เจ็บหนังศีรษะ แตะแล้วเจ็บ ด้านซ้ายที ด้านขวาที ภาวะกล้ามเนื้อศีรษะเกร็งที่ควรแก้
เจ็บหนังศีรษะ แตะแล้วเจ็บ แม้อาการปวดหัวจะเป็นภาวะที่สามารถพบได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย แต่ลักษณะของการปวดหัวนั้น ก็มีความแตกต่างกันออกไป โดยการเจ็บหนังหัว เจ็บแปล๊บๆ เหมือนโดนดึง โดนเข็มทิ่ม ทั้งๆ ที่ไม่ได้ไปกระแทกที่ไหนมา แบบนี้ก็ถือเป็นอาการที่น่าสงสัยอีกแบบหนึ่งว่าเป็นการปวดหัวแบบใด แล้วปวดแบบนี้ต้องไปหาหมอหรือไม่?
เจ็บหนังศีรษะ แตะแล้วเจ็บ เกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน?
อาการปวดหัวแบบจี๊ดๆ เวลาจับโดนหรือหวีผมดังกล่าว น่าจะเป็นอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาทที่บริเวณหนังศีรษะมีการทำงานผิดปกติ ซึ่งจะทำให้มีความรู้สึกปวดแบบจี๊ดๆ ปวดแปลบๆ คล้ายโดนไฟช็อต หรือปวดแบบเสียว ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ
เจ็บหนังหัวเกิดจากอะไร…
อาการปวดศีรษะทั่วๆ ด้านบน ปวดเหมือนโดนอะไรบีบรัดนั้น อาจเป็นอาการปวดจากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นอักเสบหรือตึงตัวจากการใช้งาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย มักปวดมากช่วงเย็นๆ กินยาแก้ปวดหรือพักมักจะดีขึ้นได้ สาเหตุอื่น ๆ เช่น การปวดไมเกรน มักปวดมากข้างเดียว คลื่นไส้ ตาพร่า สู้แสงไม่ได้ หรือปวดจากปลายเส้นประสาทอักเสบอาจปวดจี๊ด ๆ ปวดจากสาเหตุในสมอง มักปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นช่วงเช้า มีอาเจียนพุ่งได้
ลักษณะอาการปวดของศีรษะแต่ละด้านและแต่ละแบบ
แม้จะเป็นอาการปวดศีรษะที่เหมือนจะดูไม่มีอะไรมาก แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าบริเวณที่ปวดนั้นสามารถบอกถึงต้นเหตุของอาการปวดนั้นได้ด้วยเช่นกัน
ปวดหัวจี๊ด เหมือนเข็มทิ่มข้างขวา เกิดจากอะไร?
เจ็บหนังหัวเหมือนเข็มทิ่ม นั้น อาจจะเกิดจากการ ปวดจากปลายเส้นประสาทอักเสบ หรือ การปวดจากการใช้งานระหว่างวัน ในผู้ป่วยบางรายมักปวดข้างขวาเพียงข้างเดียวและอาจมีอาการปวดเบ้าตา คลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยเช่นกัน
ปวดหัวแปล๊บๆ เหมือนไฟช็อต ข้างซ้าย เกิดจากอะไร?
สำหรับการปวดหรือเจ็บแปล๊บ ๆ ที่ศีรษะด้านซ้ายนั้นมักเกิดจาก โรคไมเกรน ซึ่งแม้ในผู้ป่วยโรคนี้บางรายมักจะมีอาการปวดปวดสลับกันไปมาระหว่างซ้ายและขวา แต่ส่วนใหญ่แล้วปวดไมเกรนจะส่งผลต่อศีรษะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
เจ็บหนังหัว เหมือนโดนดึงผม
เจ็บหนังศีรษะเหมือนโดนดึงผม หรือ แค่ ลูบ ผม แล้วเจ็บหนังศีรษะ นั้นอาจเป็นอาการแสดงของความผิดปกติของปลายประสาท ซึ่งนอกจากนี้ อาจมาจากภาวะอื่น ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความเศร้า ความเครียด ที่สามารถนำมาซึ่งอาการเจ็บที่รุนแรงขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
เจ็บหนังศีรษะ ปลายประสาทอักเสบ แบบนี้อันตรายหรือไม่?
อาการปวดจากเส้นประสาทนี้ ส่วนใหญ่จะหายไปได้เอง หากอาการเป็นต่อเนื่อง หรืออาการเป็นรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
แนวทางการรักษาเบื้องต้น
เบื้องต้นหลีกเลี่ยงการทำท่าทางหรือทำงานใดๆที่กระตุ้นให้มีอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ พักสายตาเป็นระยะ กินยาแก้ปวดได้หากปวดมาก และควรไปพบแพทย์ถ้าพักหรือกินยาแล้วยังไม่ดีขึ้น ปวดจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก หรือปวดจนทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ไม่ได้ตามปกติ
เจ็บหนังศีรษะ แตะแล้วเจ็บ วิธีแก้ ด้วยกายภาพบำบัด ที่ทุกคนควรรู้จัก
การรักษาและการฟื้นฟูอาการปวดหัวทางกายภาพนั้นมักจะทำการฟื้นฟูโดยการสร้างความสมดุลของอวัยวะต่างๆ ให้สอดคล้องกับการทำงานของร่างกาย โดยแนวทางในการทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดหัวหรือแสบหนังหัวเช่นนี้ มีจุดประสงค์เพื่อปรับระบบกล้ามเนื้อคอ ไหล่ และศีรษะให้เกิดการสมดุล ไม่แข็งเกร็งจนก่อให้เกิดการ ปวดศีรษะ และมึนงง โดยอาจใช้ร่วมกับยาหรือไม่ก็ได้ การรักษาดังกล่าวประกอบด้วยวิธีการต่อไปนี้
กรณีที่มีอาการไม่มากและเพิ่งเป็นไม่นาน
แพทย์มีวิธีรักษาโดยใช้อัลตราซาวนด์ในการบำบัดคลายกล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหัว ปวดตึงต้นคอ บ่า ไหล่ และมึนศีรษะ การรักษาโดยวิธีนี้ มีความจำเป็นต้องทำหลายครั้งและต่อเนื่อง เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
กรณีที่มีอาการมากและเป็นมานานเรื้อรัง
แพทย์จะใช้การปรับสมดุลของกล้ามเนื้อ โดยใช้การลงเข็ม (Dry needing) ซึ่งเป็นการรักษาในแนวแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อคลายกล้ามเนื้อชั้นที่ลึกๆ โดยใช้ในกรณีที่การคลายกล้ามเนื้อโดยอัลตราซาวนด์ไม่ได้ผลอย่างที่คาดหวัง การลงเข็มสามารถเข้าถึงจุดปมกล้ามเนื้อ (Trigger point)ที่อยู่ลึกๆ ที่เป็นตัวการทำให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ ปวดตึงต้นคอ บ่า ไหล่ และมึนศีรษะ ซึ่งมักจะอยู่ลึกมาก เกินกว่าที่อัลตราซาวนด์จะสามารถเข้าถึงได้
4 ท่านวดศีรษะ ลดอาการปวดแสบหนังหัว
แม้จะเป็นอาการที่ดูมีอันตรายน้อย แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า อาการของการแสบและปวดหนังศีรษะเช่นนี้ก็สร้างความทรมานให้กับคนไข้อยู่ไม่น้อย ดังนั้น ในทางกายภาพบำบัด จึงมี 4 ท่านวดที่คอยกระตุ้นให้เลือดบริเวณนังศีรษะไหลเวียนได้ดีขึ้น สามารถทำตามได้ง่ายๆ ดังนี้
ท่าที่ 1 นวดกลางศีรษะ
ในท่าแรกนี้ ให้ผู้ป่วยนำนิ้วทั้ง 10 นิ้วนวดบริเวณกลางศีรษะเสียก่อน และไล่มาตรงบริเวณท้ายทอย จากนั้นค่อยๆ ไล่ไปที่หลังใบหูทั้ง 2 ข้าง โดยคนไข้ต้องพยายามลงน้ำหนักมือให้สม่ำเสมอและนวดขึ้นลง วนๆ ไปให้ทั่ว การทำเช่นนี้จะทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น วิธีนวด : ใช้นิ้วทั้ง 10 นิ้ว นวดจากกลางศีรษะไปจนถึงท้ายทอย แยกลงมาที่ใบหูทั้งสองข้าง ทำ 1 ครั้ง จำนวน 1 เซต
ท่าที่ 2 นวดบริเวณต้นคอ
สำหรับท่านี้ นอกจากจะช่วยลดอาการเจ็บบริเวณหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถช่วยในเรื่องลดอาการผมขาดหลุดร่วงได้อีกด้วย ซึ่งเป็นท่าที่หลายๆ คนจะชอบเนื่องจากมีความผ่อนคลายและลดความเครียดได้ด้วยนั่นเอง วิธีการนวดค่อนข้างง่าย โดยเริ่มจากการวางมือทั้งสองข้างไว้บริเวณต้นคอ จากนั้นใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดขึ้นไล่ขึ้นมาถึงบริเวณท้ายทอย ทำประมาณ 3 ครั้ง เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยลดอาการปวดได้ วิธีนวด : ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้าง นวดตรงต้นคอและไล่มาจนถึงท้ายทอย ทำ 3 ครั้ง จำนวน 1 เซต
ท่าที่ 3 นวดขมับ
เป็นอีกหนึ่งในท่ายอดนิยมที่คนไข้หลายคนชื่นชอบ เนื่องจากการนวดขมับจะช่วยให้สมองโล่ง และลดอาการเครียดได้ วิธีการคือเริ่มต้นจากการใช้นิ้วโป้งทั้ง 2 ข้าง นวดวนๆ ที่ขมับทั้ง 2 ข้าง จากนั้นไล่ลงไปจนถึงท้ายทอยและไล่จากท้ายทอยขึ้นไปด้านบน จากนั้นใช้มือลูบจากโคนผมลงไปที่ปลายผม วิธีนวด : ใช้นิ้วโป้งนวดวนจากขมับถึงท้ายทอย ทำ 2 ครั้ง 1 เซต
ท่าที่ 4 นวดทั่วศีรษะ
ท่านี้เริ่มต้นด้วยการนำนิ้วทั้ง 10 นิ้วนวดบริเวณๆ ทั่วๆ ศีรษะเพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือน้ำหนักมือของคนไข้ต้องลงให้เท่ากัน และวนไปเรื่อยๆ ซึ่งขั้นตอนนี้หากใครลงเซรั่มไปด้วย การนวดวนเช่นนี้ก็จะทำให้เซรั่มกระจายลงหนังศีรษะเร็วขึ้นด้วยนั่นเอง วิธีนวด : ใช้นิ้วมือนวดเป็นวงกลมทั่วศีรษะ ทำ 3 ครั้ง จำนวน 1 เซตหรือต่อเนื่องประมาณ 3 นาที ท้ายที่สุด จากที่ได้กล่าวไปว่า แม้อาการเจ็บหนังหัวเช่นนี้ จะไม่ได้มีภาวะที่รุนแรงและส่งผลอันตรายมากมายนัก แต่คนไข้ไม่คนชะล่าใจ หรือปล่อยปละละเลยหากเกิดอาการนี้บ่อยๆ หรือมีอาการยาวนานกว่าจะหาย ดังนั้น หากพบอาการที่ผิดปกติ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยว่าอาการเช่นนี้เป็นอะไรกันแน่ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
การรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คล้ายกับเครื่อง MRI เป็นคลื่นแม่เหล็กที่สามารถทะลุผ่านอวัยวะต่างๆ เข้าไปได้ลึก ประมาณ 1-3 เซนติเมตร เพี่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ
การรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS คือการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านเข้าไปยังสมอง ช่วยเร่งระยะเวลาการรักษาให้ผู้ป่วยฟื้นฟูจากภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า ไมเกรน และอาการปวดเรื้อรังจากระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ช่วงนาทีทองหรือระยะเริ่มต้นของโรค หากเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หากทำควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ 30-60% เลยทีเดียว
สรุป ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการ “เจ็บหนังศีรษะ”
อย่างไรก็ตาม แม้อาการเจ็บที่กล้ามเนื้อศีรษะเช่นนี้ ส่วนใหญ่จะหายไปได้เอง แต่หากมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ และมีโอกาสจะเกิดเป็นอาการเรื้อรัง ก็ไม่ควรปล่อยไว้ ผู้ป่วยควรเข้ารับการฟื้นฟูการทำงานของสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถือเป็นการรักษาแนวใหม่และเป็นทางเลือกต่อโรคทางสมอง มีความปลอดภัยสูง สามารถเข้ารับการรักษาได้หลายครั้ง และมีผลกระทบจากการรักษาน้อยมาก ใช้เวลาในการรักษาเพียงไม่นาน แต่ให้ผลในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ควรเข้ารับบริการจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม