอยู่ แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการอื่น เช่น ฉีดยาประเภทสเตียรอยด์เข้าเส้นเอ็น เป็นต้น
การรักษาโดยแพทย์
การรักษาโดยแพทย์มักใช้รักษาอาการปวดข้อศอกที่มีความรุนแรง หรือเป็นผลมาจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งจะมีวิธีในการรักษาที่แตกต่างกันออกไปตามสาเหตุของการเกิดอาการและเงื่อนไขสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
การทำกายภาพบำบัด
ในช่วงต้น นักกายภาพบำบัดอาจทำการ การประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดในช่วงแรก ๆ จากนั้นจะเริ่มนำอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดมาใช้ เช่น การทำอัลตราซาวด์ช่วยลดอาการปวดและอักเสบ และหลังอาการปวดดีขึ้น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จะช่วยป้องกันการอักเสบซ้ำในอนาคตได้นั่นเอง
ทั้งนี้ ในบางกรณีที่อาจมีภาวะอาการที่เรื้อรังหรือรุนแรงมาก ๆ อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีการผ่าตัดผ่านกล้อง (arthroscopic surgery) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดที่มีความปลอดภัย แผลผ่าตัดเล็ก และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
“กายภาพบำบัด” รักษาอาการปวดข้อศอกเรื้อรัง
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว การเจ็บข้อศอกที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ สามารถหายได้เอง ด้วยการทานยาหรือพักการใช้งานข้อศอก แต่หากพบว่าอาการปวดกล้ามเนื้อข้อศอกหรืออาการปวดข้อศอกร้าวลงแขนไม่ดีขึ้นหลังจากพักใช้งานหรือประคบเย็น นั่นอาจเป็นสัญญาณที่ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดศอกเรื้อรัง ซึ่งหากเข้ารับการรักษากับคลินิคกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะวางแผนการรักษาพร้อมกับนำอุปกรณ์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เช่น การใช้แสงเลเซอร์ การใช้ Shockwave การนวดข้อศอกร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น การกายภาพบำบัดเอ็นข้อศอกหรือกายภาพบำบัดข้อศอกหักจะเน้นเพิ่มการออกกำลังกายเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกระดูกข้อศอกด้วย ซึ่งจะช่วยรักษาอาการปวดตามข้อศอกเรื้อรังลงได้นั่นเอง
5 ท่ากายภาพบำบัด ลดอาการปวดข้อศอก ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนให้ดีขึ้น
สำหรับท่ากายภาพบำบัดเบื้องต้นที่ผู้กำลังมีอาการปวดสามารถทำได้เอง มีหลัก ๆ 5 ท่าด้วยกัน ดังนี้…
1.ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า
เริ่มต้นโดยการการกระดกข้อมือขึ้นลงขณะที่ทำข้อศอกควรเหยียดตรง ในการทำแต่ละครั้งให้ค้างไว้ 20-30 วินาที ทำซ้ำ5-10 ครั้ง ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
2.ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง
คว่ำฝ่ามือลงและเหยียดแขนไปทางด้านหน้า ใช้มืออีกข้างจับฝ่ามือให้กระดกลงจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้นับ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 รอบ
3.ท่าเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขน
ท่านี้มีอุปกรณ์เสริม คือ ผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ โดยวิธีทำ นั่งตัวตรง มือทั้ง 2 ข้างจับที่ปลายผ้าขนหนูแต่ละด้าน จากนั้นหมุนบิดผ้าขนหนู 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ
4.ท่าบริหารมือ
โดยกำลูกบอลยางหรือลูกเทนนิสไว้ในมือแล้วพยายามบีบค้างไว้ 25 วินาที ในครั้งแรกๆ อาจไม่ค่อยมีแรงต้องฝึกทำซ้ำๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
5.ท่าบริหารนิ้ว
โดยใช้หนังยางที่มีความดึงพอควรสวมที่นิ้วทิ้ง 5 แล้วพยายามกางนิ้วออกให้มากที่สุดค้างไว้ 25 วินาทีทำ 3 ครั้งแล้วเพิ่มความแข็งแรงของ
ท้ายที่สุด อาการปวดข้อศอกแล้วร้าวลงแขน จนทำให้แขนยืดไม่ได้ เป็นอาการที่พบในกลุ่มคนที่มีการใช้ข้อมือซ้ำ ๆ จนเกิดการอักเสบและอาการปวดข้อศอกจี๊ด ๆ ขึ้น แต่ทั้งนี้อาการปวดข้อศอกโดยส่วนมากจะสามารถรักษาให้หายได้เองโดยการรักษาเบื้องต้น เช่น รับประทานยา หรือทำกายภาพบำบัดร่วมกับพักการใช้งานแขน อาการปวดข้อศอกไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรังเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวรได้
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบําบัด กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาได้ผลไหม ต้องทำต่อเนื่องหรือเปล่า?
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- กล้ามเนื้ออักเสบ กินอะไรดี ให้ฟื้นฟูไว กลับมาใช้งานได้ปกติ