ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด ช่วยได้ไหม รักษาที่ไหนดี?
ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด รักษาได้ไหม ซึ่งต้องตอบเลยว่า นอกจากกายภาพบำบัดจะสามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมได้แล้ว ก็ยังเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกในปัจจุบันอีกด้วย เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดนั้นเป็นการรักษาที่เน้นฟื้นฟูจากตัวต้นเหตุของอาการและสามารถทำให้หายได้จริงโดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดที่หลาย ๆ คนเป็นกังวลสำหรับการพักฟื้น ทั้งนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความไว้ใจคือการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัดมีผู้เชี่ยวชาญแบบเฉพาะทางที่คอยประเมินอาการอย่างใกล้ชิดด้วยนั่นเอง
ออฟฟิศซินโดรม กายภาพบําบัด รักษาด้วยวิธีไหน สามารถใช้เครื่องมือชนิดไหนได้บ้าง?
โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ดูจะเป็นโรคที่คนยุคใหม่เป็นกันมากพอสมควร ด้วยพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ซึ่งพฤติกรรมของคนในสมัยก่อนในการทำงาน มักจะเป็นอาชีพที่ต้องมีการใช้กำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ แต่ในสมัยนี้ ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพที่นั่งทำงานหน้าจอมากขึ้นอาจจะนื่องด้วยพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ทำงานผ่านออนไลน์ และรวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ต้องอยู่บ้านมากขึ้น จึงทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคยอดฮิตของคนในยุคนี้นั่นเอง
ออฟฟิศชินโดรม เกิดจาก…
สาเหตุของ “ออฟฟิศชินโดรม” เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งช้ำ ๆเป็นเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่อง แล้วยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นได้ เช่น
- สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่เหมาะกับโครงสร้างของร่างกาย เป็นตัน
- สภาพร่างกายอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนที่ไม่เพียง การได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น
อาการออฟฟิศชินโดรมที่มักพบในผู้ป่วย
อาการออฟฟิศชินโดรม สามารถแบ่งลักษณะอาการปวดได้ทั้งหมด 3 ลักษณะ ดังนี้
1. การปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
เช่น คอ น่า ไหล่ สะบัก มักมีอาการปวดเป็นบริเวณว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวทั่วไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย มีลักษณะอาการปวดล้าๆ ความรุนแรงมิได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยเพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก
2. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ
ซึ่งพบร่วมได้ เช่น ช่า วูง เย็น เหน็น ชีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึน งง หูอื้อ ตาพร่า
3. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ
เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป
การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย “เครื่องมือทางกายภาพบำบัด”
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยศาสตร์ทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการใช้เครื่องมือทันสมัย เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีประสิทธิภาพสูง โดยทีมนักกายภาพบำบัดมืออาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ เพื่อรักษาผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ พร้อมทั้งช่วยปรับโครงสร้างร่างกายในส่วนที่มีปัญหา ให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ โดยมีโปรแกรมหลากหลายให้เลือกตามความเหมาะสมกับปัญหาและอาการของแต่ละท่าน
ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวก็มีหลากหลายด้วยกัน ซึ่งก็จะถูกนำมาใช้ให้เหมาะสมตามระดับอาการของแต่ละท่านตามที่กล่าวไปข้างต้น ยกตัวอย่างเครื่องมือ เช่น
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrotherapy)
กระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการหดตัว ชะลอการลีบเล็กของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนและลดบวมจากการหดตัวเป็นจังหวะของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
เครื่องช็อคเวฟ (ShockWave Therapy)
การรักษาด้วยคลื่นกระแทก เหมาะสำหรับการรักษาผู้ที่มีอาการปวดออฟฟิศซินโดรม อาการอักเสบเรื้อรัง รักษามานานยังไม่หาย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ อาการปวดลดลง
เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy)
สำหรับลดอาการปวดออฟฟิศซินโดรม บวมอักเสบของระบบกล้ามเนื้อ ข้อ กระดูกและเส้นเอ็น
เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound therapy)
ลดปวด ลดการอักเสบและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดการยึดตรึงของข้อต่อ รักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อ เอ็นอักเสบ รวมทั้งออฟฟิศซินโดรม
อย่างไรก็ตาม เครื่่องมือดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาภาวะออฟฟิศซินโดรมด้วยกายภาพบำบัดเท่านั้น เพราะการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมถูกแบ่งออกได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการปวด การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ว่าเกิดจากสาเหตุใด มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ เพื่อให้แพทย์รักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคลด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร