Bradykinesia อาการเคลื่อนไหวช้าในผู้ป่วยพาร์กินสัน แก้อย่างไร?
Bradykinesia หรือ อาการเคลื่อนไหวช้าในผู้ป่วยพาร์กินสัน ซึ่งหลายๆ คนอาจไม่เคยทราบว่าภายในอาการเช่น พาร์กินสัน นี้จะมีอาการที่ซ้อนลงไปอีก โดยแท้จริงแล้วโรคทางกล้ามเนื้อโรคนี้มีหลายอาการมากๆ ที่แสดง ซึ่งอาการเคลื่อนไหวช้าก็เป็นหนึ่งในหลายๆ อาการดังกล่าวนั่นเอง ซึ่งยังมี อาการสั่น อาการเกร็ง และการทรงตัวที่ผิดปกติ ร่วมด้วย ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องเพื่อที่อาการของผู้ป่วยจะได้ดีขึ้นตามลำดับ
Bradykinesia อาการเคลื่อนไหวช้าที่มาพร้อมกับโรค “พาร์กินสัน”
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมของบริเวณสมองส่วนกลางและระบบประสาท เป็นโรคที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 65 ปี ซึ่งสาเหตุของโรคพาร์กินสันนั้นไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีอาการที่มีลักษณะเด่นๆ หลายอาการด้วยกัน
Bradykinesia คือ…
อาการเคลื่อนไหวช้าเป็นอาการหลักที่เกิดในผู้ป่วยพาร์กินสันทุกราย ผู้ป่วยหรือญาติสามารถสังเกตอาการได้ว่า ผู้ป่วยเคลื่อนไหวช้าลงหรือมีการหยุดชะงักระหว่างการเคลื่อนไหว เช่น การเขียนหนังสือตัวเล็กลง การแกว่งแขนเวลาเดินน้อยลง ซึ่งอาการเคลื่อนไหวช้ามักเกิดในด้านเดียวกันกับด้านที่มีอาการสั่น
การวินิจฉัยอาการ Bradykinesia
คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Bradykinesia มักจะถูกระบุว่าเป็นโรคหนึ่งในหลายๆ โรค บ่อยครั้งที่อาการเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน เนื่องจากผลกระทบของโรคนี้ต่อการทำงานของฐานปมประสาทผู้ป่วยอาจมีปัญหาอย่างมากในการเคลื่อนไหวให้เสร็จสิ้นเมื่อมีการพยายาม กระบวนการของ Bradykinesia นั้นคล้ายกับ hypokinesia แต่ที่จริงแล้วมีสภาพแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในขณะที่ kinesis ทุกรูปแบบเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว hypokinesia นั้นมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวที่เริ่มต้นยาก ในทางตรงกันข้าม Bradykinesia เกี่ยวข้องกับความเร็วของการเคลื่อนไหวเมื่อมีการเคลื่อนไหว เป็นไปได้ที่ผู้ป่วยรายเดียวจะได้สัมผัสกับทั้งสองเงื่อนไขพบว่าเป็นการยากที่จะเริ่มการเคลื่อนไหวและจากนั้นก็มีความยากลำบากในการติดตามผ่านไปยังข้อสรุปเชิงตรรกะของการเคลื่อนไหว
อาการร่วมอื่นๆ ที่มักพบในผู้ป่วยพาร์กินสัน
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า อาการเคลื่อนไหวช้าเป็นเพียงอาการหนึ่งในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเท่านั้น โดยยังมีอาการเด่นอื่นๆ ที่แสดงออกร่วมด้วย ซึ่งอาการดังกล่าว ประกอบด้วยอีก 3 อาการ ดังนี้
อาการสั่น (Tremor)
เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้เด่นชัดแต่อาการสั่นนั้นไม่จำเป็น ต้องพบในผู้ป่วยทุกราย อาการสั่นแบบโรคพาร์กินสันจะเกิดขณะที่มือนั้นอยู่เฉย (Rest tremor) เช่น ขณะที่นั่งดูทีวีอยู่ เป็นต้น อาการสั่นจะลดน้อยลง เมื่อผู้ป่วยใช้มือนั้นทำงาน เช่น เขียนหนังสือ หรือตักอาหาร เป็นต้น
อาการแข็งเกร็ง (Rigidity)
เป็นอาการที่ผู้ป่วยมีอาการแข็งตึงของแขน ขา และ ลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ปวดตามกล้ามเนื้อซึ่งเริ่มที่แขนหรือขาด้านเดียวกันกับด้านที่มีอาการสั่น อาการนี้มักจะเป็นอาการที่ทำให้เกิดความลำบากในผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า เช่น เดินไปห้องน้ำไม่ทัน ลุกขึ้นยืนได้ยาก พลิกตัวบนเตียงลำบาก เป็นต้น
ปัญหาของการทรงตัว (Postural instability)
เป็นอาการที่มักเริ่มเกิด 2-5 ปี หลังจากเริ่มมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีลักษณะการเดินที่เฉพาะ เช่น ผู้ป่วยพาร์กินสันมักจะเดินซอยเท้าถี่ (Shuffle gait) เดินในลักษณะที่โน้มตัวไปข้างหน้า (Festination gait) และเมื่อกลับตัวขณะเดิน ผู้ป่วยมักจะกลับทั้งตัวไปพร้อมๆ กัน ร่วมกับซอยเท้าถี่ๆ (En bloc turn) ผู้ป่วยมักจะเดินย่ำเท้าอยู่กับที่เหมือนกับเท้าติดอยู่กับพื้น (Gaitfreezing) ปัญหาการเดินในลักษณะนี้จะเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันหกล้มง่าย เสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพ
แนวทางการรักษา Bradykinesia
โดยทั่วไปแล้วก็รักษาภาวะเคลื่อนไหวช้าในผู้ป่วยพาร์กินสันนั้น คือการใช้ยาตัวหนึ่งที่ชื่อว่า L-DOPA ซึ่งเป็นสารเคมีธรรมชาติที่เมื่อผ่านเข้าสู่สมองแล้วจะกลายเป็นสารสื่อประสาทโดปามีน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว โดยทั้งนี้อาจใช้ร่วมกับยาอื่นๆ เพื่อกระตุ้นร่างกายของผู้ป่วยให้ตอบสนองกับการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ดี การใช้ยาเช่นนี้ไม่ได้มีสรรพคุณไว้เพื่อรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาด เพียงแต่จะช่วยให้ร่างกายของคนไข้ควบคุมกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้นเท่านั้น ดังนั้น คนไข้อาจจะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับการทานยาเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ
แนวทางการรักษาภาวะเคลื่อนไหวช้าในผู้ป่วยพาร์กินสันด้วยกายภาพบำบัด
ในส่วนการรักษาอีกรูปแบบหนึ่งร่วมด้วยก็คือ การทำกายภาพบำบัดนั่นเอง เนื่องจากอาการของโรคที่ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง จะส่งผลให้ตัวกล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวที่มากขึ้นด้วย การรักษาทางกายภาพจึงเน้นไปที่
- การยืดกล้ามเนื้อเพื่อคงองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อไว้ไม่ให้ยึดติดซึ่งส่งจะส่งผลโดยตรงต่อการเคลื่อนไหวและการทำกิจวัตรประจำวัน
- การสอนการปรับความสมดุลของร่างกายเพื่อป้องกันการล้ม
- การสอนเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น
อย่างไรก็ดี แม้อาการนี้จะดูไม่อันตราย แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ หากผู้อ่านท่านใดที่กำลังสงสัยว่าตนเองกำลังมีภาวะนี้ ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจร่างกายและวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนว่ามีภาวะโรคพาร์กินสันหรือไม่ เนื่องจากหากได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และทันท่วงทีก็สามารถหายขาดได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมทุกๆ คนไม่ควรละเลย ไม่ว่าจะเป็นอาการใดหรือมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดก็ตาม เพราะถ้าหากได้เป็นผู้ป่วยในโรคชนิดนี้แล้วก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก
——————————-
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม