ยืดน่อง ลดตึง – 3 ท่ายืด ลดอาการบวมตึงที่น่อง
ยืดน่อง ลดตึง เป็นอาการของคนที่เริ่มต้นวิ่งออกกำลังกายใหม่ ๆ คนที่วิ่งโดยไม่ได้วอร์มร่างกายก่อน หรือแม้กระทั่งคนที่วิ่ง หรือออกกำลังกายขาบ่อยๆ ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดตึงขาได้ โดยแม้จะดูเป็นอาการที่ไม่ได้รุนแรงอะไรมาก แต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากทีเดียว เนื่องจากผู้ที่กำลังประสบปัญหานี้จะไม่สามารถเดินได้ถนัดเหมือนเดิม อีกทั้งอาจเกิดอาการเรื้อรังหากปล่อยไว้นานๆ อีกด้วย
ยืดน่อง ลดตึง อาการบาดเจ็บที่บรรเทาด้วยตัวเองได้ง่ายๆ
ปวดน่องเป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณน่อง โดยแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป แต่โดยมากมักมีอาการปวดเมื่อย ปวดแปลบ ปวดร้าว หรือรู้สึกปวดตึงบริเวณด้านหลังของขาส่วนล่าง ทั้งนี้ สาเหตุอาจมาจากการได้รับบาดเจ็บจนทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ โรคเรื้อรังบางชนิด หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดิน วิ่ง กระโดดบนพื้นแข็งเป็นเวลานาน เป็นต้น
น่องตึง ปวดน่อง เกิดจาก…
อาการปวดน่องเส้นตึง เกิดได้จากหลายสาเหตุมากๆเลยครับ แต่ที่พบได้หลักๆ ได้แก่
ตะคริว
เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อน่องขึ้นมาทันที ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของตะคริวที่แน่ชัด แต่น่าจะเกิดจาก กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงพอที่จะใช้งานหนักๆ, กล้ามเนื้อล้าจากการใช้งานมาหนัก, การขาดสารอาหารบางอย่าง
ใช้งานกล้ามเนื้อหนัก
และนานเกินไป ทำให้เกิดกล้ามเนื้อล้า ไม่ว่าจะยืนทำงานนานๆ, เล่นกีฬาหนักๆ ต้องกระโดดบ่อยๆ, วิ่งระยะยาวกล้ามเนื้อบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดจากการเล่นกีฬาหนักๆ หรืออุบัติเหตุทำให้กล้ามเนื้อน่องฉีก
โครงสร้างเท้าผิดรูปบางอย่าง
ส่งผลให้กล้ามเนื้อน่องตึง ปวดน่องได้เช่นกัน เช่น
- เท้าแบน ไม่มีอุ้งเท้า ภาวะนี้พบร่วมกันน่องตึงได้บ่อยมากๆครับ
- เท้าโก่ง อุ้งเท้าสูง เอ็นและกล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้า เท้า และน่อง จะตึงตัวกว่าปกติครับ
- รองช้ำ เกิดจาก พังผืดฝ่าเท้าตึงตัว เอ็นร้อยหวายตึงตัว น่องตึงตัว ซึ่งมักจะมาพร้อมกัน และการรักษาต้องรักษาให้ครบ ไม่อย่างนั้นจะไม่หายขาด
ภาวะอื่นๆ
เช่น การขาดน้ำ ผลข้างเคียงจากยาบางตัว การขาดสารอาหาร โรคเส้นเลือดขอด โรคหลอดเลือดอุดตันที่ขา โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาทขา โรคเบาหวาน หรือกระดูกหน้าแข้งร้าว ก็ทำให้มีอาการปวดตึงน่องได้ ดังนั้นถ้าอาการเป็นมาก รักษาเบื้องต้นแล้วไม่ทุเลา แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจ
ลักษณะอาการปวดน่อง หรือ น่องมีอาการตึง
อาการปวดน่องจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดเมื่อย ปวดแปลบ ปวดตุบ ๆ บริเวณน่องข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นขณะนอนหลับในตอนกลางคืน วิ่ง หรือออกกำลังกาย นอกจากนี้ อาการปวดน่องอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะหากพบอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที
- น่องหรือขาบวม
- ขาและเท้าเริ่มซีดหรือเย็นผิดปกติ
- น่องมีอาการแดงและร้อนผิดปกติ
- กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
- รู้สึกเจ็บแปลบหรือชาบริเวณน่องและขา
- มีอาการกดเจ็บบริเวณน่อง
3 ท่ายืดลดอาการ น่องตึง ปวดน่อง
ผู้ที่มีอาการปวดน่อง หรือ น่องมีอาการตึง สามารถบรรเทาเบื้องต้นด้วยตนเอง ตามท่ายืด ดังต่อไปนี้
1. ท่ายืดเหยียดหน้าขา
พับเข่าด้านที่ต้องการยืดไปด้านหลังและใช้มือจับขาหรือข้อเท้า และค่อยๆดึงฝ่าเท้าเข้ามาให้ใกล้กับสะโพก โดยพยายามให้เข่าทั้งสองข้างชิดกัน จนรู้สึกตึงหน้าขา ทำค้างไว้และสลับข้าง
2. ท่ายืดเหยียดแฮมสตริง (Hamstring)
ยืดขาที่ต้องการยืดเหยียดไปด้านหน้า เอามือทั้งสองข้างเท้าสะโพกไว้ กระดกขาที่อยู่ด้านหน้าและค่อยก้มตัวลงจนรู้สึกตึงขา ระหว่างที่ก้มพยายามทำให้หลังตรงตลอดเวลา ทำค้างไว้และสลับข้าง
3. ท่ายืดเหยียดน่อง
ยืนหันหน้าเข้าผนัง ใช้แขนดันผนัง ก้าวขาเข้าหาผนังหนึ่งข้าง พร้อมงอเข่า และเหยียดขาด้านที่ต้องการยืดไปด้านหลังให้ตึงและออกแรงดันผนังไว้ เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง ทำค้างไว้และสลับข้าง อย่างไรก็ดี อาการปวดน่อง เส้นตึง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้งานหนัก กล้ามเนื้อล้า บาดเจ็บ หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของเท้าและข้อเท้าบางอย่าง ทำให้เส้นตึง และปวดน่องได้ การรักษาส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใช้งานให้เหมาะสม การยืดเหยียด และฝึกกล้ามเนื้อเป็นประจำ
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม