นวดสลายพังผืด ได้ผลจริงไหม นวดแล้วกล้ามเนื้อจะเจ็บกว่าเดิมหรือเปล่า?
นวดสลายพังผืด แนวทางแก้ไขที่ผู้ประสบปัญหาอาการปวดหลาย ๆ คนกำลังสนใจ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งต้องบอกก่อนว่า คนไข้หลาย ๆ คนมาพบหมอ เพราะ อาการปวดเฉพาะที่บางตำแหน่ง ทั้ง คอ บ่า หรือ แขนขา คลำได้เป็นก้อน ซึ่งก้อนตรงกล้ามเนื้อเช่นนี้คือ พังผืด หรือ จุดกดเจ็บ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้คนไข้รู้สึกปวดกล้ามเนื้ออยู่เสมอ อีกทั้งในคนไข้บางราย ได้บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อด้วยการนวดที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งจะมีแนวทางในการนวดที่ถูกต้องอย่างไร มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน
นวดสลายพังผืด ช่วยได้จริงไหม นวดยังไงให้สลายพังผืดกล้ามเนื้อได้จริง?
กลุ่มอาการปวดพังผืด กล้ามเนื้อ (Myofascial Pain Syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดของกล้ามเนื้อลายและเยื่อพังผืด ซึ่งมีจุดปวดที่ไวต่อการกระตุ้น (Trigger point) ของกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบอาการปวดที่เฉพาะ และอาการปวดจะไม่กระจายไปตามเส้นประสาท หรือกล่าวได้ว่า ภายในกล้ามเนื้อแต่ละมัดนั้น จะมีจุดกดเจ็บ เมื่อใช้ปลายนิ้วกดคลำจะพบเป็นก้อนพังผืดแข็ง ๆ หรือตึงเป็นลำอยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ อาจเป็นทั้งสาเหตุหลัก หรือพบร่วมกับกลุ่มอาการปวดจากภาวะอื่น ๆ ก็ได้
พังผืดกล้ามเนื้อ คือ…
พังผืด (adhesions) คือ กลุ่มเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อซ่อมแซมอาการบาดเจ็บในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อในร่างกาย แต่ในหลาย ๆ ครั้งนั้น พังผืดที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น ไม่ได้ยึดเกาะแค่ในบริเวณที่บาดเจ็บ แต่ยึดเกาะลามไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในบริเวณรอบข้าง จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น เกิดอาการแข็ง ไม่ยืดหยุ่น และก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้แก่ อาการปวดเรื้อรัง, อาการตึงรั้ง และอาการชา เป็นต้น
นวดแก้อาการเพื่อสลายพังผืด ช่วยแก้ไขปัญหาอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างไร?
การนวดแก้อาการที่เน้นการสลายพังผืด และจุดยึดเกร็ง (Trigger point) เป็นหลักนั้น ทุก ๆ ครั้งที่ทำการรักษา พังผืดจะค่อย ๆ ถูกสลายออกไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่ง เมื่อพังผืดถูกสลายจนหมด กล้ามเนื้อ และข้อต่อบริเวณนั้นๆ จะกลับมามีสุขภาพดีดังเดิม มีความยืดหยุ่น อาการปวด ตึง ชา แสบร้อน อ่อนแรง หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ จะหายไปอย่างถาวร เนื่องจากต้นเหตุของปัญหา ได้ถูกกำจัดออกไปแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปเคลื่อนไหวได้ทุกอิริยาบถ โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ
วิธีการนวดสลาย จุดกดเจ็บ หรือ พังผืดกล้ามเนื้อ ที่ถูกต้อง
แพทย์เฉพาะทางกล้ามเนื้อสมัยใหม่บางกรณี ก็คุ้นเคยกับการรักษาที่ใช้การฉีดยาและผ่าตัดเพื่อที่จะแก้ปัญหา โดยมองข้ามไปว่าวิธีดังกล่าวเป็นการทำลายสมดุลในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไข้โดยไม่จำเป็น ข้อจำกัดของการกด จุดกดเจ็บก็มีหลายอย่างเหมือนกัน คือต้องทำโดยที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูง ไม่งั้นก็อาจเห็นผลไม่ชัดเจน หรือหาตำแหน่งของจุดกดเจ็บไม่เจอ และจากที่กล่าวไปว่าข้อจำกัดอีกอย่างคือ เจ็บ ซึ่งจะเจ็บมากเวลากด ซึ่งหากกดโดยวิธีที่ผิดอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้อีก
ดังนั้น วิธีการกดคือ ค่อยๆกดบริเวณกล้ามเนื้อเหนือจุดกดเจ็บ (ยังไม่ใช่จุดที่คนไข้เจ็บ)เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆคลายตัว มีเลือดมาเลี้ยงรอบๆก่อน จะได้ลดอาการปวดและพอเริ่มคลาย ก็จะเริ่มกดไปที่จุดปวดนั้นให้คลายตัว ให้เลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงจุดนั้นๆได้ หลังจากกดแล้ว ดื่มน้ำเยอะๆ นอนพักเนอะๆ เว้นซัก 2-3 วันเป็นอย่างน้อย ก่อนที่จะกดซ้ำสัก 3-4 ครั้ง จุด trigger point นี้ก็จะค่อยๆหายไปซึ่งการกินยา หรือ การนวด จะไม่ได้แก้ไขตรงจุดนี้ อย่างไรก็ดี สำคัญที่สุด คือ เมื่อรักษาหายแล้ว จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะในการทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอน ใช้คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
4 “อาการระบมหลังการนวด” ที่ควรระวัง
อาการระบมหลังการนวดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ประกอบด้วย…
1.ผู้มารับการนวดมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว
คล้ายจะมีไข้ แล้วมานวด มีไข้ หรือมีไข้ต่ำๆแล้วมานวด หมอนวดจึงต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายค่าความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ และอัตราการหายใจการนวดเพื่อเป็นการคัดกรองโรคหรืออาการต้องห้ามนวดเพื่อลดความรุนแรงหลังการนวด
2.อาการอักเสบของร่างกายผู้ถูกนวด
คือ จะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เช่น อาการกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบเฉียบพลัน หรือในขณะที่มีอาการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกายไม่ควรนวดรุนแรง ควรใช้เพียงการการประคบเย็นใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการบาดเจ็บ และหลังจากนั้นควรใช้การประคบร้อนเพื่อลดอาการปวด ตึงของกเกินไปกล้ามเนื้อ
3.การกดนวด ด้วยน้ำหนักมือ แรงเกินไป
โดยผู้ถูกนวดสามารถแจ้งหมอนวดว่า แรงเกินไป มีอาการเจ็บจากการนวดในขณะที่กำลังนวด เพื่อที่หมอนวดจะได้ทราบว่าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจะได้ผ่อนน้ำหนักมือให้เบาลง
4.อาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ
เป็นการนวดรักษาลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อมักจะพบอาการระบมหลังการนวดได้ง่ายกว่าการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และมักพบบ่อยในผู้ที่มารับการนวดเป็นการนวดครั้งแรก หรือห่างหายจากการนวดมานาน กล้ามเนื้อไม่คุ้นชินกับการนวด เนื่องจากผู้รับการนวดแต่ละคน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่เท่ากัน ดังนั้น หมอนวดควรต้องประเมินกล้ามเนื้อของผู้ถูกนวด ว่าควรใช้น้ำหนักมือลงแรงกด หรือควรเลือกการกดนวดแบบไหนที่เหมาะสมแก่ผู้มารับบริการการนวดแต่ละรายต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว อาการไม่พึงประสงค์หลังการนวดที่พบบ่อย ได้ อาการกล้ามเนื้อระบมหลังการนวด มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้หลังการนวด รู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวไม่มีแรงหลังการนวด โดยปกติอาการพวกนี้สามารถเกิดขึ้นได้และหายได้เองภายใน1-2 วันหลังการนวด โดยไม่ต้องรับประทานยาบรรเทาปวด อาจใช้เพียงการประคบ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆประคบบริเวณที่ปวด และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการใช้งานกล้ามเนื้อ ลดการทำงานหนัก และหลีกเลี่ยงการตากแดดตากฝนตากลม เพื่อป้องกันการเป็นไข้ อาการก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากมีมีอาการรุนแรงและเป็นอยู่หลายวัน ควรรับประทานยาบรรเทาปวดได้ ถ้ายังไม่หายควรไปรับการปรึกษากับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด หรือควรทำการส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบันนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- “ปวดหลังเรื้อรัง” 6 พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม