นวดแล้วปวดกว่าเดิม เกิดจากอะไร อันตรายต่อกล้ามเนื้อหรือเปล่า?
นวดแล้วปวดกว่าเดิม อาการที่หลาย ๆ คนต้องเคยเผชิญ ซึ่งต้องบอกก่อนว่า เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเรามีอาการปวดตามอวัยวะต่าง ๆ “การนวด” ถือเป็นวิธีอันดับต้น ๆ ในการช่วยบรรเทาอาการปวดให้เราได้ เนื่องจากพอนวดแล้ว อาการปวดเหล่านั้นก็หายไปอย่างปลิดทิ้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป การปวดดังกล่าวกลับกลายเป็นอาการที่รุนแรงขึ้นคือ “กล้ามเนื้ออักเสบ” ซึ่งอาการที่แสดงออกก็คล้ายๆ กันกับการเมื่อยธรรมดา แต่ในครั้งนี้ดันต่างกันออกไปตรงที่ว่าเราไม่อาจนวดได้เช่นเดิมนั่นเอง
นวดแล้วปวดกว่าเดิม คืออาการอะไร เกิดจากสาเหตุใด ควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้น?
เชื่อได้ว่าหลายคนต้องมีอาการปวดเมื่อยบางอย่างแน่นอน ซึ่งอาจมองข้ามว่าแค่ปวดเมื่อยเดี๋ยวก็หาย แต่เมื่อนานเข้าอาการที่เป็นอาจเริ่มแปรเปลี่ยน จากแค่เมื่อยก็กลายเป็นกลุ่มอาการของโรคได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ดี การนวด ยังคงเป็นหนทางที่เรามักใช้เป็นทางออกอยู่เสมอเมื่อรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งในบางครั้งในขณะที่นวดเราอาจเจอก้อนบางอย่าง หรือจุดตึง ๆ ก็ยิ่งนวดลงไปแรงขึ้นเพราะรู้สึกว่าบรรเทาได้ดี แต่แท้จริงแล้วก็ทำเช่นนั้นอาจมีอาการร้าวไปยังส่วนอื่นของร่างกาย อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อทำงาน หรือมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็น อาการระบมหลังการนวด นั่นเอง
“อาการระบมหลังการนวด” เกิดจากอะไรได้บ้าง?
อาการระบมหลังการนวดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ประกอบด้วย…
1.ผู้มารับการนวดมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว
คล้ายจะมีไข้ แล้วมานวด มีไข้ หรือมีไข้ต่ำๆแล้วมานวด หมอนวดจึงต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายค่าความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ และอัตราการหายใจการนวดเพื่อเป็นการคัดกรองโรคหรืออาการต้องห้ามนวดเพื่อลดความรุนแรงหลังการนวด
2.อาการอักเสบของร่างกายผู้ถูกนวด
คือ จะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เช่น อาการกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบเฉียบพลัน หรือในขณะที่มีอาการอักเสบของอวัยวะภายในร่างกายไม่ควรนวดรุนแรง ควรใช้เพียงการการประคบเย็นใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังการบาดเจ็บ และหลังจากนั้นควรใช้การประคบร้อนเพื่อลดอาการปวด ตึงของกเกินไปกล้ามเนื้อ
3.การกดนวด ด้วยน้ำหนักมือ แรงเกินไป
โดยผู้ถูกนวดสามารถแจ้งหมอนวดว่า แรงเกินไป มีอาการเจ็บจากการนวดในขณะที่กำลังนวด เพื่อที่หมอนวดจะได้ทราบว่าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจะได้ผ่อนน้ำหนักมือให้เบาลง
4.อาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ
เป็นการนวดรักษาลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อมักจะพบอาการระบมหลังการนวดได้ง่ายกว่าการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และมักพบบ่อยในผู้ที่มารับการนวดเป็นการนวดครั้งแรก หรือห่างหายจากการนวดมานาน กล้ามเนื้อไม่คุ้นชินกับการนวด เนื่องจากผู้รับการนวดแต่ละคน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่เท่ากัน ดังนั้น หมอนวดควรต้องประเมินกล้ามเนื้อของผู้ถูกนวด ว่าควรใช้น้ำหนักมือลงแรงกด หรือควรเลือกการกดนวดแบบไหนที่เหมาะสมแก่ผู้มารับบริการการนวดแต่ละรายต่างกัน
แชร์ทริคการนวด!! ป้องกันอาการระบมของกล้ามเนื้อ
ก่อนอื่นทุกคนต้องทำความรู้จักกับ “Trigger Point” กันก่อน ซึ่ง Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บ นั้น เป็นจุดปวดของกล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็งซึ่งมีขาดประมาณ 3-6 เซนติเมตรและมีความไวต่อการกระตุ้น ซึ่งจุดกดเจ็บเช่นนี้ถือเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อเพราะมันไม่เพียงเกิดอาการปวดเพียงจุดเดียว แต่อาจแผ่ไปยังจุดอื่นๆ ได้ด้วย หรือที่เรียกว่า referred pain เช่น กดที่ไหล่ แต่ไปรู้สึกที่ขมับ เป็นต้น
โดยจุดกดเจ็บหลายนี้นักวิชาการได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม นั้นคือ
1. Acute MPS
2. Sub-acute MPS
มีอาการปวดที่มากกว่า 2 เดือน แต่ไม่ถึง 6 เดือน การแก้ไขคือหากเลยระยะเวลาอักเสบหรือปวด บวม แดง ร้อน แล้วสามารถประคอบด้วยความร้อนหรือเจลร้อนที่เป็นยาทา ยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับนวดบริเวณดั่งกล่าวเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเลือดและลดการคั่งค้างของของเสีย
3. CHRONIC MPS
มีอาการปวดมากกว่า 6 เดือนที่มีการรบกวนต่อกิจวัตรหรือการทำงาน การนอน และสุขภาพจิตอาจทำวิธีจาก Sub-acute แต่วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวคือคุณเองต้องสำรวจด้วยว่าอาการดั่งกล่าวเกิดจากสาเหตุใด และพยายามหลีกเลี่ยงก่อน หากกิจกรรมดังกล่าวไม่สามารถหยุดหรือเลิกทำ สิ่งทำคัญที่จะช่วยแก้ไขในระยะยาวคือหลังจากอาการปวดดีขึ้นคุณจะต้องเริ่มออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้แก่กล้ามเนื้อ
ซึ่งถ้าหากเราสามารถแยกได้พอคร่าว ๆ ว่า จุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อของเราเป็นแบบไหน ก็จะทำใฝห้การนวดมีความปลอดภัยและส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดอาการระบมลดลง
เมื่อเกิด “อาการระบมของกล้ามเนื้อ” ดูแลอย่างไร?
ปกติแล้ว อาการไม่พึงประสงค์หลังการนวดที่พบบ่อย ได้ อาการกล้ามเนื้อระบมหลังการนวด มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้หลังการนวด รู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวไม่มีแรงหลังการนวด โดยปกติอาการพวกนี้สามารถเกิดขึ้นได้และหายได้เองภายใน1-2 วันหลังการนวด โดยไม่ต้องรับประทานยาบรรเทาปวด อาจใช้เพียงการประคบ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆประคบบริเวณที่ปวด และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการใช้งานกล้ามเนื้อ ลดการทำงานหนัก และหลีกเลี่ยงการตากแดดตากฝนตากลม เพื่อป้องกันการเป็นไข้ อาการก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากมีมีอาการรุนแรงและเป็นอยู่หลายวัน ควรรับประทานยาบรรเทาปวดได้ ถ้ายังไม่หายควรไปรับการปรึกษากับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด หรือควรทำการส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบันนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ปวดเอวเวลานอน-สาเหตุการนอนไม่หลับ แก้ยังไงดี
- ยืดน่อง ลดตึง – 3 ท่ายืด ลดอาการบวมตึงที่น่อง
- น่องตึง บวม เกิดจากอะไรได้บ้าง หากหายแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำหรือไม่?