5 ท่าบริหารแก้บ้านหมุน-เหมาะกับผู้สูงวัย
ท่าบริหารแก้บ้านหมุน ถือเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการเวียนหัวในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ในหลายๆ ครอบครัวมักเลือกให้ผู้สูงวัยทานยาเพื่อระงับอาการแต่แท้จริงแล้วอาจช่วยได้แค่ปลายเหตุเท่านั้น อาการบ้านหมุนถือเป็นสัญญาณอันตรายจากหลายๆ โรค และลักษณะอาการของมันนั้นก็ส่งผลเสียและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย ดังนั้น วิธีที่จะสามารถช่วยให้ผู้สูงวัยมีอาการที่ดีขึ้น ต้องเริ่มต้นจากอะไร และแก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้
ท่าบริหารแก้บ้านหมุนสำหรับผู้สูงวัย ลดอุบัติเหตุได้จากการฟื้นฟูร่างกาย
อาการเวียนศีรษะเกิดได้ในทุกกลุ่มอายุ ทั้งคนอายุน้อยไปจนถึงคนชรา แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ หากอาการเหล่านี้เกิดในผู้สูงวัย การฟื้นตัวจะค่อนข้างช้ากว่าคนหนุ่มสาว เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของความเสื่อมทางสรีรวิทยาและการมีโรคประจำตัวหลายชนิด ในที่นี้จะกล่าวถึงอาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรังเป็นหลัก
อาการบ้านหมุน คือ…
โรคเวียนศีรษะในผู้สูงอายุเป็นโรคยอดฮิตที่นำพาผู้สูงวัยมาพบแพทย์อยู่ตลอดเวลา บ่อยครั้งผู้สูงอายุมักบรรยายอาการของตนเองว่า ตนมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน รู้สึกมึน ๆ เหมือนจะหน้ามืด เป็นลม อยากอาเจียน พะอืดพะอม รู้สึกว่าการทรงตัวไม่มั่นคงเหมือนจะล้ม เป็นต้น
ประเภทของอาการบ้านหมุน
โดยปกติแล้วอาการเวียนศีรษะมักจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- อาการเวียนศีรษะแบบเฉียบพลัน ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในเวลาน้อยกว่า 1 – 2 เดือน
- อาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรัง ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นในเวลามากกว่า 1 – 2 เดือน
สาเหตุของโรควิงเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ
อาการบ้านหมุนในผู้สูงอายุนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถสรุปได้ตามข้อต่างๆ ดังนี้
โรคทางระบบหู
เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด ก้อนเนื้องอกในหู เส้นประสาทในหูอักเสบ พิษต่อระบบประสาทหูจากการใช้ยาบางชนิด เป็นต้นโรคทางระบบประสาทและสมอง
เช่น โรคเส้นเลือดในสมองตีบทั้งแบบชั่วคราวและถาวร โรคพาร์กินสัน โรคไมเกรนบางแบบผลข้างเคียงจากการใช้ยาประเภทต่างๆ
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะได้โดยผ่านกลไกที่แตกต่างกัน เช่น ยาลดความดัน ยาขับปัสสาวะ ยากันชัก ยาปรับอัตราการเต้นของหัวใจ ยาแก้แพ้ ยาฆ่าเชื้อ ยานอนหลับ และยาทางจิตเวช เป็นต้นโรคทางตา
เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อมโรคอื่นๆ
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ โรคซีด โรคเกลือแร่ ไขมันผิดปกติ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นอันตรายจากอาการบ้านหมุนในผู้สูงวัย
โรคบ้านหมุนเป็นปัญหาสุขภาพที่สร้างความรำคาญ และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก แม้บ้านหมุนไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่ถ้าอาการบ้านหมุนเกิดขึ้นระหว่างทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกับเครื่องจักรกล ยานพาหนะที่มีความเร็วสูง หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยง เมื่อเสียการทรงตัวอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่สร้างความสูญเสียต่อร่างกาย หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และในรายที่มีอาการเวียนศีรษะและอาเจียนมากๆ จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับทดแทนร่างกายจะขาดน้ำและเกลือแร่ส่งผลทำให้ความดันในเลือดต่ำจนอาจทำให้เกิดภาวะช็อกและอาจเสียชีวิตได้5 ท่าบริหารสำหรับแก้อาการบ้านหมุนสำหรับผู้สูงอายุ
สำหรับท่ากายบริหารในผู้สูงอายุนั้น แม้จะเป็นท่าง่ายๆ ที่ท่านสามารถทำเองได้ แต่ก็ควรมีคนในครอบครัวหรือผู้ดูแลคอยอยู่ใกล้ๆ ด้วย เพื่อคอยสังเกตอาการ ซึ่งสามารถให้ผู้สูงอายุทำท่ากายภาพตามท่าต่างๆ ดังนี้1.ท่าบริหาร(สาย)ตาและกล้ามเนื้อคอ
-
- มองขึ้น-ลงอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง
- มองไปทางซ้าย มองไปทางขวา อย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง
- มองจ้องที่วัตถุเดิม พร้อมกับหันศีรษะจากด้านซ้ายไปขวาหรือจากด้านขวาไปซ้าย แล้วสลับไปมาโดยเริ่มอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง
- ยกนิ้วชี้ขึ้นโดยให้ตามองที่ปลายนิ้วชี้ของตัวเอง ค่อยๆ เลื่อนนิ้วเข้าหาตัวจนห่างประมาณ 1 ฟุต แล้วเลื่อนถอยกลับที่เดิม ทำซ้ำจนครบ 20 ครั้ง
2.ท่าบริหารศีรษะ
-
- หลับตา ก้มศีรษะเหมือนการคำนับ หลังจากนั้นค่อยๆ เงยหน้าขึ้นจนตั้งตรง แล้วแหงนต่อไปทางด้านหลังอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง
- หันศีรษะไปทางด้านซ้าย มองตรง และหันไปทางด้านขวา สลับไปมาอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง
3.ท่าบริหารการทรงตัว(การยืน)
-
- เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืนอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง จากนั้นให้หลับตาแล้วเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่ายืนเหมือนเดิมอีก 20 ครั้ง
- เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน…หมุนตัวไปทางขวาแล้วนั่งลง จากนั้นเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน…หมุนตัวไปทางซ้ายแล้วนั่งลง ทำซ้ำต่อเนื่องจนครบ 10 ครั้ง
4.ท่าบริหารการทรงตัว(การเคลื่อนไหว)
-
- เดินจากผนังด้านหนึ่งของห้องไปยังอีกด้านหนึ่งโดยลืมตา ประมาณ 10 ครั้ง หลังจากนั้นให้หลับตาแล้วเดินจากผนังด้านหนึ่งของห้องไปยังอีกด้านหนึ่ง ประมาณ 10 ครั้ง
- เล่นกีฬาเบาๆ ที่ชอบ อย่างเช่น การเลี้ยงลูกบาส การโยนลูกบอลไปกลับ หรือกีฬาที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของศีรษะ ตา และลำตัว ก็สามารถช่วยปรับระบบการทรงตัวให้ดีขึ้นได้
5.ท่าบริหารบรรเทาอาการเวียนหัว
-
-
กรณีผู้ป่วยรู้สึกเวียนหัวเมื่อนอนตะแคง
-
ท่าบริหาร คือ ให้นั่งบนเตียง ค่อยๆ โยกตัวให้หูข้างซ้ายแตะกับเตียงนอน นับ 1-20 แล้วลุกขึ้นนั่งตัวตรง หลังจากนั้นโยกตัวให้หูข้างขวาแตะกับเตียงนอน นับ 1-20 แล้วลุกขึ้นนั่งตัวตรง สลับข้างไปมาจนครบ 10 ครั้ง (แนะนำให้ทำตอนเช้า 10 ครั้ง และตอนเย็นอีก 10 ครั้ง)
-
-
กรณีผู้ป่วยรู้สึกเวียนหัวเมื่อนอนหงายหรือเงยศีรษะ
-
ท่าบริหาร คือ ให้นั่งบนเก้าอี้ ยืดตัวตรง ค่อยๆ ก้มหน้าลงให้จมูกแตะหัวเข่า ค้างไว้แล้วนับ 1-20 แล้วยืดตัวขึ้นหลังตรง พร้อมกับเอียงคอให้หูแตะหัวไหล่ ทำสลับข้างไปมา โดยค้างในแต่ละท่าประมาณ 10-20 วินาที (ในช่วงแรกๆ อาจจะยังมีอาการวิงเวียน แต่เมื่อทำซ้ำหลายๆ ครั้ง อาการจะลดลง) อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สูงวัยมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนขณะกำลังทำกิจกรรมต่างๆ ควรหยุดแล้วนั่งพัก เพราะหากฝืนไม่หยุดพักอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ กรณีมีอาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุนมากๆ ควรนอนราบบนพื้นที่ไม่มีการเคลื่อนไหวและมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่งจนอาการทุเลาลงจึงค่อยๆ ลุกขึ้น ถ้ายังรู้สึกง่วงหรือเพลียก็ควรนอนหลับพักผ่อน เพราะหลังตื่นนอนอาการมักจะดีขึ้น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เช่น การหมุนหรือหันศีรษะไวๆ การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้ม เงยคอ หรือหันอย่างเต็มที่ ความเครียด ความวิตกกังวล การอดนอน งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ เป็นต้น รวมถึงเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ ——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม
ทำไมต้องเลือก Newton Em Clinic
Newton Em Clinic เป็นคลินิกกายภาพที่มุ่งเน้นการบริการทางด้านกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ออฟฟิศซินโดรม และอาการปวดตามส่วนต่างๆ เช่น หลัง บ่า เข่า และข้อ เป็นต้น ด้วยบริการต่างๆ ดังนี้ กายภาพบำบัดทั่วไป กายภาพบำบัดหลังผ่าตัด การรักษาอาการบาดเจ็บทางกีฬา นวดการกีฬา โปรแกรมยืดกล้ามเนื้อ โปรแกรมเตรียมความพร้อมให้กับนักกีฬาก่อนแข่ง โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังแข่ง การตรวจโครงสร้างทางร่างกาย โปรแกรมออกกำลังกายในน้ำ โปรแกรมออกกำลังกายรักษาอาการปวด พิลาทิส รับปรึกษาแผนการพัฒนาความคิดและพฤติกรรมสำหรับเด็ก และกายภาพบำบัดในท่อน้ำนมอุดตันสำหรับหญิงหลังคลอด ซึ่งเรามีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายตามมาตรฐานด้วยเทคนิคเฉพาะทาง การดูแล และให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ เพราะเรามีทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์โดยตรง เหมาะสำหรับกลุ่มนักกีฬา ผู้ที่ออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะจำเป็นที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดเช่น สมองพิการในเด็ก คุณแม่หลังคลอด และผู้สูงอายุ ปัจจุบันเรามีคลินิกที่พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา โดยแต่ละสาขาจะมีการให้บริการ การรักษาขั้นพื้นฐานที่เหมือนกัน และยังมีการให้บริการที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางของแต่ละสาขา โดยนักกายภาพที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมเฉพาะด้านเพื่อผลิตผู้รักษาให้ตรงตามอาการของผู้ป่วยทุกคน คลินิก Newton Em พร้อมให้บริการจำนวน 4 สาขา
- สาขาลาดพร้าว เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาราชดำริ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขาทองหล่อ เบอร์โทร 099-553-9445
- สาขากาญจนาภิเษก เบอร์โทร 099-553-9445, 083-559-5954
.เวลาทำการ: วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 10:00 น. – 19:00 น.
ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามเพิ่มเติม
Tel: 099-553-9445
ปรึกษา หรือ ติดตามความรู้สุขภาพอื่นๆได้ตามช่องทางด้านล่าง