อาการชาที่หัว คืออะไร อาจเป็นสัญญาณอันตรายจากระบบประสาท
อาการชาที่หัว เชื่อว่าเป็นภาวะอาการที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบัน “อาการปวดหัว” ถือเป็น 1 ในหลาย ๆ อาการที่ผู้คนมีภาวะอาการมากที่สุดซึ่งอาการปวดหัวก็จะแสดงออกมาได้หลาย ๆ ลักษณะ อย่างไรก็ตาม นอกจากการปวดแล้ว อีกอาการหนึ่งที่ก็เป็นอาการยอดฮิตไม่แพ้กันคืออาการ “ชาที่หัว” ซึ่งก็อาจสร้างความกังวลให้แก่ผู้ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะนี้ให้มากขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและบรรเทาเมื่ออาการกำเริบขึ้นมา
อาการชาที่หัว เกิดจาก อะไร อันตรายหรือไม่?
เมื่อพูดถึงอาการชานั้น เราทุกคนทราบกันดีว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ จุดตามร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดกับ แขน ขา นิ้ว โดยเป็นอวัยวะที่ใช้งานอยู่ตลอดเวลาก็สามารถทำให้เกิดอาการชาได้ง่าย ๆ อย่างไรก็ตามอาการชาสามารถเกิดขึ้นและหายเองได้ แต่ในบางกรณีก็เป็น ๆ หาย ๆ อยู่ตลอด แต่ก็ไม่ได้ส่งผลร้ายแรงอะไรมากมายนัก ในอีกทางหนึ่ง อาการชาดันเกิดกับศีรษะ หรือเป็นอาการ รู้สึกชาที่หัว ซึ่งดูเป็นอวัยวะที่ไม่น่าจะเกิดอาการนี้ได้ และเมื่ออาการกำเริบก็ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลำบาก และทำให้กังวลว่าจะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่อีกด้วย
อาการชา คือ…
อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาท รับความรู้สึก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่นิ้ว มือ แขน เท้าหรือขา เป็นอาการที่มีความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้อน หรือเย็นน้อยกว่าปกติหรือไม่มีความรู้สึกเลย ซึ่งอาการชาจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทส่งความรู้สึกของบริเวณที่เป็น ทำงานบกพร่องไปแล้วอย่างน้อย 50% โดยถ้าเส้นประสาทส่งความรู้สึกทำงานบกพร่องไปอย่างช้า ๆ อาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติและมักตรวจพบได้ยาก แต่ถ้าเกิดการบกพร่องไปอย่างรวดเร็วจะเกิดอาการที่ชัดเจน
สาเหตุของอาการชา
สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการเหน็บ หรือ ชา ตามจุดต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ออกหลายสาเหตุ เช่น
โรคกล้ามเนื้อ
เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหรือการไหลเวียนเลือดไปยังเส้นประสาท อาจพบอาการชาร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว
การบาดเจ็บที่เส้นประสาทโดยตรง
เช่น ได้รับอุบัติเหตุ ทั้งนี้ ขึ้นกับตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกรบกวนด้วย โดยมักจะมีอาการชาแบบสูญเสียความรู้สึกและอ่อนแรงร่วมด้วย
ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ
มักมีความเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปลายประสาทอักเสบจากโรคเบาหวานหรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
การขาดวิตามินในผู้ป่วย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ดื่มสุราต่อเนื่อง ผู้ที่ทานมังสวิรัติ ผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารเรื้อรังทานได้น้อย ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร มีโรคทางเดินอาหารหรือมีโรคประจำตัวหลายโรค โดยเฉพาะ วิตามิน B1, B6, B12, E, ไนอะซิน
ออฟฟิศซินโดรม (คอ บ่า ไหล่เรื้อรัง)
ผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า เรื้อรัง จนทำให้การอักเสบลามเข้าไปที่เส้นประสาทคู่ที่ 7 อาจทำให้เกิดอาการชาบริเวณหนังศีรษะได้
โดยนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนั้นหากอยากทราบเหตุผลของภาวะชาที่แท้จริง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย จะดีที่สุด เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกจุด
“ชาที่หัว” เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?
อาการชาที่หัว อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กล้ามเนื้อบริเวณหนังศีรษะตึงตัว กระดูกคอกดทับเส้นประสาท จากปัญหาหลอดเลือดที่มาเลี้ยงในบริเวณหนังศีรษะ เป็นต้น หรือในอีกสาเหตุหนึ่งคืออาจเกิดจาก อาการปลายเส้นประสาทอักเสบ หรือการที่เส้นประสาทถูกกดทับอย่างผิดท่านาน ๆ มากที่สุด
โดยทั่วไป อาการชาที่เกิดร่วมกับอาการปวด มักทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญหรือรบกวนชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและบรรเทาอาการอันไม่พึงประสงค์ดังกล่าว แต่อาการชาที่มีลักษณะร่วมอื่น ๆ ที่ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ทำการรักษา และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
อาการชาที่หัว รักษา ยังไง เมื่อเกิดอาการเหน็บชาที่หัว ควรทำอย่างไรดี?
อาการชาที่หัว รักษา ได้ 2 ทางหลัก ๆ ดังนี้
การปรับพฤติกรรมเบื้องต้น
เบื้องต้นควรสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด ถ้าเป็นชาหนา ๆ เหมือนไม่รู้สึก เป็นครึ่งซีก มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ และในขณะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำท่าที่กดทับบริเวณที่เป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควรทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำเพื่อให้การเก็งหรือตึงของกล้ามเนื้อดีขึ้น
การนวดทางกายภาพบำบัด
- เริ่มจากการนวดคลายกล้ามเนื้อทั้งชั้นบนและล่าง โดยการนวดเช่นนี้จะทำให้กล้ามเนื้อชั้นบน และกล้ามเนื้อชั้นลึก คลายตัวออกจากอาการเกร็ง เพื่อลดการบีบรัดเส้นประสาทนั่นเอง
- นวดจุดกดเจ็บเพื่อสลายพังผืดและจุดเกร็ง ในขั้นตอนนี้จะเน้นการสลายพังผืดที่เกาะอยู่บริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ เส้นประสาทที่อักเสบ ที่ทำให้เกิดอาการ เหน็บ ชา หนา ๆ แปลบ ๆ แสบร้อน อ่อนแรง และเป็นการกระตุ้นให้เส้นประสาทกลับมาทำงานให้ดีอีกครั้ง ในผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อลีบ เมื่อได้รับการนวดกระตุ้นจนถึงจุดหนึ่ง กล้ามเนื้อจะค่อย ๆ กลับมาแข็งแรงและสมบูรณ์อีกครั้ง
สรุป “อาการชาบริเวณศีรษะ” ที่ควรรู้
อย่างไรก็ดี การนวดทางกายภาพเพื่อสลายพังผืดและจุดยึดเกร็งนี้ จะเป็นการกำจัดปัญหาจากต้นเหตุอย่างแท้จริง เพราะเมื่อพังผืดถูกสลายออกจนหมดแล้ว เส้นประสาทที่มีปัญหาจะกลับมามีสุขภาพที่ดีดังเดิม เลือดจะไหวเวียนได้ดีขึ้น สามารถนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้เต็มที่อีกครั้ง กล้ามเนื้อจะนิ่มตัวลงและไม่แข็งเกร็ง อาการอักเสบ รวมถึงอาการผิดปกติต่าง ๆ จะหายไป และไม่กลับมาอีก เพราะต้นเหตุถูกกำจัดออกไปอย่างถาวร แต่ทั้งนี้ก็ต้องทำการดูแลตนเอง ออกกำลังกาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอด้วย เพื่อที่อาการจะได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกนั่นเอง
คำถามที่พบบ่อย
ชาที่หัวด้านหลัง เกิดจากอะไร
อาการปวดที่ท้ายทอย มีอาการชา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น นอนหมอนที่สูงเกินไป หรืออาจจะมีเรื่องการกดเส้นประสาทและทำให้มีเรื่องของกล้ามเนื้อต้นคออักเสบ รวมถึงพฤติกรรมจากออฟฟิศซินโดรมต่าง ๆ ก็ส่งผลเช่นกัน
อาการชาที่หัวซีกซ้าย คืออะไร อันตรายไหม
อาการชาบริเวณศีรษะซีกซ้าย ชาบ่อย ๆ เป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากอาการปลายเส้นประสาทอักเสบ หรือการที่เส้นประสาทถูกกดทับอย่างผิดท่านาน ๆ รวมถึงการขาดวิตามินบางตัว ทำให้อาการชาที่บริเวณนี้เกิดขึ้นได้ หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจเป็นอันตรายได้ ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
อาการชาซีกขวา เกิดจาก อะไร
ส่วนใหญ่แล้วอาจเกิดจาก สามารถเกิดได้จากความผิดปกติของสมองซีกซ้าย สาเหตุที่สามารถพบได้ เช่น หลอดเลือดสมองขาดเลือดหรือเลือดออกในสมอง ทั้งนี้อาจมาจากสาเหตุกระดูกต้นคอหรือหลังมีปัญหาจึงเกิดการลุกลามไปยังบริเวณท้ายทอยและอวัยวะอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับเส้นประสาทบริเวณนั้น ๆ
วิธีรักษาอาการชาครึ่งซีก
วิธีเบื้องต้นควรเริ่มที่การปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกดทับเส้นประสาท เช่น การนั่งนาน ๆ, นอนหมอนที่ไม่ถูกลักษณะ เช่น มีความสูงหรือแข็งเกินไป, การก้มมองหน้าจอคอมนาน ๆ เป็นต้น ทั้งนี้อาจร่วมด้วยการนวดกดจุดที่บริเวณที่มีอาการชาโดยตรงก็จะสามารถช่วยบรรเทาได้ แต่หากยังไม่หายควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
———————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดหัวตุ้บ ๆ ข้างขวา อาการแบบนี้เป็นไมเกรนหรือเปล่า?
- โรคหลอดเลือดสมอง: สัญญาณอันตรายของอัมพาต
- ปวดไมเกรน-รักษาด้วยกายภาพได้หรือไม่?