กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนนั่งนาน
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ฟังชื่อโรคแล้วเหมือนจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพียงแค่ “นั่งนาน ๆ” เท่านั้น ซึ่งกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือ Piriformis Syndrome นี้ เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดลึกๆ บริเวณก้นร้าวไปยังขาด้านหลัง และรู้สึกเจ็บเมื่อกดในบริเวณดังกล่าว ในบางกรณีอาจมีอาการชาร่วมด้วย ซึ่งอาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อนั่ง หรือยืนท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ๆ นั่นเอง
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า?
โรคกล้ามเนื้อเกิดการหนีบเส้นประสาท หรือ ที่บางท่านเรียกว่า โรคสลักเพชรจม เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยอาการจะคล้ายกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากกล้ามเนื้อ Piriformis ซึ่งอยู่บริเวณแก้มก้นไปกดทับเส้นประสาท (Sciatic nerve) ที่อยู่ด้านใต้ ส่งผลให้รู้สึก “ปวดบริเวณก้น ชาร้าวลงขา” หากมีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การนั่ง การยืน การขับรถ เป็นต้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องระวังมันไว้มาก ๆ เพราะหากมีภาวะที่รุนแรงก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ในระยะยาว
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือ โรคสลักเพชรจม
สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากพฤติกรรมและภาวะผิดปกติเหล่านี้
- การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน
- กล้ามเนื้อ Piriformis มีความตึงตัวมากเกินไป
- มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กางและเหยียดขา
อาการบ่งบอกโรค
ผู้ป่วยมีอาการคล้ายกับการกดทับของเส้นประสาที่หลัง บริเวณส่วนเอว โดยจะมีอาการปวดจากกันสะพกข้างใดข้างหนึ่งร้าวไปถึงข้อพับเข่า บางรายที่มีความรุนแรงมาก จะมีอาการชาและอ่อนแรง
แนวทางกการรักษาโรคกล้ามเนื้อเกิดการหนีบเส้นประสาท ด้วย “กายภาพบำบัด”
ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก ยังเคลื่อนไหวร่างกายได้ และยังควบคุมระบบการขับถ่ายได้เป็นปกติ วิธีการรักษาที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บได้อย่างปลอดภัยก็คือ “การกายภาพบำบัด” โดยส่วนใหญ่ก็จะใช้การอัลตร้าซาวด์บริเวณกล้ามเนื้อ piriformis เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ ซึ่งควรทำควบคู่ไปกับการยืดกล้ามเนื้อ และการประคบร้อนเป็นประจำด้วยตนเอง และอีกสิ่งที่สำคัญก็คือการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้อาการเจ็บปวดกำเริบขึ้นมา แต่หากใช้การรักษาด้วยการกายภาพบำบัดแล้วยังไม่ดีขึ้นก็ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาการใช้ยา หรือการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
กายภาพบำบัดเบื้องต้นเพื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
จากที่บอกไปว่าในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดได้ โดยเบื้องต้นจะมีบริการต่าง ๆ ดังนี้
- ตรวจประเมินร่างกายหาสาเหตุการปวด
- ลดปวดด้วย Deep Ultrasound
- นวดลดปวดกล้ามเนื้อมัดลึก สลาย trigger point
- ยืดกล้ามเนื้อ Piriformis เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ลดการหดเกร็ง
บรรเทาความปวดด้วยการยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง
ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดด้วยตนเองได้ โดยทำตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้…
- ให้นอนราบกับพื้นแล้วชันเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง
- ยกข้อเท้าซ้ายมาวางพาดไว้บนเข่าขวา
- ใช้มือดึงเข่าขวาเข้าหาอกแล้วค้างไว้ นับ 1-10
- วางขากลับไปชันเข่าเช่นเดิม
- สลับมายกข้อเท้าขวามาวางพาดไว้บนเข่าซ้าย แล้วทำซ้ำในลักษณะเดียวกัน
- เมื่อทำครบทั้งซ้ายและขวา ให้นับเป็น 1 เช็ต
- ทำเช่นนี้ต่อเนื่อง 5-10 เซ็ต ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้
การทำกายภาพบำบัด มีประโยชน์ต่อการรักษาโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท อย่างไร
แม้จะเป็นการทำกายภาพบำบัดที่หลายคนอาจมองว่าช่วยบรรเทาอาการไม่ได้มาก แต่แท้จริงแล้วมันให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยได้อย่างมากมาย เช่น
- ช่วยลดอาการปวด และผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อบริเวณ Piriformis โดยใช้ Deep Ultrasound
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณก้นและสะโพก ด้วย Heat Therapy
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยท่าออกกำลังกายที่จะช่วยลดอาการปวด และ ป้องกันการปวดซ้ำ
- ยืดกล้ามเนื้อ Piriformis เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ลดการหดเกร็ง และหดรั้งของกล้ามเนื้อ ป้องกันการกดทับเส้นประสาทซ้ำ
อย่างไรก็ตาม การทำกายภาพเป็นเพียงวิธีเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีภาวะไม่รุนแรงเท่านั้น ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ อีก โดยในบางเคสอาจเริ่มต้นจากการการใช้ยา และควรหลีกเสี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการภาวะดังกล่ว เช่น ท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ใส่กระเป๋าสตางค์ลงในข้างที่เจ็บ หรือการเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ อาจใช้การฉีด Steroid ขนาดน้อยๆ เข้าที่กันสะโพกที่เจ็บ ชิ่งส่วนมากแล้วจะได้ผลน้อยสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร