ขั้น ตอน กายภาพบำบัด มีอะไรบ้าง สามารถทำด้วยตนเองได้ไหม?
ขั้น ตอน กายภาพบำบัด อีกขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยวิธีนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าการรักษาโรคด้วยการทำกายภาพฯ นั้น เป็นการฟื้นฟูร่างกายโดยไม่ใช้ยาหรือการผ่าตัดเข้าช่วย ดังนั้น ในขั้นตอนต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความสม่ำเสมอและความมีวินัยในการเข้ารับการรักษา อย่างไรก็ดี หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าขั้นตอนทางกายภาพบำบัดดังกล่าว มีส่วนไหนที่สำคัญบ้างและมีขั้นตอนใดที่สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือต้องเข้าพบนักกายภาพเท่านั้น ในบทความนี้เราจะมาศึกษาไปพร้อม ๆ กัน
ขั้น ตอน กายภาพบำบัด คืออะไร มีส่วนไหนที่ผู้ป่วยต้องให้ความสำคัญบ้าง?
เมื่อได้ยินคำว่า “กายภาพบำบัด” หลายคนอาจนึกถึงการรักษาอาการปวดหลังหรือการฟื้นฟูร่างกายหลังอาการบาดเจ็บเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วกายภาพบำบัดเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพอีกหลากหลายด้าน มาดูกันว่าวิธีรักษาทางกายภาพบำบัดที่นอกเหนือจากการนวดนั้นมีอะไรบ้าง นักกายภาพบำบัดมีหน้าที่อะไร และใครบ้างที่จะได้รับประโยชน์จากการทำกายภาพบำบัด
กายภาพบำบัด คืออะไร?
กายภาพบำบัด (Physical Therapy) คือ ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์พิเศษ เพื่อรักษาผู้ป่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวตามปกติได้มากที่สุด การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้บำบัดผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อตั้งแต่เกิด ผู้ใหญ่ที่เกิดอาการปวดขาแบบไซอาติกา (Sciatica) อันเนื่องมาจากกระดูกทับเส้น ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ผู้สูงอายุที่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง หรือผู้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายจากการป่วยหรือความบกพร่องทางร่างกาย
การทำกายภาพบำบัด ช่วยอะไรได้บ้าง?
ประโยชน์ของกายภาพบำบัดขึ้นอยู่กับเหตุผลในการรักษา ได้แก่ :
- การจัดการความเจ็บปวดโดยลดความต้องการยาแก้ปวด
- หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
- ปรับปรุงความคล่องตัวของร่างกาย และการเคลื่อนไหว
- การฟื้นตัวจากการบาดเจ็บ หรือเจ็บปวด
- รักษาอาการโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาต
- การป้องกันการหกล้ม
- ปรับปรุงสมดุลร่างกาย
- การจัดการปัญหาทางการแพทย์ที่เกิดจากอายุ
นักบำบัดด้านการกีฬาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้ป่วย จากการเสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และใช้กล้ามเนื้อในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดผลชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากความสามารถของทางทีมนักกายภาพแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญของการรักษาประเภทนี้คือความสม่ำเสมอในการเข้ารับการบำบัดของผู้ป่วยเองด้วย
กายภาพบำบัด เหมาะกับใครบ้าง?
บทบาทของกายภาพบำบัดไม่ได้จำกัดแค่การรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ การแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น
นักกายภาพบำบัดนั้นดูแลผู้ป่วยทุกช่วงวัยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ และเป็นการดูแลที่ครอบคลุมหลากหลายระบบในร่างกาย เช่น
ระบบกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ
เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดขา การป้องกันและรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุ หรือการทำงาน รวมถึงผู้ป่วยที่กระดูกหัก ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด และผู้ที่มีความพิการจากการสูญเสียอวัยวะ
ระบบประสาทและสมอง
เช่น ปัญหาการเคลื่อนไหวที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส โรคพาร์กินสัน ผู้ที่มีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด และผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง
ระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือด
เช่น โรคหัวใจ และการบำบัดรักษาหลังจากภาวะหัวใจวาย
ระบบทางเดินหายใจ
เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น
ขั้นตอนทางกายภาพบำบัดที่ผู้ป่วยต้องรู้
สำหรับขั้นตอนการทำกายภาพบำบัดนั้น จะเริ่มต้นด้วยวิธีคล้ายการตรวจโรคทั่วไป คือ การตรวจเพื่อประเมินทางร่างกายว่าผู้ป่วยท่านนั้น ๆ มีภาวะอาการเกิดมาจากอะไร เช่น หากเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ นักกายภาพบำบัดก็จำเป็นต้องทำการประเมินว่า Trigger Point อยู่จุดใดกันแน่ เนื่องจากในบางกรณีจุดที่ปวดไม่ใช่จุดกดเจ็บเสมอไป ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการประเมินจากทีมนักกายภาพเสียก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มเข้าสู่แผนการรักษาซึ่งจะถูกจัดทำขึ้นโดยนักกายภาพที่มีความเชี่ยวชาญในการทำกายภาพบำบัดแต่ละประเภท
อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่ต้องเน้นการเข้าประเมินร่างกาย มักเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาชีพที่มักมีการใช้งานซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอ บ่า มักพบว่ามีไหล่ห่อ คอยื่นและกระดูกสันหลังโค้งร่วมด้วย หากจำเป็นนักกายภาพบำบัดอาจจะต้องใช้ผล X-RAY หรือ MRI ประกอบการรักษาด้วย
ท้ายที่สุด การทำกายภาพบำบัด คือ การบริหารร่างกายในผู้ที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย หรืออวัยวะส่วนนั้น ๆ ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติหรือดีขึ้น โดยการรักษาเช่นนี้ต้องผ่านการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วเท่านั้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจะเป็นผู้ที่ประเมิน และกำหนดวิธีการรักษาร่างกายผู้ป่วยที่ผิดปกติต่าง ๆ เช่น การบาดเจ็บ ความพิการ โรค หรือภาวะต่าง ๆ ตามขั้นตอนที่ได้กล่าวไว้ ซึ่งผู้ป่วยต้องไม่ลืมด้วยว่าอีกสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากภาวะโรคได้คือความร่วมมือที่ต้องให้แก่ทีมนักกายภาพเสมอและคอยปรับพฤติกรรมร่วมด้วย เพราะจะช่วยให้อาการดีขึ้นตามที่คาดหวังได้
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- 5 เหตุผล ที่คนยุคใหม่ต้องไป “คลินิคกายภาพบำบัด” มากขึ้น
- โรคที่ต้องรักษาด้วยกายภาพบำบัด 5 โรคนี้ กายภาพช่วยได้
- กายภาพ ลดบุหรี่ ได้จริงหรือ นักกายภาพช่วยได้อย่างไรบ้าง?