วิธี ลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ บำบัดง่ายๆ ด้วยกายภาพ
วิธี ลดอาการเกร็ง แนวทางการบรรเทาอาการเกร็งในกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ที่สามารถเกิดได้ทุกจุดในร่างกาย อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการปวดเมื่อยอีกด้วย อย่างไรก็ดี สาเหตุของการเกร็งตามกล้ามเนื้อมีได้หลายปัจจัย ซึ่งในบางครั้งก็เกิดขึ้นได้แม้ไม่มีสิ่งกระตุ้นด้วยซ้ำไป ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้อย่างละเอียด เพราะจะได้รักษาและหาวิธีลดอาการหดเกร็งได้อย่างถูกต้องและตรงจุดนั่นเอง
วิธี ลดอาการเกร็ง ของกล้ามเนื้อ ทำวิธีใดได้บ้าง อาการเกร็งสามารถหายขาดได้หรือไม่?
โรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง เป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างกล้ามเนื้อและการใช้งาน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีการใช้งานซ้ำๆ ในท่ากางแขน เขียน หรือ ก้มคอจากการพิมพ์งานคอมพิวเตอร์ การใช้งานซ้ำ ๆ โดยปราศจากการยืด เหยียดกล้ามเนื้อจะทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง จนกระทั่งมีอาการปวดร้าวไปที่คอ แขน ไหล่ หลัง หรือบ่า
กล้ามเนื้อหดเกร็งเกิดจากอะไร?
กล้ามเนื้อหดเกร็งเกิดจากการออกแรง หรือใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นอย่างหนักในท่าทางซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อหดตัวอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้พักและไม่คลายตัวออก กล้ามเนื้อจึงไม่มีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดพลังงานและมีของเสียคั่งค้าง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าตามมาได้ หากไม่รักษา หรือไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กล้ามเนื้อมัดนั้นอาจเกิดการอักเสบเรื้อรังกลายเป็นพังผืด หรือเมื่อคลำดูจะพบเป็นก้อนแข็งๆ ซึ่งเรียกว่า “จุดกดเจ็บ (trigger point)” ได้
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ปัจจัยเสี่ยงโดยมากมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้แก่ ㆍการนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์โดยที่ตำแหน่งและความสูงของโต๊ะ-เก้าอี้ไม่เหมาะสม ㆍการใช้ไหล่ข้างเดียวสะพายกระเป๋าหนักๆ ㆍการนอนโดยใช้เครื่องนอนที่ไม่รับกับสรีระ เช่น นอนหมอนสูง หรือต่ำเกินไป ㆍการออกกำลังกายโดยไม่ยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลัง ㆍการเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อหดเกร็ง อันตรายไหม?
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเช่นนี้ จะรู้สึกถึงอาการปวดเมื่อยตั้งแต่บริเวณต้นคอ ลามไปจนถึง บ่า หัวไหล่ และหลังเกร็งตัวขึ้นเป็นก้อน ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะมีความคล้ายคลึงกับอาการคล้ายโรคหมอนรองกระดูกกดเบียดเส้นประสาท เบื้องต้นแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้ปวด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเบื้องต้น โดยทั่วไปหากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์ ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหรือดูแลไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังจนกระทั่งมีผลต่อการดำรงชีวิตอีกด้วย
ลักษณะอาการของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ผู้ป่วยภาวะนี้อาจมีอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็ง หรือเป็นตะคริวที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายอย่างควบคุมไม่ได้ เช่น คอ มือ ขา เปลือกตา ขากรรไกร ลิ้น กล่องเสียง และเส้นเสียง เป็นต้น โดยอาจเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจมีความรุนแรงน้อยจนไปถึงรุนแรงมากและมักพัฒนาขึ้นตามระยะ
ประเภทของอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ลักษณะอาการของการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
-
กล้ามเนื้อหดเกร็งเฉียบพลัน (Acute myofascial pain syndrome)
คือการเกิดอาการปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน สาเหตุมักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือกล้ามเนื้อสัมผัสกับความเย็นนานๆ เมื่อได้พักกล้ามเนื้อและดูแลอย่างเหมาะสม อาการปวดมักหายได้เองในเวลาไม่สัปดาห์และไม่ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยในระยะยาว
-
กล้ามเนื้อหดเกร็งเรื้อรัง (Chronic myofascial pain syndrome)
คือการเกิดอาการปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งยาวนานกว่า 2 เดือน มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักและไม่เหมาะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในท่าทางซ้ำๆ อาการปวดของกล้ามเนื้อหดเกร็งเรื้อรังจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากปวดเฉพาะเวลาทำงานก่อน ไปจนถึงขั้นปวดตลอดเวลาจนรบกวนการใช้ชีวิต อาการปวดนี้มักไม่หายไปง่ายๆ จนกว่าจะได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างถูกต้อง
แนวทางการรักษาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะเกร็งของกล้ามนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่คนไข้อาจเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาและประคองให้อาการดีขึ้นได้ตามลำดับ ตามวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ทานยาเมื่อมีอาการเกร็งและปวด
แพทย์อาจฉีดโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum Toxin) หรือโบท็อกซ์เข้าสู่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่ได้รับผลกระทบเพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็ง และช่วยปรับท่าทางของผู้ป่วยให้ใกล้เคียงปกติที่สุด โดยผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการฉีดยาทุก 3-4 เดือน
2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตำแหน่งการใช้งาน
เช่น การปรับเปลี่ยนตำแหน่งโต๊ะทำงาน คีย์บอร์ด เพื่อให้ตำแหน่งของคอ แขน ไหล่ หลัง บ่า อยู่ในตำแหน่งที่สมบูรณ์
3.แนะนำให้มีการทำกายภาพบำบัด
โดยเน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและสร้างความแข็งแรง เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความทนทานในการใช้งานมากขึ้น และเพื่อบรรเทาอาการและช่วยให้การทำงานของร่างกายดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเสียงอาจเข้ารับการทำอรรถบำบัด เพื่อพัฒนาทักษะการพูด นอกจากนี้ การยืดกล้ามเนื้อและการนวดอาจช่วยบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อได้ เช่น ใช้ความร้อน การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกร็งมีการคลายตัว รวมถึงการฝังเข็ม หรือมีการฉีดยาบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการหดเกร็งคลายตัวออก เป็นต้น
ท่าบริหารเบาๆ ลดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง
ถ้ากล้ามเนื้อหลังเกิดหดเกร็งขึ้นมา ออกกำลังกายเบาๆ สามารถช่วยได้ โดยให้ผู้ป่วยเริ่มบริหารก็ต่อเมื่อหลังที่หดเกร็งนั้นคลายความเจ็บปวดและอาการหดเกร็งลงบ้างแล้ว ห้ามทำถ้ากล้ามเนื้อหลังหดเกร็งรุนแรงหรือทำให้เจ็บปวดมาก ถ้าบริหารท่าไหนแล้วอาการหดเกร็งแย่กว่าเดิม ก็ให้เลิกทำ
- หลังตรง แล้วเดินไปมาโดยยกเข่าสูงกว่าปกติ เป็นท่าบริหารเบาๆ ที่ช่วยยืดเหยียดหลังส่วนล่าง น่าจะช่วยแก้อาการตะคริวหรือกล้ามเนื้อหดเกร็งได้
- ชูแขนเหนือหัว ทำซ้ำ 10 ครั้ง แต่ละครั้งให้ค้างไว้ 5 – 10 วินาที ทำซ้ำวันละ 3 – 4 ครั้ง เป็นท่าที่ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังได้
- นอนราบกับพื้น ชันเข่า แล้วค่อยๆ ดึงเข่าเข้ามาชิดอก ทำท่านี้ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นสลับข้าง ให้บริหารท่านี้ซ้ำ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 – 3 เซ็ต หรือจะงอเข่ามาชิดอกพร้อมกัน 2 ขาเลยก็ได้ ท่านี้ช่วยยืดเหยียดหลังส่วนล่าง ส่วนการนอนราบทำให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นได้พักและ “คลายตัว”
อย่างไรก็ดี อาการเช่นนี้ หากปล่อยทิ้งไว้นานเข้า จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เสียสมดุลในการผลิตสารสื่อประสาททั้งในสมองและกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจึงยิ่งเกิดการหดเกร็งตัวได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แถมต่อมาอาจส่งผลร้ายไปถึงโครงสร้างของร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน นำไปสู่โรคภัยได้อีกมากมาย ดังนั้น หากใครที่กำลังมีปัญหาหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ก็ควรรีบเข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูที่ถูกต้องและได้ผลอย่างแท้จริงร่วมกันนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม