ปวดกล้ามเนื้อ นวดได้ไหม นวดไปแล้วปวดกว่าเดิม จะอันตรายหรือเปล่า?
ปวดกล้ามเนื้อ นวดได้ไหม? เชื่อได้ว่าเป็นคำถามที่หลายคนเคยสงสัย โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานนาน ๆ ออกกำลังกายหนักเกินไป หรือแม้แต่การใช้ร่างกายผิดท่าจนเกิดอาการตึงเครียด หลายคนอาจมองว่าการนวดเป็นทางออกที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและบรรเทาความปวดเมื่อยได้ทันที แต่ในบางกรณี การนวดอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมเสมอไป แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรนวดหรือไม่? และมีวิธีอื่นใดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างปลอดภัย? Newton Em Clinic มีคำตอบมาฝาก
ปวดกล้ามเนื้อ นวดได้ไหม นวดยังไงไม่ให้อันตรายกว่าเดิม?
อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นเรื่องที่หลายคนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเกิดจากการทำงาน การออกกำลังกาย หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด หลายคนเชื่อว่าการนวดเป็นทางออกที่ช่วยบรรเทาความปวดได้ แต่ก็มีความกังวลว่านวดผิดวิธีอาจทำให้อาการแย่ลงแทน แล้วแบบนี้เราควรนวดหรือไม่? และถ้านวดได้ ควรนวดอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล? มาหาคำตอบกันในบทความนี้…
ปวดกล้ามเนื้อ เกิดจากอะไร?
อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬา คนทำงานออฟฟิศ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อโดยตรง อาการนี้อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเป็นเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นสาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้…..
- การใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป: การออกกำลังกายที่หนักเกินไป หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมากกว่าปกติ เช่น การยกของหนัก การทำงานที่ต้องใช้แรงเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบหรือฉีกขาดในระดับเล็ก ๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ เช่น…
- กล้ามเนื้อตึงตัวจากการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน: การนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการขยับเปลี่ยนท่า หรือการนอนผิดท่า อาจทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนเกิดอาการตึงตัวและส่งผลให้เกิดอาการปวด
- การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ: อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อโดยตรง เช่น การลื่นล้ม การกระแทก หรือการบิดหมุนตัวอย่างรวดเร็ว อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดและเกิดอาการปวดอย่างรุนแรง
- ความเครียดและความวิตกกังวล: ภาวะความเครียดทางอารมณ์สามารถทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ ซึ่งมักเป็นจุดที่เกิดอาการปวดจากความเครียดได้บ่อย
- การติดเชื้อหรือภาวะอักเสบในร่างกาย: โรคบางชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคติดเชื้ออื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย นอกจากนี้ โรคเกี่ยวกับข้อและกล้ามเนื้อ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้
- ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย: เมื่อร่างกายขาดน้ำหรือมีระดับเกลือแร่ไม่สมดุล เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม หรือแคลเซียมต่ำ อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดตะคริวและอาการปวดกล้ามเนื้อได้
อย่างไรก็ตาม การดูแลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการบาดเจ็บ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นในระยะยาวได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงก่อน หลังจากนั้นจึงเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมกับตนเองต่อไป
ปวดกล้ามเนื้อ นวดได้หรือไหม ทำไมจึงต้องนวด?
เนื่องจาก “การนวด” เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากอาการปวดเกิดจากการใช้งานหนัก การตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือความเครียดสะสม การนวดสามารถช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดความเจ็บปวดได้จากกลไกทางธรรมชาติ ดังนี้…
- ช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ: เมื่อกล้ามเนื้อเกิดอาการตึงหรือเกร็ง การนวดจะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความแข็งตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อที่ตึงเกร็ง
- กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต: การนวดช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นมากขึ้น ช่วยลดอาการปวดและช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
- ช่วยลดอาการอักเสบและกระตุ้นการฟื้นฟู: เมื่อกล้ามเนื้อได้รับแรงกดและการเคลื่อนไหวจากการนวด จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำเหลืองให้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ของเสียและสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบถูกกำจัดออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
- กระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins): สารเอ็นดอร์ฟินเป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยลดอาการปวดตามธรรมชาติ และทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- ช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย: การนวดไม่ได้ช่วยแค่ในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งมักเป็นปัจจัยที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวและปวดเมื่อย
แม้ว่าการนวดจะมีประโยชน์ต่ออาการปวดกล้ามเนื้อในหลายกรณี แต่ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน หากอาการปวดเกิดจากการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นอักเสบ หรือมีอาการบวมแดง ควรหลีกเลี่ยงการนวดและใช้วิธีประคบเย็นในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกแทน นอกจากนี้ หากมีอาการปวดเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจนวดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงซ่อนอยู่
4 “อาการระบมหลังการนวด” ที่ควรระวัง
อาการระบมหลังการนวดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ประกอบด้วย…
1.ผู้มารับการนวดมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว
คล้ายจะมีไข้ แล้วมานวด มีไข้ หรือมีไข้ต่ำๆแล้วมานวด หมอนวดจึงต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายค่าความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ และอัตราการหายใจการนวดเพื่อเป็นการคัดกรองโรคหรืออาการต้องห้ามนวดเพื่อลดความรุนแรงหลังการนวด
2.อาการอักเสบของร่างกายผู้ถูกนวด
คือ จะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เช่น อาการกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบเฉียบพลัน หรือในขณะที่มีอาการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกายไม่ควรนวดรุนแรง ควรใช้เพียงการการประคบเย็นใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการบาดเจ็บ และหลังจากนั้นควรใช้การประคบร้อนเพื่อลดอาการปวด ตึงของกเกินไปกล้ามเนื้อ
3.การกดนวด ด้วยน้ำหนักมือ แรงเกินไป
โดยผู้ถูกนวดสามารถแจ้งหมอนวดว่า แรงเกินไป มีอาการเจ็บจากการนวดในขณะที่กำลังนวด เพื่อที่หมอนวดจะได้ทราบว่าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจะได้ผ่อนน้ำหนักมือให้เบาลง
4.อาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ
เป็นการนวดรักษาลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อมักจะพบอาการระบมหลังการนวดได้ง่ายกว่าการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และมักพบบ่อยในผู้ที่มารับการนวดเป็นการนวดครั้งแรก หรือห่างหายจากการนวดมานาน กล้ามเนื้อไม่คุ้นชินกับการนวด เนื่องจากผู้รับการนวดแต่ละคน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่เท่ากัน ดังนั้น หมอนวดควรต้องประเมินกล้ามเนื้อของผู้ถูกนวด ว่าควรใช้น้ำหนักมือลงแรงกด หรือควรเลือกการกดนวดแบบไหนที่เหมาะสมแก่ผู้มารับบริการการนวดแต่ละรายต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว อาการไม่พึงประสงค์หลังการนวดที่พบบ่อย ได้ อาการกล้ามเนื้อระบมหลังการนวด มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้หลังการนวด รู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวไม่มีแรงหลังการนวด โดยปกติอาการพวกนี้สามารถเกิดขึ้นได้และหายได้เองภายใน1-2 วันหลังการนวด โดยไม่ต้องรับประทานยาบรรเทาปวด อาจใช้เพียงการประคบ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆประคบบริเวณที่ปวด และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการใช้งานกล้ามเนื้อ ลดการทำงานหนัก และหลีกเลี่ยงการตากแดดตากฝนตากลม เพื่อป้องกันการเป็นไข้ อาการก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากมีมีอาการรุนแรงและเป็นอยู่หลายวัน ควรรับประทานยาบรรเทาปวดได้ ถ้ายังไม่หายควรไปรับการปรึกษากับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด หรือควรทำการส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบันนั่นเอง
กายภาพบำบัดกล้ามเนื้อ แนวทางลดอาการปวด แก้ปัญหาการอักเสบ รักษาปัญหาอาการทางกล้ามเนื้อเรื้อรัง
การทำกายภาพบำบัด เป็นหนึ่งในเทคนิคฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันการทำกายภาพบำบัดมีด้วยกันหลายรูปแบบ สำหรับใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูแก่ผู้ป่วยหรือผู้พิการให้มีสุขภาพดี และสามารถกลับสู่สภาพปกติหรือใกล้เคียงปกติได้มากที่สุดตามศักยภาพของผู้ป่วย โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ช่วยในกายภาพบำบัตมีหลายประเภท ส่วนใหญ่สถานพยาบาลจะเลือกใช้ เครื่องอัลตร้าซาวน์และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า แต่การทำงานมันแตกต่างกันอย่างไร มาดูไปพร้อม ๆ กัน
ทำความรู้จัก “กายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อ” คืออะไร?
กายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อ (Orthopedic physical) หรือบางคนอาจเรียกชื่อตรงตัวว่ากายภาพบำบัดแบบออร์โธปิดิกส์ เป็นการกายภาพเพื่อรักษาหรือฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) ประกอบไปด้วย
- กล้ามเนื้อ
- กระดูก
- เอ็น และเส้นเอ็น
- พังผืด (Fascias)
- เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
โดยนักกายภาพบำบัดจะสามารถประเมินอาการของคุณ หรือทำงานร่วมกับแพทย์ที่รักษา เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ
กายภาพบำบัดทางกล้ามเนื้อ ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บได้อย่างไร?
กายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อ นั้น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด โดยกายภาพบำบัดจะช่วยลดความเจ็บปวด และเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด นอกจากนี้ กายภาพบำบัดยังช่วยให้รู้จักวิธีป้องกันการได้รับบาดเจ็บอันเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย ทั้งนี้ยังเป็นกระบวนการทางกายภาพที่ใช้การออกกำลังกายและเทคนิคอื่น ๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูและปรับปรุงสภาพร่างกายหรือสุขภาพของบุคคลที่มีปัญหาทางกายภาพ เช่น บาดเจ็บ อาการปวดเรื้อรัง การกายภาพบำบัดมุ่งเน้นที่การเพิ่มความแข็งแรง ความคล่องแคล่ว และความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติมากขึ้น
กายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อเหมาะกับใครบ้าง?
นักกายภาพบำบัดด้านกล้ามเนื้อ (Orthopedic physical therapists) สามารถให้การรักษาฟื้นฟูอาการที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันได้เกือบทุกประเภท ซึ่งผู้ที่เหมาะกับการทำกายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อ อาจมีดังต่อไปนี้
- ผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้จำกัด
- ผู้ที่มีอาการปวดหลัง
- ผู้ที่มีภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)
- ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อลีบ (Muscular dystrophy)
- ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- ผู้ที่เป็นโรครองช้ำ (Plantar fasciitis) หรือเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้า
- นักกีฬาที่ต้องการคำแนะนำการ และบริหารกล้ามเนื้ออย่างถูกต้อง
โดยนักกายภาพบำบัดที่ทำการรักษาตามจุดประสงค์ดังกล่าว ก็อาจมีความเชี่ยวชาญต่างกันออกไป เช่น นักกายภาพบำบัดที่ให้บริการผู้สูงอายุ นักกีฬา หรือผู้ป่วยโดยเฉพาะ
ท้ายที่สุด การทำกายภาพบำบัดมีด้วยกันหลากหลายเทคนิคที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับอาการของแต่ละคน ทั้งนี้ บทบาทของกายภาพบำบัดไม่ได้จำกัดแค่การรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วยหรือ อุบัติเหตุอย่างที่หลายคนคุ้นเคย แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ การแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม