ขี่มอเตอร์ไซค์แล้วมือชา จนขับต่อไม่ไหว รีบรักษาให้หายก่อนสายเกินไป
“ขี่มอเตอร์ไซค์แล้วมือชา” อาการเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม หลาย ๆ ท่านอาจคิดว่าอาการมือชาเป็นภาวะปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้และดูไม่อันตรายอะไร แต่จริง ๆ แล้วมันส่งผลต่อตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะอาการชาเป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ หากอาการกำเริบ ณ ช่วงที่กำลังขับขี่ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้ ดังนั้น ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น ผู้ขับขี่ไม่ควรปล่อยผ่านภาวะนี้และควรศึกษาแนวทางการรักษาและป้องกันที่ถูกต้อง ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน
ขี่มอเตอร์ไซค์แล้วมือชา บางกรณีอาการชารุนแรงจนขับต่อไม่ได้ ควรทำยังไงดี?
เวลาที่เราพูดถึงอาการ “มือชา” สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการที่เส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy) หากนึกไม่ออกให้นึกถึงเวลาที่เรานั่งทับขาตัวเองนานๆ เส้นประสาทก็จะถูกกดทับไปด้วย ทำให้มีอาการชา หรือเป็นเหน็บขึ้นที่บริเวณมือหรือปลายเท้า ซึ่งหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงก็คือการขับรถมอเตอร์ไซด์ที่ต้องใช้แขนบังคับแฮนด์และมือที่ต้องเกร็งเพื่อบิดเร่งเครื่องให้มอเตอร์ไซด์เคลื่อนที่ได้นั่นเอง
ซึ่งระดับของอาการชามือมีตั้งแต่เล็กน้อย ไม่ได้รบกวนชีวิตเรามากนัก จนไปถึงชามือตลอดเวลาจนบางกรณีอาจไม่สามารถขี่ต่อได้ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงในระดับหนึ่ง นอกจากอาการชา ยังมักพบว่ามีอาการปวดแปลบ ๆ หรือปวดตื้อ ๆ ซึ่งเป็นลักษณะอาการปวดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) ร่วมด้วย ดังนั้น เมื่ออาการเหล่านี้เกิดขึ้น อาจส่งผลต่อความสามารถขณะขับขี่ได้และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ทุกคนควรทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันที่ถูกต้องและนำไปปรับใช้
อาการชาขณะขับมอเตอร์ไซด์ เกิดจาก…
สำหรับอาการชาที่ข้อมือขณะขับมอเตอร์ไซด์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น…
- ปลายเส้นประสาทอักเสบจากการขาดวิตามินบี 1 และบี 12
- เกิดจากปลายเส้นประสาทที่บริเวณมือถูกกดทับ หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นระยะเวลานาน
- อากาศเย็น ระหว่างขี่รถ ซึ่งอาจต้องใช้แฮนด์การ์ดหรือแผ่นบังลม หรือเลือกถุงมือที่มีเทคโนโลยีเก็บอุณหภูมิหรือติดฮีตกริปก็ได้
- แรงสั่นของรถมอเตอร์ไซค์ สำหรับบิ๊กไบค์คันใหญ่มักจะมีเเรงสั่นของรถ แรงสั่นเหล่านี้ส่งมาถึงมือของผู้ขับขี่ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการชาได้
- การจัดท่านั่งของรถ เนื่องจากมอเตอร์ไซค์บางรุ่นจะมีท่านั่งที่ต้องถ่ายน้ำหนักไปที่ข้อมือมากกว่ามอเตอร์ไซค์สไตล์อื่น แก้โดยการปรับองศาแฮนด์แบบคลิป-ออนหรือตั้งบาร์ไรเซอร์ก็จะสามารถช่วยลดอาการชาลงได้
ซึ่งนี่เป็นสาเหตุเบื้องต้นที่มักเกิดกับผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ได้บ่อย ดังนั้น ผู้ขับขี่ควรทำการศึกษาสาเหตุไว้เพื่อการรักษาและปรับพฤติกรรมได้ถูกต้องมากขึ้น
วิธีแก้ไขอาการปวดหลังล่างหลังการขับรถมอเตอร์ไซด์
การรักษาและดูแลอาการปวดหลังส่วนล่าง จากการขับรถก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ดังนี้…
การปรับพฤติกรรมในการขับรถ
เนื่องจากอาการปวดหลังส่วนล่างที่เกิดขึ้นมักมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อย่างการขับรถที่ต้องนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ และบางทีหลังของเราก็ไม่ชิดกับเบาะเวลาขับรถ ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานตลอดเวลา จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว หากเราเอี้ยวตัวผิดหรือบิดตัวผิดท่าก็ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดภายในได้ และเมื่อเรากลับไปนั่งในท่าเดิมนาน ๆ ร่างกายจะเกิดกลไกป้องกันตัวเอง ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งและหดตัวซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง และเกิดอาการปวดตามมาได้ เราจึงควรปรับพฤติกรรมท่านั่งขับรถ ให้เกิดท่านั่งที่เหมาะสม และหากต้องขับรถเป็นระยะทางไกล ๆ ควรแวะพักทุก ๆ 1 ชั่วโมงให้กล้ามเนื้อได้พักจากการทำงาน
การออกกำลังกาย
เมื่อเรายืดกล้ามเนื้อแล้ว ก็ต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น โดยการออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่เน้นแกนกลางลำตัว เช่น การแพลงก์ ซิทอัพ หรือการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังมัดลึก เพื่อเพิ่มความกระชับให้แก่กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลังและเพิ่มความมั่นคงให้แก่แนวกระดูกสันหลังด้วย
การยืดกล้ามเนื้อ
การนั่งขับรถ มักจะอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและทำให้ร่างกายขาดความยืดหยุ่น จนทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ เราจึงควรยืดกล้ามเนื้อลำตัว หลัง และขาหลังการขับรถเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความผ่อนคลายและยังสามารถลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกจากแนวทางทั้งหมดที่กล่าวมา อีกหนึ่งวิธีที่สำคัญที่จะป้องกันอาการปวดหลังที่ดีที่สุด คือ การออกกําลังกายที่สม่ำเสมอ จะช่วยให้กล้ามเนื้อหลังยืดหยุ่น ผ่อนคลาย เคลื่อนไหวได้อย่างไม่เครียดเกร็ง และช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงได้อีกด้วย ทั้งนี้อีกสิ่งที่สำคัญคือไม่ควรปล่อยให้อาการปวดหลังล่างหรือหัวไหล่นี้อยู่นาน ๆ เพราะอาจเกิดอาการเรื้อรังได้ ซึ่งหากผู้ป่วยต้องการหายจากอาการดังกล่าวอย่างถาวร นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือพฤติกรรมการขับรถแล้ว ก็จำเป็นต้องเข้าพบนักกายภาพบำบัดเพื่อเข้ารับการรักษาและชี้แจงเกี่ยวกับอาการปวดของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผลที่คาดหวังนั่นเอง
ท่ายืดช่วงข้อมือและแขนสำหรับนักบิดที่ทำได้เองที่บ้าน
สำหรับท่ายืดข้อมือและบริเวณแขนที่เหมาะกับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์นั้น สามาถทำตามได้ง่าย ๆ คือ…
- นวดเบา ๆ 3-5 นาที บริเวณเส้นประสาทข้อมือ และกล้ามเนื้อ เพื่อยืดคลาย
- ยืดเหยียด ผ่อนคลายข้อมือด้วยการดึงมือไปด้านบน และลงด้านล่าง ทำค้างไว้ราว 15-20 วินาที
- ยืดข้อมือ ด้วยการยกดัมเบลขนาดตามความเหมาะสมของแต่ละคน ยกขึ้นและลง เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อมือแข็งแรงขึ้น
ทั้งนี้การยืดเหยียดและออกกำลังกายข้อมือควรทำตามกำลังของแต่ละคน เพราะหากทำผิดท่า หรือหักโหมเกินไปอาจส่งผลเสียต่อข้อมือมากกว่าข้อดี แนะนำว่าควรปรึกษาทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และทีมนักกายภาพบำบัดร่วมด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- นวดไทย vs กายภาพบำบัด ต่างกันอย่างไร?
- “ฝังเข็ม” วิธีรักษาทางกายภาพบำบัดของโรคออฟฟิศซินโดรม