ปวดข้อมือ นวดยังไง แชร์ทริคนวดบรรเทาอาการปวดที่ได้ผล
ปวดข้อมือ นวดยังไง? เชื่อได้ว่าเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนอยากทราบคำตอบ เนื่องจากอาการปวดข้อมือถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลาย ๆ คนกำลังประสบอยู่ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ประสบปัญหาต้องการหาวิธีบรรเทาให้อาการปวดหายไปเร็วที่สุด แต่นวดเท่าไหร่ก็นวดไม่หาย ซ้ำร้ายอาจทำให้อาการปวดหนักกว่าเดิม และเพื่อให้ทุกคนสามารถนวดได้อย่างถูกวิธีและได้ผลจริง ในบทความนี้ Newton Em Clinic จึงนำวิธีนวดข้อมือมาฝากกัน
ปวดข้อมือ นวดยังไง ให้ถูกต้องและปลอดภัย บรรเทาอาการได้จริง
ข้อมือ คือหนึ่งในอวัยวะที่ใช้งานสูงที่สุดในชีวิตประจำวัน ทุกกิจกรรมเรียกร้องการทำงานของข้อมือ และเนื่องจากข้อมือ เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้รอบทิศทาง ซึ่งส่วน สำคัญที่ช่วยพยุงข้อต่อข้อนี้ของเราไว้ก็คือ เอ็นและกระดูกรอบๆ ข้อมือ การใช้งานในชีวิตประจำวันซ้ำ ๆ สามารถทำให้เอ็นและกระดูกส่วนนี้ได้รับบาดเจ็บได้ แม้ไม่เคยได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากอุบัติเหตุ
อาการปวดข้อมือ ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพราะอาการเจ็บข้อมือเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นเราไม่ควรมองข้ามอาการเจ็บหรือปวดที่ข้อมือ เพราะวิธีการรักษาในแต่ละสาเหตุก็ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมากเช่นกัน
ปวดข้อมือ เกิดจาก…
การปวดข้อมือนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น…
- เกิดจากการใช้มือทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลาย ๆ ปี เช่น การพิมพ์ดีด การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์การห่อของในโรงงาน เป็นต้น
- จากอุบัติเหตุ ทำให้ข้อมือช้ำ กระดูดหัก ข้ออักเสบ
- จากโรคทั่วไปของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ เนื้องอกบริเวณข้อมือ เป็นต้น
ซึ่งนี่เป็นเพียงสาเหตุส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้อีก โดยหากจะทำการรักษาให้ตรงจุด ผู้ประสบปัญหาควรเข้ารับคำวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ลักษณะอาการของภาวะปวดข้อมือ
อาการเริ่มต้นมักจะเป็นน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เริ่มด้วยอาการปวดที่ข้อมือและมักจะปวดกลางคืนมากกว่ากลางวัน บางครั้งปวดจนตื่นกลางดึกต้องลุกขึ้นสะบัดมือสักพักแล้วค่อยทุเลา พอเป็นมากขึ้นจะมีอาการชาที่นิ้วมือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ทางด้านอุ้งมืออาจมีความรู้สึกเหมือนนิ้วหนาและหนักและกล้ามเนื้อฝ่อ ถ้าเป็นนาน 4 – 5 เดือน อาการมักจะเป็นตลอดเวลา
เมื่อเริ่มมีอาการปวดข้อมือควรทำอย่างไร
อาการเจ็บข้อมือที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่จะค่อยๆ มีอาการ โดยเริ่มต้นจะรู้สึกเจ็บเมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการมักเป็นมากช่วงเช้า
- เมื่อเริ่มรู้สึกว่ามีอาการ ควรจะลดการใช้งานในท่าที่ทำให้เจ็บ
- การประคบอุ่นเบื้องต้น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้
- ถ้าหากว่าอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง เพราะอาการเจ็บปวดของเส้นเอ็นข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรังจะยิ่งยากต่อการรักษามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บปวดข้อมือ ที่ทำให้เคลื่อนไหวข้อมือไม่ได้ มีความเจ็บปวดมาก มีอาการชาตลอดเวลา มีอาการบวมมากขึ้น รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ อย่างไข้สูง หรือแดง ร้อน ผิดสังเกต ควรรีบพบแพทย์ โดยไม่ต้องรอดูอาการ
นวดสลายพังผืด และจุด Trigger point บรรเทาอาการปวดข้อมือ
ในขั้นตอนนี้จะเน้นการสลายพังผืดและจุด trigger point ที่ฝังตัวอยู่ในมัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ที่ขัดขวางไม่ให้เลือดนำพาสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงได้สะดวก ทำให้เกิดอาการอักเสบ อาการชา อาการแสบร้อน ในบริเวณต่างๆ เช่น เอ็นข้อศอก เอ็นฝ่ามือ ปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เอ็นร้อยหวาย ส้นเท้า เป็นต้น ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อ่อนแอจากพังผืดกลับมายืดหยุ่นได้ดี และแข็งแรงอีกครั้ง โดยนอกจากนี้ จะมีการสลายพังผืดที่เกาะอยู่ตามข้อต่อต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการข้อเสื่อมสภาพ และเกิดอาการปวด บวม อักเสบ ในบริเวณต่างๆ เช่น ข้อศอก ข้อเท้า ตาตุ่ม ข้อนิ้วมือ เป็นต้น
สรุป
การ นวดแก้อาการ ด้วยการสลายพังผืดและสลายจุด trigger point นี้ จะเป็นการกำจัดปัญหาจากต้นเหตุอย่างแท้จริง เพราะเมื่อพังผืดถูกสลายออกจนหมดแล้ว กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ จะกลับมามีสุขภาพที่ดีดังเดิม ไม่หดเกร็ง ไม่ยึดรั้ง
เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณที่มีปัญหาคลายตัวกลับสู่สภาพปกติ เส้นประสาทจะกลับไปทำงานได้ปกติ และเลือดสามารถนำสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้เต็มที่อีกครั้ง อาการปวด อาการอักเสบ รวมถึงอาการผิดปกติต่างๆ จะหายไป และไม่กลับมาอีก เพราะต้นเหตุถูกกำจัดออกไปอย่างถาวร
——————————-
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร