“หายใจไม่ทัน” เมื่อต้องเข้าแข่ง เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรับความเหนื่อย
“หายใจไม่ทัน” เป็นลักษณะอาการที่ไม่สามารถหายใจสูดอากาศเข้าไปได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นการหายใจสั้นๆ หรือรู้สึกหายใจไม่ออก โดยมักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือการออกกำลังกายที่ใช้แรงอย่างหนัก ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้ก็จะร่วมด้วยผู้ที่ชื่นชอบในการออกกำลังกาย และ นักกีฬา ที่ต้องเข้าแข่งขันเสมอ อย่างไรก็ดี หากนักกีฬาในแต่ละประเภทไม่ฝึกเทคนิคการให้ใจให้ดี ก็อาจทำให้เสียเปรียบได้ง่ายในการแข่ง
“หายใจไม่ทัน” เกิดจากอะไร สามารถแก้ไขได้โดยวิธีใดบ้าง?
จากที่กล่าวไปในข้างต้นว่า อาการหายใจไม่สุดนั้นเป็นอาการที่ส่งผลต่อการออกกำลังและการเล่นกีฬาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการเล่นกีฬาต้องใช้แรงอย่างมหาศาล เพราะฉะนั้นหากนักกีฬาท่านใดที่มีอาการเช่นนี้ และไม่มีเทคนิคในการแบ่งลมหายใจให้ถูกต้องก็จะส่งผลต่อการออกแรง ซึ่งกรณีที่แย่ที่สุดคืออาจเกิดอาการหอบเหนื่อย หัวใจเต้นแรง และส่งผลต่อชีวิตในที่สุด
“ออกซิเจน” แหล่งพลังงานสำคัญของนักกีฬา
มนุษย์เราหายใจเข้าเพื่อนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และหายใจออกเพื่อนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา โดยกระบวนการนี้จะมีความสำคัญมากในขณะที่เราออกกำลังกาย ซึ่งต้องการออกซิเจนปริมาณมากขึ้นเพื่อนำไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายมนุษย์ไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอระหว่างการวิ่งหรือใช้แรงหนักๆ ร่างกายจะเตือนให้ทราบ โดยบางครั้งคุณอาจจะมีอาการหายใจหอบเหนื่อยหรือหายใจไม่ออก รวมทั้งกล้ามเนื้อจะเปลี่ยนไปใช้การเผาผลาญพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Metabolism) ซึ่งก่อให้เกิดการผลิตกรดแลคติก ที่จะทำให้กล้ามเนื้อล้าและอาจเกิดเป็นตะคริวขึ้นได้
หายใจไม่ค่อยทัน หายใจไม่สุด เกิดจาก…
โดยทั่วไป หายใจไม่อิ่มมักเกิดจากกิจกรรมที่ใช้แรงหนัก ทำให้ร่างกายหอบเหนื่อยและหายใจไม่ทันหรือหายใจถี่เป็นช่วงสั้น ๆ แล้วอาการจะหายไปเมื่อพ้นจากกิจกรรมเหล่านั้น เช่น การออกกำลังกาย อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป หรืออยู่บนที่สูง แต่หากเกิดอาการหายใจไม่อิ่มอยู่เสมอ หายใจไม่อิ่มอย่างรุนแรง หรือหายใจไม่อิ่มทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที
อาการทั่วไป
ส่วนใหญ่แล้วอาการของภาวะนี้คือลมหายใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือไม่สมดุลกับร่างกายนั่นเอง ซึ่งลักษณะอาการของปัญหานี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ หายใจไม่ค่อยทันแบบเรื้อรัง และ หายใจไม่ค่อยทันแบบกะทันหัน ซึ่งหากพิจารณาและนักกีฬามักจะเกิดอาการแบบกะทันหันเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมักจะต้องใช้แรงกำลังเป็นอย่างมากในการเข้าแข่ง และอาจเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายนาทีหรือหลายชั่วโมง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
- ออกกำลังกาย ใช้แรงอย่างหนัก
- อาการหอบหืด หลอดลมหดตัวแคบลง เกิดน้ำมูกเหนียวภายในทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ผู้ป่วยจึงหายใจลำบากและอาจมีเสียงหวีดขณะหายใจ
- เกิดเหตุการณ์ทำให้ตื่นตระหนกตกใจกะทันหัน หรือเกิดความวิตกกังวล
- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และภาวะหัวใจวาย
ลักษณะการหายใจที่ดี ควรเป็นอย่างไร?
การหายใจควรเป็นไปโดยธรรมชาติ หายใจเข้าออกผ่านจมูก แต่ถ้าอยู่ในการช่วงที่ฝึกเพื่อพัฒนาความเร็ว อาจจะมีช่วงที่ฝึกหนักถึง 80-90 % ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ อาจจำเป็นต้องหายใจผ่านปากด้วย แต่ถ้าเป็นการวิ่งปกติแล้วถ้าหายใจไม่ค่อยทันแสดงว่าวิ่งเร็วเกินไป ก็คงต้องผ่อน คือลดความเร็วลง โดยตามปกติแล้วถ้าวิ่งไปได้สักพักจังหวะการหายใจจะปรับเข้ากับจังหวะการวิ่งเอง ซึ่งจะเป็นช่วงจังหวะที่เรารู้สึกว่าลงตัวและรู้สึกสบาย
เทคนิคการหายใจสำหรับนักกีฬาขณะแข่ง
-
เทคนิคการหายใจด้วย กล้ามเนื้อกระบังลม
สำหรับเทคนิคการหายใจด้วย กล้ามเนื้อซี่โครง ( Costal หรือ Chest Breathing ) คือ เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะขยายตัวและหน้าท้องจะยุบ เวลาหายใจออกหน้าอกจะยุบ และหน้าท้องขยายตัวหรือพองออก เวลาวิ่งเร็วๆและวิ่งนานๆจะจุกเสียดชายโครงได้ง่าย
-
เทคนิคการหายใจด้วยกระบังลม
การหายใจด้วย กล้ามเนื้อกระบังลม ( Abdominal Breathing ) คือ เวลาหายใจเข้ากล้ามเนื้อกระบังลมจะเคลื่อนตัวลงทำให้ลมเข้าไปในปอด หน้าท้องจะพองหรือขยายตัว ( พุงป่อง ) และ เวลาหายใจออก กล้ามเนื้อกระบังลมจะเคลื่อนตัวขึ้น พุงจะยุบ วิธีการหายใจแบบนี้จะทำให้ไม่จุกเสียดชายโครงถ้าวิ่งนานๆ
แนวทางการรักษาเบื้องต้นหากเกิดอาการ
ในเบื้องต้น ผู้ป่วยที่หายใจไม่อิ่มควรสังเกตที่มาที่ทำให้เกิดอาการ หากเป็นสาเหตุทั่วไปที่ไม่เป็นอันตราย เช่น อาการเกิดจากปัจจัยภายนอก ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มจนกว่าจะกลับมาหายใจได้ตามปกติ เช่น
- นั่งหน้าพัดลม หรือปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศลงให้ห้องมีความเย็น
- ยกหัวขึ้น หรือให้หัวอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าแนวระนาบหรืออยู่ในท่านั่ง เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น
- สูดอากาศบริสุทธิ์ เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวก และกำจัดมลภาวะทางอากาศออกไป
- อยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง ห้องโล่ง ๆ ที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด หรือเปิดหน้าต่าง มองดูทิวทัศน์ที่สบายตา
- ฝึกใช้เทคนิคควบคุมความเครียด ความวิตกกังวล และการรับมือกับปัญหา ด้วยการเปลี่ยนมุมมอง การคิด และการจัดการกับอารมณ์และสถานการณ์ที่ยากลำบาก
ท้ายที่สุด แม้ว่าการหายใจของเรานั้นจะเป็นเรื่องที่ร่างกายทำเองโดยอัตโนมัติ แต่นักกีฬาก็สามารถฝึกและควบคุมได้ แม้จะต้องอาศัยเวลาเพื่อให้ชินแต่ก็ย่อมดีกว่าไปเกิดอาการในสนามหรือในขณะที่แข่ง เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอาการของเราจะเกิดความรุนแรงถึงขั้นใด ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ดีที่นักกีฬาหรือผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายตัวยงควรศึกษาไว้ หากไม่แน่ใจควรเข้ารับคำแนะนำจากโค้ชหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อหาแนวทางที่ถูกต้อง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบำบัด นักกีฬา เคล็ดลับการฟื้นตัวให้ลงสนามได้ไว
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “วิ่งแล้วเจ็บข้างเท้าด้านใน” อาการที่ไม่น่าวางใจสำหรับนักกีฬา