รักษากระดูกสันหลังคด ไม่ต้องผ่าตัด กายภาพบำบัด ช่วยได้!
รักษากระดูกสันหลังคด ไม่ต้องผ่าตัด ควรรักษาด้วยวิธีไหน? คำตอบก็คือ รักษาด้วยกายภาพบำบัด เป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ที่สุด เป็นเรื่องปกติที่หลาย ๆ คนที่ประสบปัญหากระดูกสันหลังคดจะเป็นกังวลกับการรักษาแบบผ่าตัด เนื่องจากอาจเป็นการผ่าตัดใหญ่และมีความซับซ้อนค่อนข้างสูง ดังนั้น อาจตามมาด้วยความเสี่ยงต่าง ๆ ก็เป็นได้ ดังนั้น กายภาพบำบัดรักษากระดูกสันหลังคด จึงเป็นแนวทางแรก ๆ ที่น่าสนใจ
รักษากระดูกสันหลังคด ไม่ต้องผ่าตัด รักษาด้วยกายภาพบำบัดด้วยวิธีไหนได้บ้าง?
กระดูกสันหลังนั้นมีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้สามารถตั้งตรงได้ ในคนปกติหากมองจากด้านหลังจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนวเส้นตรง แต่ในคนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดเมื่อมองจากด้านหลังจะเห็นแนวกระดูกโค้งไปทางซ้ายหรือขวา ไม่เป็นเส้นตรงเหมือนคนปกติ โรคกระดูกสันหลังคดเกิดได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10-15 ปี
โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ…
โรคกระดูกสันหลังคด หรือ scoliosis คือ ภาวะที่แนวกระดูกสันหลังที่ผิดรูปมีการคดโค้งออกไปด้านข้าง โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย เป็นกระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ (diopathic scoliosis) ซึ่งมักจะบในช่วงอายุระหว่าง 10- 15 ปี สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติ หรือเกิดร่วมกับโรคพันธุกรรมอื่นๆ เป็นต้น
สาเหตุของกระดูกสันหลังคด มีอะไรบ้าง?
กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ
- โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น
- โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากระดูกสันหลังคดหรือไม่?
ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแสดงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายและกระดูกสันหลัง แต่ความผิดปกติมักจะพบได้เมื่อเวลาก้มตัวหยิบของ เนื่องจากกระดูกสันหลังคดจะเห็นได้ชัดเจนเวลาก้ม โดยความผิดปกติได้แก่
- ระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน
- กระดูกไหปลาร้าต่างระดับกัน
- กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
- ร่องเอวทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
- กระดูกเชิงกรานทั้งสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
- ขายาวไม่เท่ากัน
เป็นต้น หากพบว่ามีความผิดปกติดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาให้ตรงจุด
โรคกระดูกสันหลังคด หากปล่อยไว้ไม่รักษา จะส่งผลอันตรายอย่างไร?
บางคนคิดว่ากระดูกสันหลังคด เป็นแค่ผิดลักษณะ เพียงแค่เสียบุคลิกภาพ ไม่ต้องพบแพทย์ก็ได้ ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร แสดงว่ายังไม่รู้จักกระดูกสันหลังคดเพียงพอสำหรับกระดูกสันหลังคด คือ ภาวะที่มีการบิดหมุนของกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวตรง หรือบิดเป็นตัว S หรือ C ซึ่งพบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่มารักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มีโอกาสที่จะทำให้ “คดมากขึ้น” และอาจส่งผลได้ในระยะยาว
- กระดูกสันหลังคดช่วงทรวงอก หากคดมากว่า 60 องศา จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงช่วงปอด เช่น จะทำให้เหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไป และจะคดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- กระดูกสันหลังคดช่วงเอว เมื่อความคดเพิ่มมากขึ้น หลังจะเบี้ยว ทำให้มีลักษณะตัวเอียงได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น ควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากวินิจฉัยได้เร็ว ตัดสินใจรักษาได้เร็ว ผลการรักษาก็ย่อมดีกว่า ยิ่งในเด็กด้วยแล้วหากปล่อยไว้ จะเสียทั้งบุคลิกภาพ สุขภาพจิตใจ ซึ่งการรักษาหากคดไม่มากจะรักษาด้วยการใส่เสื้อประคองเพื่อป้องกันไม่ให้คดมากขึ้น แต่หากคดมากและจำเป็นต้องผ่าตัดจริงๆ ก็มีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยแพทย์ให้ผ่าตัดได้อย่างปลอดภัย และผู้ป่วยเองก็กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ และไม่ต้องมากังวลกับความผิดรูปของกระดูกสันหลังอีกต่อไป
กายภาพบำบัดสำหรับฟื้นฟูกระดูกสันหลังคด
เมื่อพบภาวะกระดูกสันหลังคด การรักษาทางกายภาพบำบัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยชะลอการเพิ่มมุมการคดของกระดูกสันหลังได้ โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมิน วิเคราะห์ภาวะกระดูกสันหลังคด และออกแบบแนวทางการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
เครื่องมือกายภาพบำบัดที่สามารถช่วยปรับแนวกระดูกสันหลังที่คดอยู่ให้ดีขึ้น
นักกายภาพบำบัดจะตรวจภาวะกระดูกสันหลังเพื่อประเมินภาวะคดโค้งทั้งแนวกระดูกเพื่อวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล เพราะความคดโค้งของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป เครื่องมือดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องดึงคอและกระดูกสันหลังไฟฟ้า (Electrical Traction Therapy)
ช่วยยืดกล้ามเนื้อและลดการกดทับเส้นประสาทปรับแนวกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังให้อยู่ในแนวปกติ เพิ่มช่องว่างระหว่างแนวกระดูกสันหลัง
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator)
เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังทั้งสองด้านให้ลดการหดสั้นและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลังและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในมัดที่อ่อนแรง ปรับสมดุลของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดสะบัก ปวดหลังและสะโพกได้
ปากกาไฟฟ้า (Point stimulator)
ปากกาไฟฟ้าช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกของแนวกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอถึงส่วนหลัง ทั้งนี้อาจมีการสอนการจัดท่าในการใช้ชีวิตประจำวัน การนั่ง การนอน การทรงตัว การฝึกการหายใจให้ถูกต้องเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด เนื่องจากการออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าวคือวิธีที่เป็นแบบเฉพาะที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับแต่ละคน
การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง (Brace)
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูก หรือมีอาการกระดูกสันหลังคดในระดับปานกลางสวมเสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) ที่จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้เกิดความคดงอมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะโรคกระดูกสันหลังคด ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ ต้องอาศัยการสังเกต ตรวจคัดกรอง และหากตรวจยืนยันแล้วว่า มีกระดูกสันหลังคดควรรับการรักษาและติดตามอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากกระดูกสันหลังอาจคดมากขึ้น และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีและในเวลาที่เหมาะสม ก็สามารถกลับมาใกล้เคียงภาวะปกติได้
ท้ายที่สุดจะเห็นได้ว่ากระดูกสันหลังคดแม้จะเป็นปัญหาที่ไม่เล็ก แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลมากอีกต่อไปเพราะในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ดีขึ้นมากกว่าแต่ก่อน หากเราเข้าใจว่าโรคนี้เป็นอย่างไรและรักษาได้อย่างไร ก็จะวางใจได้มากยิ่งขึ้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร