ปวดหลัง นั่งนาน อาการยอดฮิตของคนทำงานที่ต้องแก้
“ปวดหลัง นั่งนาน” ปัญหาออฟฟิศซินโดรมในชาวออฟฟิศคนไทย เป็นเรื่องที่เริ่มได้รับความสนใจในหลายปีที่ผ่านมา เมื่อปี พ.ศ.2558 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยคนวัยทำงานร้อยละ 60 มีภาวะโรคออฟฟิศซินโดรม โดยมีสามอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดหลังเรื้อรัง ไมเกรน และมือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าอาการปวดหลังมักจะเป็นอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้ออันดับแรกๆ ที่คนในยุคปัจจุบันพบเจอเสมอ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะไม่แก้ไขอาการนี้
“ปวดหลัง นั่งนาน” อาการของคนวัยทำงานที่เลี่ยงได้ยาก
จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า เมื่อปี พ.ศ.2558 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยคนวัยทำงานร้อยละ 60 มีภาวะโรคออฟฟิศซินโดรม โดยมีอาการที่พบบ่อยๆ หลายอาการ หนึ่งในนั้นคือ การปวดหลัง ที่แม้แต่คนอายุน้อยๆ ก็สามารถเป็นได้แล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ผู้ที่มีอาการไม่ควรปล่อยไว้จนเกิดเป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์และรักษาให้หายโดยเร็ว
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เพราะต้องนั่งทำงานท่าเดิมเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
ลักษณะอาการ
-
ปวดหลังเรื้อรัง
เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง -
ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง
มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก -
ปวดตึงที่ขา
หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
แนวทางการรักษา
1.รักษาด้วยตนเอง
-
การยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเองเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
-
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-
หมั่นออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ
2.รักษาด้วยกายภาพบำบัด
-
การรักษาทางกายภาพบำบัด
-
การรักษามือนักกายภาพบำบัด
-
การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพ เช่น อัลตร้าซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้า และเลเซอร์ เป็นต้น
3.รักษาด้วยแนวทางอื่นๆ
-
การนวด
-
การฝังเข็ม
-
การรับประทานยาแก้ปวด หรือตามคำสั่งแพทย์
วิธีการป้องกันไม่ให้อาการปวดหลังกลับมาเป็นอีก
-
ปรับที่พฤติกรรมการทำงาน ให้มีเวลาพัก
-
พักผ่อนให้เพียงพอ
-
ปรับและจัดท่าทางการทำงานให้เหมาะสม
-
ฝึกผ่อนคลายความเครียด
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าในยุค COVID-19 ทำให้คนกลุ่มใหญ่ต้องนั่งทำงานจากที่บ้าน เกิดกิจวัตรประจำวันหลุมดำที่ทุกอย่างวนลูปเกิดขึ้นภายในสถานที่เดียว ชาวออฟฟิศอาจจะไม่ได้ขยับตัวเท่าไหร่นัก และการทำงานก็ไม่ค่อยมีจุดตัดเลิกงาน เชื่อได้ว่าภาวะออฟฟิศซินโดรมคงมีอัตราสูงขึ้น ดังนั้น หากวัยทำงานคนไหนมีอาการดังกล่าวก็ควรรีบเข้าพบแพทย์และฟื้นฟูตัวเองโดยเร็วเพื่อไม่ให้เกิดการเรื้อรังต่อไป
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม