เจ็บแปลบ กล้ามเนื้อ อาการที่ต้องรีบรักษาหากไม่อยากเป็นเรื้อรัง
“เจ็บแปลบ กล้ามเนื้อ” อาการที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญแต่ไม่คิดจะรักษาเพราะคิดว่าสามารถหายเองได้ แต่แท้จริงแล้วหากไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการนี้และไม่รักษาให้ถูกที่ก็อาจจะไม่มีทางหายขาดได้ ยิ่งในผู้ที่คิดว่าสามารถหายเองได้ยิ่งอาจหายได้ยากขึ้นไปอีก ฉะนั้น สิ่งสำคัญคือผู้ประสบปัญหาควรทราบถึงสาเหตุของภาวะอาการเจ็บนี้เพื่อที่จะได้ทราบถึงแนวทางของการรักษาอย่างถูกต้อง
เจ็บแปลบ กล้ามเนื้อ ภัยเงียบของโรคทางกล้ามเนื้อที่ไม่ควรมองข้าม
ต้องบอกก่อนว่าอาการเจ็บแปลบเช่นนี้เป็นลักษณะอาการหนึ่งของ “โรคกล้ามเนื้ออักเสบ” ซึ่งอาการเจ็บดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็น ๆ หาย ๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือเมื่อยล้ามากในช่วงเย็น ในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วยซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่หากมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อขึ้นมาจึงไม่ควรละเลยเป็นอันขาด
กล้ามเนื้ออักเสบ คือ
โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว เป็นโรคในกลุ่มโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการอักเสบของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ในรายที่เป็นอย่างรุนแรงอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนไม่สามารถลุกจากเตียงหรือเดินได้ มีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอักเสบ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ซึ่งมักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและล้ามากหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน และอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือเป็นอาการเรื้อรังก็ได้
กล้ามเนื้ออักเสบ สาเหตุ
ตามปกติแล้วสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้ออักเสบนั้นค่อนข้างจะระบุได้ยาก เพราะสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้จากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ คือ
การติดเชื้อ
การติดเชื้อที่เป็นต้นเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสเอชไอวี กล้ามเนื้ออักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเหล่านี้บุกเข้าไปยังเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโดยตรงหรือมีการปล่อยสารที่ไปทำลายใยกล้ามเนื้อให้เสียหาย
การอักเสบ
ภาวะที่ก่อให้เกิดการอักเสบไม่ว่าบริเวณใดของร่างกายก็สามารถส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ และมักตามมาด้วยการอักเสบอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องรับการรักษาระยะยาว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักพบว่าเป็นการอักเสบที่เกิดจากโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติที่ร่างกายหันมาทำลายตัวเองนั่นเอง
การได้รับบาดเจ็บ
การออกกำลังกายอย่างแข็งขันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปวด บวม และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย โดยอาจเกิดขึ้นนานเป็นชั่วโมงขึ้นไปหรือเป็นวัน ๆ และทำให้เกิดการอักเสบตามมาในที่สุด แต่ก็มักจะหายไปเมื่อหยุดพักหรือเมื่อร่างกายได้รับการฟื้นฟู
ลักษณะอาการของภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ
ภาวะอักเสบนั้นสามารถแสดงออกได้หลายลักษณะด้วยกัน เช่น…
เจ็บปวดที่กล้ามเนื้อ
ผู้ประสบปัญหามักมีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง อาจรู้สึกเฉียบพลันหรือเป็นเรื่อย ๆ โดยอาการจะมีระยะเวลาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบด้วย
รับความรู้สึกที่ผิดปกติ
ซึ่งบางครั้งอาจมีการรับความรู้สึกที่ผิดปกติไปจากเดิมในบริเวณของกล้ามเนื้อที่อักเสบ
มีอาการบวม
โดยกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบนั้นอาจมีอาการบวมหรือบวมแดงเนื่องจากการอักเสบที่ส่งผลให้เลือดรั่วไหลเข้าสู่บริเวณนั้น
กล้ามเนื้ออักเสบทำให้เป็นไข้ได้ยังไง ส่งผลอันตรายยังไงบ้าง?
เนื่องจากในหลาย ๆ เคส ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อจากโรคนี้ โดยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ อาจเกิดจากการอักเสบขึ้นเองของร่างกาย เกิดจากการติดเชื้อ การใช้ยาบางชนิด หรือ เกิดตามหลังการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเองก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อหรือมัดกล้ามเนื้อนั้นๆ ที่อักเสบ ทำให้มีอาการปวดขณะเคลื่อนไหว หรือ กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อดังกล่าว ตลอดจนทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ ได้ และการอักเสบดังกล่าวก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายผู้ป่วยหลาย ๆ อย่าง เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ในเวลาเดียวกัน ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้นาน ๆ จำเป็นต้องรีบเข้าพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะโรคบางอย่างได้
การทำกายภาพเพื่อรักษาภาวะ “กล้ามเนื้ออักเสบ”
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)
เป็นการสอดขั้วกระแสไฟฟ้ารูปร่างคล้ายเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปภายในกล้ามเนื้อ วิธีนี้จะช่วยตรวจหากล้ามเนื้อที่อ่อนแอหรือถูกทำลายจากการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ โดยเครื่องจะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของปลายเส้นประสาท เพื่อให้แพทย์สามารถดูว่ามีรูปแบบการทำงานผิดปกติหรือไม่
การทำ MRI Scan
เป็นการวินิจฉัยโดยใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงถ่ายภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย สามารถช่วยระบุหากล้ามเนื้อบริเวณที่มีการอักเสบหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้มักไม่ค่อยนำมาใช้
เครื่องอัลตร้าซาวด์
ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง
เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์
ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เครื่องอบความร้อนลึก
ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ อย่างไรก็ดี ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ โดยการกายภาพบำบัดประกอบไปด้วย การทำกายบริหารเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น คลื่นอัลตราโซนิกส์หรือกระแสไฟฟ้า เพื่อลดการอักเสบหรือกระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีพยาธิสภาพให้ดีขึ้นและกลับมาใช้งานได้ปกติ ฉะนั้น หากใครรู้ตัวว่าตนเองมีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- กล้ามเนื้อขาอักเสบ กี่วันหาย อาการบาดเจ็บชนิดนี้ นักกีฬาควรรับมือยังไง?
- กล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการออกกําลังกาย มีอะไรบ้าง ควรฟื้นฟูยังไง?
- บริการ ตัดแผ่นรองเท้า