หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียนสั้นๆว่า หมอนรองกระดูกทับเส้น โดยหมอนรองกระดูกมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อเหนียว ยืดหยุ่นได้ดี คล้ายเยลลี ซึ่งองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำ ซึ่งภายในหมอนรองกระดูกจะมีองค์ประกอบหลักๆ 2 ชั้น (ตามรูปภาพด้านบน) คือ ส่วนที่อยู่รอบนอก (Annulus Fibrosus) และส่วนที่อยู่ตรงกลาง (Nucleus Pulposus)
สาเหตุของการเกิด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เนื่องจากหมอนรองกระดูกจะอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังทำหน้าที่คล้ายเป็น “สปริง” ยืดหยุ่น และรองรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลังที่เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การก้ม การกระโดด การบิดตัว เป็นต้น หากกระดูกสันหลังของเราถูกใช้งานหนักเกิน ยกของหนัก เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกแตกและปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทได้
ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บหมอนรองกระดูกสันหลัง

ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บหมอนรองกระดูกสันหลังสามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรกที่มีความผิดปกติ แต่ยังไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของชั้นหมอนรองกระดูกรอบนอก (Annulus Fibrosus)
- ระยะที่ 2 ชั้นภายในของหมอนรองกระดูก (Nucleus Pulposus) เริ่มไหลออกจากแนวแกนกลางทำให้เกิดการโป่งนูนของชั้นรอบนอก (Annulus Fibrosus)
- ระยะที่ 3 คือภาวะที่ชั้นภายในของหมอนรองกระดูก (Nucleus Pulposus) ไหลออกจากแนวแกนกลางผ่านชั้นนอก (Annulus Fibrosus) ออกมาและเข้าสู่โพรงประสาท (Spinal Canel) แต่ยังไม่หลุดลอยเป็นก้อนอิสระ
- ระยะที่ 4 เป็นภาวะที่ต่อเนื่องมาจากระยะที่ 3 แต่ชั้นภายในของหมอนรองกระดูก (Nucleus Pulposus) จะหลุดเป็นก้อนอิสระลอยอยู่ในโพรงประสาท (Spinal Canel)
วิธีเช็คอาการที่พบบ่อยของหมอนรองกระดูกสันหลักดทับเส้นประสาท
- อาการมักจะมาทันทีหลังจากทำกิจกรรมที่อันตรายต่อหมอนรองกระดูก เช่น การยกของหนัก หรือ การก้มเอี้ยวตัวหยิบของ
- เจ็บมากขึ้นเมื่อก้ม นั่งเอี้ยวตัว/บิดตัว ไอ จาม เบ่งขับถ่าย
- ยืนหรือเดินตัวเอียง
- ปวดร้าวลงขาข้างเดียว หรือ ทั้ง 2 ข้างก็ได้ ถ้ามีอาการรุนแรงมากจะมีอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อร่วมด้วย
- ปวดบริเวณหลังส่วนล่าง
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
แนวทางการรักษาหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทจำเป็นที่จะต้องตรวจ และต้องพิจารณาระยะความรุนแรงร่วมด้วย หากปล่อยทิ้งไว้นานจนถึงระยะที่ 4 ผู้ป่วยจะปวดร้าวอย่างมากและอาจจำเป็นที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน ขณะที่ “การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด“ เป็นวิธีการรักษาที่ภาวะอาการบาดเจ็บยังไม่เข้าสู่ระยะที่ 4 และเป็นการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดและการใช้ยาสเตียรอยด์ที่อาจมีผลอาการข้างเคียงอย่างอื่นตามมาทีหลังได้ ดังนั้นหากตรวจพบเร็วและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะทำให้ผู้ป่วยหายและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วยิ่งขึ้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “การรักษาด้วยไฟฟ้า” กายภาพบำบัดทั้ง 6 แบบมีอะไรบ้าง
- “เส้นประสาท” กับสารพัดโรคที่ควรระวัง
- “กระดูกสันหลังเสื่อม” อันตราย! หากเป็นแล้วรับมืออย่างไร?
ทำไมต้องเลือก Newton Em Clinic
Newton Em Clinic เป็นคลินิกภายภาพที่มุ่งเน้นการบริการทางด้านกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ออฟฟิศซินโดรม และอาการปวดตามส่วนต่างๆ เช่น หลัง บ่า เข่า และข้อ เป็นต้น ด้วยบริการต่างๆ ดังนี้ กายภาพบำบัดทั่วไป กายภาพบำบัดหลังผ่าตัด การรักษาอาการบาดเจ็บทางกีฬา นวดการกีฬา โปรแกรมยืดกล้ามเนื้อ โปรแกรมเตรียมความพร้อมให้กับนักกีฬาก่อนแข่ง โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังแข่ง การตรวจโครงสร้างทางร่างกาย โปรแกรมออกกำลังกายในน้ำ โปรแกรมออกกำลังกายรักษาอาการปวด พิลาทิส รับปรึกษาแผนการพัฒนาความคิดและพฤติกรรมสำหรับเด็ก และกายภาพบำบัดในท่อน้ำนมอุดตันสำหรับหญิงหลังคลอด ซึ่งเรามีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายตามมาตรฐานด้วยเทคนิคเฉพาะทาง การดูแล และให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ เพราะเรามีทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์โดยตรง เหมาะสำหรับกลุ่มนักกีฬา ผู้ที่ออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะจำเป็นที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดเช่น สมองพิการในเด็ก คุณแม่หลังคลอด และผู้สูงอายุ ปัจจุบันเรามีคลินิกที่พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีการให้บริการ การรักษาขั้นพื้นฐานที่เหมือนกัน และยังมีการให้บริการที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางของแต่ละสาขา โดยนักกายภาพที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมเฉพาะด้านเพื่อผลิตผู้รักษาให้ตรงตามอาการของผู้ป่วยทุกคน คลินิก Newton Em พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา
- สาขาลาดพร้าว เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาราชดำริ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาทองหล่อ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขากาญจนาภิเษก เบอร์โทร 099-553-9445, 083-559-5954
.เวลาทำการ: วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 10:00 น. – 19:00 น.
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
Tel: 099-553-9445
ปรึกษา หรือ ติดตามความรู้สุขภาพอื่นๆได้ตามช่องทางด้านล่าง
อ้างอิง
- Animated Dissection of Anatomy for Medicine, Inc.
- https://sequencewiz.org/2015/12/23/stress-on-the-intervertebral-disks/
- https://www.spineuniverse.com/conditions/herniated-disc/herniated-discs-definition-progression-diagnosis