“การเคลื่อนไหวผิดปกติ” 5 โรคนี้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวระยะยาว
“การเคลื่อนไหวผิดปกติ” เป็นปัญหาที่ค่อนข้างน่ากลัวมากทีเดียวสำหรับเรา เนื่องจากชีวิตของมนุษย์เรานั้นต้องติดอยู่กับการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ดังนั้น หากร่างกายของเราเกิดโรคหรือได้รับอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุก็อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นั่นคือสัญญาณฉุกเฉินของร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจส่งผลเสียต่อชีวิตในระยะยาว อีกทั้งความเสื่อมของร่างกายที่เกิดขึ้นได้ก่อนกำหนด
การเคลื่อนไหวผิดปกติ เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ปกติแล้วการเคลื่อนไหวของร่างกายจะเกิดขึ้นได้ด้วยการประสานการทำงานของศูนย์ต่างๆ ภายในสมอง ซึ่ง “โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติ” ก็เกิดจากความผิดพลาดของการควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นกลุ่มของอาการที่กระทบต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมร่างกายตนเองได้ตามปกติ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ส่วนอาการที่แสดงออกมานั้นก็จะขึ้นอยู่กับว่า เกิดจากความบกพร่องของสมองส่วนใดและมีหน้าที่ควบคุมร่างกายส่วนใด
“การใช้งาน” คือ หนึ่งปัจจัยหลักกระตุ้นความผิดปกติ
ถ้าเปรียบเทียบมนุษย์กับหุ่นยนต์แล้ว ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นประสาทของมนุษย์ ก็เหมือนกับฟันเฟืองและสายไฟต่างๆ ของหุ่นยนต์ ที่ทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวได้เป็นปกติ แต่เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ ฟันเฟืองและสายไฟต่างๆ ก็อาจเกิดการชำรุดสึกหรอขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวได้ไม่เป็นปกติ เช่นเดียวกัน ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นประสาทของมนุษย์ เมื่อถูกใช้งานไปนานๆ ก็อาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายไม่เป็นปกติ
5 โรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในระยะยาว
ร่างกายคนเรามีความสามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองได้ยามที่มีการบาดเจ็บ หรือมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อร่างกายเกิดขึ้น ทำให้หลายคนเมื่อมีอาการของโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติเกิดขึ้นมา ก็มักจะหายไปได้เอง โดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ แต่ในบางครั้ง ความผิดปกติของเนื้อเยื่อร่างกายเหล่านี้ ก็มีมากเกินกว่าที่ร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองได้ จึงทำให้โรคไม่หายไปเอง ในกรณีนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ต่อไป ซึ่งโรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ประกอบด้วย 5 โรค ดังนี้
0 1 โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ Stroke ปัจจุบันพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัด หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็น Stroke มาก่อน อาการเริ่มต้นคือ หน้าหรือปากเบี้ยว มุมปากตก ชาครึ่งซีก แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ออก ปวดศีรษะเฉียบพลัน เวียนศีรษะ เดินเซ ตาพร่า เมื่อเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบพบแพทย์ภายใน 3 ชั่วโมงเพื่อรับการรักษาทันที สำหรับการป้องกันก่อนเกิด Stroke นั้น ควรรับการตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดคอ (Carotid Duplex) เพื่อตรวจหาภาวะการตีบตันของหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองเป็นประจำทุกปี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
0 2 โรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากการขาดสารโดพามีน พบมากในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาจพบในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่ หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ แต่หากปล่อยไว้จนเกิดความรุนแรงมากขึ้นจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวยาก โรคนี้สามารถควบคุมอาการได้ โดยการตรวจ PET Brain F-DOPA หาความผิดปกติของสมองส่วนที่สร้างสารโดพามีน เพื่อวินิจฉัยระยะความรุนแรงของโรค หรือการผ่าตัดฝังไมโครชิปกระตุ้นสมองส่วนลึก DBS Therapy เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหว ลดการใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
0 3 หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หลายคนคงเคยทรมานกับอาการปวดหลังร้าวลงขาไปถึงน่องหรือหลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง บางคนเจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชาหลังเล่นกีฬาแล้วเข้าใจผิดคิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ แต่เมื่อตรวจอย่างละเอียดด้วย MRI แล้วพบว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท แพทย์จะแนะนำให้ทานยา ทำกายภาพ หรือลดอาการปวดโดยไม่ผ่าตัด “อินเตอร์เวนชั่น” วิธีนี้ลดการทานยาแก้ปวด โดยฉีดยาลดการอักเสบเข้าช่องเส้นประสาทเฉพาะจุด ลดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท ใช้รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจากความเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้ ทำให้ลดโอกาสการถูกผ่าตัดลงได้ นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดที่พัฒนา “กระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก บาดเจ็บน้อย (MIS)” ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ ลดความเสี่ยงของการผ่าตัดบางประการลงได้ เช่น อัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดต่ำ เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยลง
0 4 โรคปวดศีรษะไมเกรน
พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการปวดตุ๊บ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ปวดข้างเดียวที่หน้าผาก ขมับท้ายทอย คลื่นไส้อาเจียน ไวต่อเสียงและแสง คือ อาการนำของปวดศีรษะไมเกรน ต่างจากปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวที่จะปวดทั้งสองข้างเหมือนถูกรัดบีบหัว หลายคนมักคิดว่าทานยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย จึงรักษาไม่ถูกชนิดของโรค หากปวดมาก เรามีตัวช่วยด้วยการรักษาอาการปวดศีรษะแบบเชิงป้องกัน ฝึกผ่อนคลายลดเครียดกับ Biofeedback กายภาพบำบัดลดปวดด้วย Laser Therapy Posture Analysis ปรับสมดุลกล้ามเนื้อคอบ่าหลังให้ถูกวิธี เครื่อง TMS กระตุ้นกระแสไฟฟ้าลดปวด ฉีดยาระงับปวดที่เส้นประสาทหลังศีรษะ ลดการกลับมาปวดซ้ำใน 24 ชั่วโมง หรือฝังเข็มแพทย์แผนจีนกระตุ้นการไหลเวียนลดความถี่ของอาการปวดได้
0 5 โรคนอนกรน
เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะเสียงกรนขณะหลับ อาการสะดุ้งตื่นตอนดึก ขาขยุกขยิก อ่อนเพลีย ปวดหัวเมื่อตื่น ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ส่งผลให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจำแย่ ตื่นสาย นอนหลับในขณะขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้ อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับได้ นอกจากนั้นจะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตในปอดสูง โรคหลอดเลือดในสมอง อย่าลืมว่าคนที่อ้วนมาก ๆ จะนอนกรนทุกคน แต่คนผอม ๆ ก็มีโอกาสนอนกรนได้เช่นกัน หากมีความผิดปกติของการนอนหลับควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนเพื่อรับการตรวจการนอนหลับด้วยเครื่อง Sleep Lab
แนวทางการรักษาโรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว
การรักษาการเคลื่อนไหวผิดปกติแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รักษาโรคอันเป็นสาเหตุของความผิดปกติ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่รักษาให้หายขาดได้ และกลุ่มที่ต้องรักษาด้วยวิธีประคองอาการ และการรักษาตามอาการ
1.สำหรับการรักษาที่โรค
จะเริ่มต้นด้วยการใช้ยาร่วมกับทำกายภาพบำบัด โดยในผู้ป่วยพาร์กินสันจะให้ยาที่ส่งผลต่อการเพิ่มสารโดปามีนในสมองให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการปรับขนาดยาให้เหมาะสมตามอาการเพื่อลดผลข้างเคียงจากยา
2.ส่วนการกายภาพบำบัด
จะช่วยให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ด้วยการเสริมสร้างการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องเหมาะสมกับร่างกายแต่ละส่วน และบริหารร่างกายเฉพาะส่วนเพื่อแก้ไขความผิดปกติต่างๆ
3. การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก
เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีนี้สามารถควบคุมอาการของโรคได้อย่างต่อเนื่อง และสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยการกินยามาแล้วเป็นเวลานาน การออกฤทธิ์ของยาจะมีผลสั้นลง วิธีการนี้จึงเหมาะสมกับผู้ป่วยที่เคยรักษาด้วยยาได้ผล แต่มาถึงจุดที่การออกฤทธิ์ของยาสั้นลง จนเหลือเพียง 2-3 ชั่วโมง หรือมีผลข้างเคียงจากยามาก
4.ส่วนในกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติเฉพาะส่วน
สามารถทำการรักษาโดยการฉีดยาเพื่อควบคุมอาการเฉพาะจุด ซึ่งจะออกฤทธิ์สกัดกั้นการส่งผ่านกระแสประสาทบริเวณกล้ามเนื้อด้วยการลดการหลั่งสารอะเซติลโคลีน ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง ช่วยระงับความเจ็บปวด และลดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ จึงควบคุมอาการบิดเกร็ง การสั่น และกระตุกเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งของผู้ป่วยได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาพเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่และสามารถทำกิจกรรมที่ชื่นชอบอย่างมีความสุขได้นานยิ่งขึ้นนั้นทำได้ไม่ยาก นอกจากการทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ เพราะการรู้ก่อนเราย่อมสามารถป้องกันหรือชะลอโรคต่าง ๆ ได้ หากพบความผิดปกติของร่างกายก็อย่าชะล่าใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างมีความสุข มีอิสระทุกการเคลื่อนไหว
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กายภาพบำบัด นักกีฬา เคล็ดลับการฟื้นตัวให้ลงสนามได้ไว
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “วิ่งแล้วเจ็บข้างเท้าด้านใน” อาการที่ไม่น่าวางใจสำหรับนักกีฬา