ปวดกล้ามเนื้อ หลังออกกําลังกาย ต้องดูแลยังไงไม่ให้ปวดเรื้อรัง?
ปวดกล้ามเนื้อ หลังออกกําลังกาย นั้นถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งหลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง ต้องมีการวอร์มอัพ และคูลดาวน์ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย และคลายกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย หลายคนก็ทำตามอย่างดี ยืดเหยียดครบทุกท่าแล้ว แล้วทำไมเราถึงยังปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอยู่? เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าวเราจะมาดูคำตอบไปพร้อม ๆ กัน รวมถึงมาดูแนวทางการดูแลตนเองเพื่อไม่ให้อาการปวดนี้กลายเป็นภาวะเรื้อรัง
ปวดกล้ามเนื้อ หลังออกกําลังกาย เกิดจากอะไร ดูแลตนเองยังไงไม่ให้เกิดอาการปวดหนัก?
แม้บางครั้งการออกกำลังกายอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ แต่ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายก็เป็นการป้องกันการบาดเจ็บที่ดีเช่นกัน เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้ร่างกายมีความยืดหยุ่นและเกิดความเคยชิน การบาดเจ็บส่วนใหญ่ มักเกิดกับคนที่ฝืนออกกำลังกายเกินพอดีจนร่างกายทำงานผิดพลาด ฉะนั้น การออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสม่ำเสมอจึงสำคัญมาก
ออกกําลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อ เกิดจาก…
การออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อ คือ ภาวะกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด โดยเป็นอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเส้นใยที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือที่เรียกว่าเส้นเอ็น กล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดหรือยืดเหยียดมากจนเกินไป กล้ามเนื้อฉีกขาดที่เล็กน้อยมักจะดีขึ้นได้โดยการรักษาตัวที่บ้าน ในขณะที่การรักษากล้ามเนื้อฉีกขาดที่รุนแรงอาจต้องอาศัยยาบางชนิด การทำกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัดซ่อมแซม
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อฉีก
- นักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ต้องรับแรงปะทะ หรือต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำ ๆ เช่น นักฟุตบอล นักรักบี้ นักยกน้ำหนัก นักยิมนาสติก
- ผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายและกล้ามเนื้อยังปรับสภาพไม่ได้
- ผู้ที่ไม่ได้อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย หรือไม่ได้ยืดคลายกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม
กีฬา-การออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการทำให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด
ความเสี่ยงของกล้ามเนื้อฉีกขาดจะเพิ่มขึ้นในผู้ที่เล่นกีฬาที่มีการปะทะ เช่น ฟุตบอล ชกมวย และมวยปล้ำ กีฬาประเภทต่างๆอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อฉีกขาดในบริเวณที่แตกต่างกัน เช่น
- กีฬาที่มีการออกตัวและกระโดดอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ขาและข้อเท้า
- กีฬาที่มีการใช้มือคว้า อาจเพิ่มโอกาสในการบาดเจ็บที่มือ
- กีฬาที่มีการขว้างปา อาจทำให้ข้อศอกได้รับบาดเจ็บ
ลักษณะอาการ
ผู้ที่มีกล้ามเนื้อฉีกขาดอาจพบสัญญาณและอาการที่แตกต่างกันไปตามความรุนแรง เช่น
- กล้ามเนื้อกระตุก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดหรือแข็งกดเจ็บ
- การเคลื่อนไหวที่จำกัด
- รอยแดงหรือช้ำ
- บวม
ระดับความรุนแรงของการฉีกขาด
ความรุนแรงของการบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
- ระดับที่ 1: กล้ามเนื้อถูกยืด เกิดการฉีกขาดได้แต่น้อยมาก
- ระดับที่ 2: กล้ามเนื้อฉีกขาดปานกลาง ยังพอทำงานได้
- ระดับที่ 3: กล้ามเนื้อฉีกขาดเกือบหมดหรือจนหมด กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่สามารถขยับข้อต่อได้
- ระดับที่ 4: กล้ามเนื้อฉีกขาดออกจากกัน ส่งผลให้ ข้อหลวม รู้สึกเจ็บปวดมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ ความสามารถในการใช้งานลดลง ขึ้นลงบันไดไม่ได้ ซึ่งการบาดเจ็บระดับนี้ ส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ออกกําลังกายแล้วปวดตัว วิธีแก้ มีอะไรบ้าง?
โดยปกติอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถรักษาได้ที่บ้าน คุณอาจต้องดูแลตนเองทันทีด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
การพักผ่อน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่อาจทำให้เกิดหรือเพิ่มความเจ็บปวด บวม หรือไม่สบายตัว
การประคบเย็น
ปวดกล้ามเนื้อ หลังออกกําลังกาย ประคบเย็นโดยใช้ถุงน้ำแข็งหรือแผ่นความเย็นประคบบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บทันที เป็นเวลา 15-20 นาที ทุก ๆ สองถึงสามชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงสองถึงสามวันแรกของการบาดเจ็บ
การพันผ้ารัด
พันรัดบริเวณที่บาดเจ็บด้วยผ้าพันแผลที่ยืดหยุ่นเพื่อหยุดอาการบวม
การยกบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ
ยกบริเวณที่บาดเจ็บขึ้นเหนือระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการปวด และแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความแข็งแรงของข้อหรือแขนขาที่ได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดซ่อมแซมโดยเฉพาะในผู้ที่มีเส้นเอ็นฉีกขาด
การป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม และควรวอร์มร่างกาย ยืดคลายกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัด เดิมนาน ๆ ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม หรือสะดุด และไม่วางของที่พื้นเกะกะ
- จัดท่านั่ง และท่ายืนให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเกินไป
ท้ายที่สุด อาการกล้ามเนื้อฉีกหากอยู่ในระดับเบาจนถึงปานกลาง ก็สามารถรักษาและกล้ามเนื้อจะหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่หากอาการรุนแรง หรือคุณยังคงรู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน โดยที่อาการยังไม่ทุเลาลง คนไข้อาจต้องไปพบแพทย์และทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ รวมถึงการเคลื่อนไหวให้กลับมาเป็นปกติ และเมื่อหายดีแล้ว ก็ยังไม่ควรออกกำลังกายหรือออกแรงหนักจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อส่วนเดิมกลับมาบาดเจ็บซ้ำอีกนั่นเอง
คำถามที่พบบ่อย
ปวดกล้ามเนื้อ หลังจากออกกําลังกาย กี่วันหาย
หากอาการไม่รุนแรงสามารถหายได้ภายใน 48-72 ชั่วโมง แต่หากอาการไม่ทุเลาลงนานกว่านี้ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างละเอียดต่อไป
ปวดกล้ามเนื้อ หลังจากออกกําลังกาย กินยาอะไร
ยาแก้ปวดทั่วไป ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล สามารถลดอาการปวดได้ปานกลาง แต่เนื่องจากฤทธิ์ยาไม่รุนแรง หลังจากรับประทานมักจะยังมีอาการปวดอยู่ จึงมักใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่ออกฤทธิ์ได้เร็วและแรงกว่า
ปวดกล้ามเนื้อ หลังจากออกกําลังกาย นวดได้ไหม
สามารถนวดในระหว่างการใช้ยาทาได้ แต่ไม่ควรออกแรงในการนวดกดมากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ปวดหรือเจ็บมากกว่าได้
ออกกำลังกายแล้วปวดกล้ามเนื้อควรหยุด ไหม
ควรหยุดก่อน เนื่องจากกล้ามเนื้อในร่างกายจำเป็นต้องได้รับการพักอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้รับการซ่อมแซมได้อย่างเต็มที่
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม