กายภาพบำบัด คืออะไร? แบบไหนที่เหมาะกับคุณ
“กายภาพบำบัด” หากพูดถึงคำคำนี้หลายๆ คนคงมองว่าการทำกายบริหารเช่นนี้ถูกจำกัดไว้กับกับผู้สูงอายุหรือผู้ติดเตียงเท่านั้น หากแต่ความเชื่อนั้นผิดถนัดเพราะแท้จริงแล้วการทำกายภาพสามารถทำได้กับคนทุกๆ วัยและในหลายๆ อาชีพอีกด้วย เช่น นักกีฬา ที่ต้องทำกายภาพทั้งก่อนและหลังแข่งขันเพราะต้องเตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย รวมไปถึง อาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานนานๆ ของวัยทำงานหรือที่เรารู้จักกันในนาม “ออฟฟิศซินโดรม” นั่นเอง
กายภาพบำบัดคืออะไร?
การทำกายภาพ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Physical therapy เป็นวิธีทำกายบริหารต่างๆ เพื่อการฟื้นฟูและช่วยเสริมความสามารถในการใช้ร่างกายและการเคลื่อนไหวให้ดีมากขึ้น โดยมีเทคนิคในการทำกายภาพหลายประเภท เช่น การดึง การนวด การประคบ และการทำกายบริหารง่ายๆ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จะเข้ารับการทำกายภาพจะถูกใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไป
วิธีการทำกายภาพบำบัดมีกี่แบบ และมีแบบไหนบ้าง
จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า การทำกายภาพ นั้นมีหลายเทคนิคและหลายวิธี มีหลายเครื่องมือและหลายตัวช่วยที่ใช้ในการรักษา ตั้งแต่แบบทั่วไป เช่น แผ่นประคบร้อน-เย็น ที่คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เองจนกระทั่งการใช้เทคนิคไฟฟ้าและเลเซอร์รักษา โดยเครื่องมือดังกล่าวก็จะถูกใช้ในทางที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประเภทในการทำกายภาพก็เช่นกันที่ถูกแบ่งออกเป็นหลายแบบ ดังนี้
-
กายภาพสำหรับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
-
กายภาพสำหรับระบบประสาท
-
กายภาพสำหรับการกีฬา
-
กายภาพสำหรับระบบทรวงอกหลอดเลือดและหัวใจ
-
กายภาพสำหรับด้านอื่นๆ
การเข้ารับการรักษาโดยทำกายภาพบำบัด-มีขั้นตอนอย่างไร
โดยหลักๆ แล้วการเข้ารับการทำกายภาพจะมีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ เข้ารับการประเมิน และ เข้ารับการรักษา โดยมีรายละเอียดแบบพอสังเขป ดังนี้
-
เข้ารับการประเมิน
ในขั้นตอนนี้ผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการประเมินจากนักกายภาพเพื่อที่จะได้กำหนดแผนการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งอาจโดนประเมินในเรื่องของการเคลื่อนไหวต่างๆ การเดิน การเต้นของหัวใจ และต้องตอบคำถามที่เกี่ยวกับประวัติการรักษาหรือการทำกายภาพต่างๆ
-
เข้ารับการรักษา
หลังจากได้รับการประเมินแล้ว ผู้เข้าร้บการรักษาจะได้รับการรักษาตามแผนที่ถูกวางไว้ให้โดยทีมแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพ โดยการรักษาก็จะเริ่มตั้งแต่การทำกายบริหารง่ายๆ หรือบางคนอาจจะต้องใช้ตัวช่วย เช่น รักษาด้วยไฟฟ้า เลเซอร์ คลื่นอัลตราซาวน์ เป็นต้น
ใครบ้างที่เหมาะสำหรับการทำกายภาพบำบัด
แม้จะเป็นการทำกายบริหารที่หลายๆ คนมองว่าไว้ใช้รักษาผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่านอกจากบุคคลที่ถูกกล่าวมา มีผู้คนอีกหลายประเภทมากๆ ที่สามารถทำกายภาพได้ ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยหรือผู้สูงวัยเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ข้อ เอ็น กระดูก การเคลื่อนไหวหรือขยับตัวต่างๆ ให้กลับมาเป็นปกติหรือสามารถใช้ชีวิตได้อย่างดีขึ้น โดยการทำกายภาพนั้นมักจะเหมาะกับผู้ที่ประสบปัญหาอื่นๆดังต่อไปนี้ด้วย เช่น
-
ผู้ป่วยเด็กที่ต้องมีพัฒนาการสมองช้า หรือป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม
-
นักกีฬา (ก่อน-หลังแข่ง รวมถึงกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากการแข่ง)
-
หญิงหลังคลอด
-
บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุและผู้ใช้แขน-ขาเทียม
-
บุคคลทั่วไป ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ
- กล้ามเนื้อ ข้อ เอ็น และกระดูก
- ระบบประสาท
- ระบบหายใจและปอด
ซึ่งบุคคลในแต่ละแบบที่กล่าวมานั้นก็สามารถเลือกแบบรักษาที่เหมาะสมกับตนเองได้หรือหากไม่แน่ใจก็สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญตามคลินิคกายภาพทั่วไปได้เช่นกัน เพื่อการรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง
ประโยชน์ของการทำกายภาพบำบัด
จริงอยู่ที่จุดประสงค์หลักๆ ของการทำกายภาพนั้นคือการฟื้นฟูร่างกายให้ใช้งานได้ดีขึ้น แต่แท้จริงแล้วผู้ที่เข้ารับการทำกายบริหารเช่นนี้ยังได้รับประโยชน์อื่นๆ อีกมาก เช่น
-
บรรทาอาการปวด
-
ฟื้นฟูร่างกายที่บาดเจ็บและช่วยเสริมสร้างการใช้ร่างกายให้ดีขึ้น
-
มีส่วนช่วยในการลดโอกาสที่จะพิการและประคองอาการป่วยจากโรคเรื้อรัง
-
เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ทุกๆ ข้อที่กล่าวมาใครจะได้รับประโยชน์ข้อใดบ้างก็ขึ้นอยู่กับการเข้ารับการรักษาและเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกายภาพนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ดังนั้นจึงควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุด กายภาพบำบัด นั้นสามารถช่วยเราได้มากกว่าที่เราคิด เพียงแค่เริ่มศึกษาให้ลึกมากขึ้น ความเชื่อที่ว่ากายภาพมีไว้สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยเท่านั้นจะไม่มีอีกต่อไป
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน