Hamstring strain อาการปวดใต้ข้อพับเข่า เกิดจากอะไร อันตรายไหม?
Hamstring strain หรือ อาการปวดใต้ข้อพับเข่า เชื่อได้เลยว่าเป็นปัญหาที่นักกีฬาหรือผู้ที่ชื่นชอบในการออกกำลังกายหลายๆ คนต้องเคยพบเจอ เนื่องจากเป็นอาการบาดเจ็บเบื้องต้นที่พบได้ง่ายที่สุด อย่างไรก็ดี ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้มักสร้างอาการปวดบริเวณใกล้ข้อพับเข่า เนื่องจากเป็นรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่จะไปเกาะที่กระดูกต้นขา ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนแอ ที่ง่ายต่อการฉีกขาด ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถปล่อยผ่านได้ แม้จะเป็นอาการธรรมดาก็ตาม
Hamstring strain คืออะไร มีอาการแบบไหน รักษาอย่างไรได้บ้าง?
กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่ผู้รักการออกกำลังกายหลายๆ คนอาจต้องเคยประสบพบเจออย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับผู้ที่รีบเร่งสร้างกล้ามเนื้อส่วนล่างจนไม่ทันระมัดระวัง ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงมานำเสนอวิธีการดูแล และการสังเกตตนเองเบื้องต้นของ อาการกล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ มาฝากทุกคนให้ได้สังเกตอาการหลังออกกำลังกายกัน
Hamstring คือกล้ามเนื้อส่วนไหน?
กล้ามเนื้อแฮมสตริง (Hamstring Muscles) คือ กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณด้านหลังของขาส่วนบน อีกทั้งยังรวมถึงเอ็นรอยหวายที่เป็นเส้นเอ็นที่ใหญ่ที่สุดในการเชื่อมต่อกล้ามเนื้อ ข้อเข่า ลงไปยังถึงข้อเท้า เพื่อช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวต่างๆ ให้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การเดิน การวิ่ง กระโดด เป็นต้น และหากใครที่มีใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้ในการทำกิจกรรมข้างต้นมากจนเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดอาการอักเสบหรือเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อนี้ได้
กล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ คือ…
คืออาการปวดใต้ข้อพับเข่า ซึ่งสามารถพบได้ในนักวิ่งหรือผู้ที่ออกกำลังกายแบบวิ่งเร็วอยู่บ่อยๆ จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (กล้ามเนื้อ Hamstring) เพราะบริเวณนี้เพราะจะเป็นจุดที่ใกล้ข้อพับเข่า ที่เป็นรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่จะไปเกาะที่กระดูกต้นขา ถือว่าเป็นจุดที่ง่ายต่อการฉีกขาดเลยอันเกิดจากการวิ่งเร็ว ซึ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ จนอักเสบและเป็นภาวะโรคนี้ในที่สุด
สาเหตุของอาการ ปวดใต้ข้อพับเข่า
• วิ่งถี่ วิ่งบ่อย วิ่งนานมากเกินไป โดยไม่ยืดกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อน
• วิ่งเร็วสลับกับหยุดวิ่งแบบฉับพลันทันที จนกล้ามเนื้อ Hamstring เกิดการหดตัว
• ใช้งานกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมากเกินไป
• กล้ามเนื้อ Hamstring ตึงมาก และขาดความยืดหยุ่น
• ออกกำลังกายงอเข่าถี่เกินไปจนกล้ามเนื้อล้าและบาดเจ็บ
ลักษณะอาการ
โดยส่วนใหญ่อาการกล้ามเนื้ออักเสบชนิดนี้อาจสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดได้อย่างกะทันหัน โดยมีอาการเบื้องต้นต่างๆ เช่น
- รอยฟกช้ำ
- กล้ามเนื้อต้นขารู้สึกอ่อนแรง
- อาการบาดเจ็บรุนแรงที่อาจทำให้คุณรู้สึกได้ว่าเส้นเอ็นบริเวณขาหลังมีการฉีกขาด
- ปวดต้นขาด้านหลังเมื่อมีการงอขา
- ต้นขาบริเวณกล้ามเนื้อแฮมสตริงมีอาการบวม
แนวทางการรักษาและดูแลตนเอง
สำหรับการดูแลรักษาสำหรับภาวะปวดใต้ข้อพับเข่านั้นไม่ยาก เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้ออักเสบธรรมดา ไม่ได้ซับซ้อนมากมาย ดังนั้น จึงมีวิธีง่ายๆ ที่ผู้บาดเจ็บสามารถทำตามได้ง่ายๆ ดังนี้
ยืดกล้ามเนื้อ hamstring บ่อยเท่าที่บ่อยได้
เพื่อลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เป็นอีก 1 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยการยืดกล้ามเนื้อนั้นไม่มียุ่งยาก เพียงนั่งเหยียดขาข้างที่ปวดออกไป ให้เข่าเหยียดตรง จากนั้นเอามือก้มแตะปลายเท้าจนรู้สึกจึงที่ต้นขาด้านหลัง หรือใต้ข้อพับเข่า ค้างไว้ 20 วินาที
ประคบเย็น
ประคบนํ้าแข็งทันทีที่รู้สึกปวด โดยให้ประคบไว้ 10-15 นาที ทุกๆ ชั่วโมง จนกว่าอาการปวด บวมจะลดลง
ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ hamstring ให้แข็งแรง
เมื่ออาการปวดของผู้บาดเจ็บทุเลาลงมากแล้ว การออกกำลังกายสำหรับคนเป็นโรคนี้ถือว่าสำคัญมาก ถ้าเราต้องการให้หายปวดอย่างถาวร การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ hamstring นั้นก็ต้องทำด้วยวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งหากใครที่ไม่มั่นใจที่จะออกกำลังกายด้วยตนเองลำพังก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
ท่ายืดกล้ามเนื้อ hamstring เบื้องต้น
การยืดกล้ามเนื้อขาสามารถช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ และกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีความพร้อมสำหรับการออกกำลังกาย การทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น จะช่วยผ่อนคลาย หรือลดอการปวดเมื่อยได้ โดยคนไข้สามารถ
ท่าที่ 1 Stan ding Hamstring Stretch
ยืนบนเท้าขวาและยื่นเท้าซ้ายไปข้างหน้า ส้นเท้าแตะพื้นและยกนิ้วเท้าขึ้น จากนั้นย่อสะโพกและก้มไปข้างหน้า งอเข่าขวาขณะที่เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย ขณะที่งอเข่าขวาให้ทิ้งน้ำหนักของขาซ้ายไว้บนส้นเท้า จะรู้สึกว่ามีการยืดกล้ามเนื้อหลังต้นขาของข้างที่เหยียดตรง สลับข้างและทำซ้ำ
ท่าที่ 2 Kneeling Quad Stretch
คุกเข่าลงข้างหนึ่งโดยให้เท้าอีกข้างวางราบอยู่ข้างหน้า และจับเท้าที่อยู่ข้างหลังดึงเข้าหากัน สลับข้างและทำซ้ำ
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง
นักวิ่งควรหมั่นยืดกล้ามเนื้อ Hamsting บ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ และเมื่อมีอาการปวดบวมควรประคบเย็นทันทีโดยให้ประคบไว้ 10-15 นาที หรือจนกว่าอาการปวดบวมจะลดลง
อย่างไรก็ดี บางกรณีอาจมีความเจ็บปวดต่อ กล้ามเนื้อแฮมสตริง และเอ็นร้อยหวายอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อใหม่จากศัลยแพทย์เฉพาะทาง ดังนั้นทางที่ดีคุณควรได้รับการวินิจฉัย หรือการประเมินอาการอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อหาต้นตอหรือวินิจฉัยอาการอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- ยืดน่อง ลดตึง – 3 ท่ายืด ลดอาการบวมตึงที่น่อง
- น่องตึง บวม เกิดจากอะไรได้บ้าง หากหายแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำหรือไม่?