กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก หากต้องยกของบ่อยๆ ป้องกันอย่างไร?
กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก เป็นเรื่องที่ปฏิเสธได้ยากกับอาการกล้ามเนื้ออักเสบที่มาพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้แรงและกล้ามเนื้อยกของหนักๆ อยู่เสมอ เนื่องจากในชีวิตประจำวันนั้น เราอาจจะเจอการทดสอบความแข็งแรงของร่างกายแบบไม่คาดคิด อย่างเช่น การต้องยกของหนัก ไม่ว่าร่างกายจะแข็งแรงแค่ไหน ถ้ายกของหนักตอนเผลอ ไม่ทันระวังตัว ก็อาจเสี่ยงกับกล้ามเนื้ออักเสบได้ตลอด
กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก
กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นจากการใช้งานร่างกายอย่างหนัก จึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนมากจะแสดงอาการในลักษณะของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเป็นเพียงอาการเริ่มต้นของการอักเสบเท่านั้น อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอิริยาบถ เช่น การทำงานที่ใช้แรงมากเกินไป การเดิน การยืน และการนั่ง กล้ามเนื้ออักเสบมักจะเกิดขึ้นกับอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือเป็นอาการเรื้อรัง จากการได้รับบาดเจ็บ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ?
เราสามารถสังเกตได้เองจากกล้ามเนื้อตึงหลังจากการออกกำลังกาย หรือ จาการทำงานหนก ซึ่งการปวดเมื่อยและความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นมักจะค่อยๆ มีอาการแย่ลงเมื่อปล่อยผ่านไปหลายสัปดาห์จะส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ หลัง ขา และสะโพก ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือเป็นอาการจากโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ที่ก่อนจะเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นทุกครั้ง และโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ?
โดยปกติแล้ว ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบนั้น ทุกๆ กลุ่มและทุกๆ วัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่แค่กลุ่มที่ชอบออกกำลังกาย นักกีฬา พนักงานประจำ เท่านั้น แต่รวมถึงกลุ่มคนทำงานที่ต้องยกของหนัก ด้วยเช่นกัน
ลักษณะของอาการกล้ามเนื้ออักเสบ
กล้ามเนื้ออักเสบไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับส่วนไหนของร่างกายก็จะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะทำให้การอักเสบของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในระยะยาวรุนแรงมากขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่จะพบว่าการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน, การออกกำลังกายที่ผิดวิธี หรือเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อนำไปสู่การอักเสบที่รุนแรง
การรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้น
การรักษากล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการหรือปวดไม่มาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการหยุดพักกิจกรรมหรืองานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดบวม และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง
- โดยวิธีประคบด้วยความร้อนตรงบริเวณที่กล้ามเนื้ออักเสบ
- ฝึกการเหยียดยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัว โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน โยกไปด้านซ้ายและขวา
- ทานยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้อักเสบ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (ตามคำแนะนำของเภสัชกร)
- ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อและป้องกันข้อยึดติด
- ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไวนานอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตได้
การปรับท่าทางในการยกของให้ถูกต้อง
สิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะอาการกล้ามเนื้ออักเสบ คือการปรับอิริยาบถหรือท่าทางที่ใช้ในการยกของ หรือการใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งในกรณีนี้เราจะยกการปรับอิริยาบถ 2 แบบด้วยกัน สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องยกของหนักทุกวันโดยเฉพาะ ประกอบด้วย
ท่าทางการยกของ
ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการยกของ เพราะหากยกของผิดท่า ก็สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้ง่ายๆ
ข้อควรทำ
ขณะยกสิ่งของจากพื้น ค่อยๆ ย่อเข่า อย่าก้มตัว พยายามรักษาแนวกระดูกสันหลังให้ตรงอยู่เสมอ ใช้กำลังข้อเข่ายืนขึ้นโดยให้สิ่งของอยู่ชิดกับลำตัวมากที่สุด
ข้อควรหลีกเลี่ยง
- ไม่ควรก้มตัวลงหยิบของขณะเข่าเหยียดตรง
- หลีกเลี่ยงการหยิบยกสิ่งของที่อยู่สูงเหนือศีรษะมากๆ
- ไม่บิดหรือเอี้ยวตัวขณะยกของหนักเพราะลักษณะเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายที่หลังได้
ท่าทางการยืนที่ดี
ทั้งนี้ นอกจากการยกของแล้ว การยืนอาจเป็นอีกหนึ่งอิริยาบถที่คนยกของหนักๆ มักต้องทำบ่อยๆ ซึ่งมีข้อที่ควรปรับและข้อที่ควรหลีกเลี่ยง ดังนี้
ข้อควรทำ
- ขณะยืน ขาข้างหนึ่งควรวางบนที่พักขา หรือยืนพักขาสักครู่หนึ่ง สลับกับยืนทิ้งน้ำหนักตัวบนขาสองข้าง
- ย่อเข่าเล็กน้อยหลังตรง แทนการก้มตัวเมื่อต้องการทำกิจกรรมต่างๆ
ข้อควรหลีกเลี่ยง
- ไม่ยืนตรงในท่าเดียวนิ่งๆ เมื่อต้องทำงานที่ใช้เวลานาน ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง เช่น ก้มตัว แอ่นตัว บิดลำตัว
- ไม่โน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อทำกิจกรรมใดๆ เป็นเวลานาน
- ไม่สวมรองเท้าส้นสูงมากๆ เมื่อต้องยืนหรือเดินนานๆ
อย่างไรก็ดี ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ เช่นนี้ อาจใช้วิธีการทางกายภาพบำบัดให้บรรเทาอาการปวดทุเลาลงได้มากเท่าไหร่นัก ดังนั้น ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทานยากดภูมิคุ้มกัน ตามแพทย์สั่งเท่านั้น รวมถึงปรับท่าทางในการยกของร่วมด้วย และควรรักษาพร้อมฟื้นฟูเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของผลการรักษาที่แท้จริง และยังลดโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- ยืดน่อง ลดตึง – 3 ท่ายืด ลดอาการบวมตึงที่น่อง
- น่องตึง บวม เกิดจากอะไรได้บ้าง หากหายแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำหรือไม่?