กระดูกสันหลังคด ปวดหลัง รีบแก้ให้หายก่อนสายไป
กระดูกสันหลังคด ปวดหลัง แม้จะเป็นอาการที่ดูเหมือนธรรมดาแต่ต้องบอกก่อนว่าส่งผลต่อผู้ป่วยมากกว่าที่คิด ซึ่งจากที่หลาย ๆ คนทราบนั้น อาการปวดหลังเป็นผลข้างเคียงหรือลักษณะอากรแสดงของภาวะกระดูกสันหลังคดที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้ป่วยหลาย ๆ คนละเลย ไม่ได้สนใจกับอาการนี้มากนัก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดเพราะอาการปวดหลังเป็นเพียงอาการเริ่มต้นที่จะนำมาสู่ผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้เรื่อย ๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องรักษาอาการนี้ให้หายก่อนที่ปัญหาอื่นจะตามมาอีก
กระดูกสันหลังคด ปวดหลัง อาการที่ผู้ป่วยไม่ควรชะล่าใจ
ภาวะกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่เกิดการบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้มีการผิดรูปและเกิดการไม่สมดุลกัน โดยสังเกตได้จากด้านหลังผู้ป่วยจะมีลักษณะที่คล้ายดังรูปด้านล่าง ซึ่งจะสังเกตเห็นความผิดปกติจากระดับไหล่ สะบัก หรือเอวที่ไม่เท่ากันได้ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้มีโอกาสเพิ่มองศาการคดของกระดูกมากขึ้น และการ รักษากระดูกสันหลังคด จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ดังนั้นการ รักษากระดูกสันหลังคด จะได้ผลดีที่สุดเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาในช่วงที่เหมาะสม และการดำเนินของโรงยังไม่รุนแรง
โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ…
โรคกระดูกสันหลังคด หรือ scoliosis คือ ภาวะที่แนวกระดูกสันหลังที่ผิดรูปมีการคดโค้งออกไปด้านข้าง โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย เป็นกระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ (diopathic scoliosis) ซึ่งมักจะบในช่วงอายุระหว่าง 10- 15 ปี สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติ หรือเกิดร่วมกับโรคพันธุกรรมอื่นๆ เป็นต้น
สาเหตุของกระดูกสันหลังคด มีอะไรบ้าง?
กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ
- โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น
- โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ
อาการกระดูกสันหลังคด มีอะไรบ้าง?
อาการกระดูกสันหลังคดนั้น มีหลายประการด้วยกัน ได้แก่
- แนวกระดูกสันหลังคด ไม่ตรง
- ไหล่ หรือสะโพก 2 ข้าง สูงไม่เท่ากัน
- ด้านหลังอาจมีกระดูกนูน เห็นชัดในท่าก้มตัวไปข้างหน้า
- มีอาการปวดบริเวณต่างๆ เช่น ปวดคอ ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก ปวดขา ชาแขน หรือชาขา เป็นต้น
- บางรายอาจมีอาการปวดรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดศีรษะชนิดรุนแรง ปวดหลังมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
- อาจมีขาสั้น ยาว ไมเท่ากัน บางรายชัดเจนมากจนทำให้การเดินผิดปกติ
- มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติเวลาออกแรง หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ
ปวดหลังจากกระดูกสันหลังคด ส่งผลข้างเคียงอะไรอีกบ้าง?
จากปัญหาปวดหลังจากกระดูกสันหลังคดนี้ อาการข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยต้องพบเจอเพิ่มเติม คือ กระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วขึ้นกว่าคนทั่วไป เกิดอาการปวดหลังได้ง่าย นอกจากนี้สำหรับผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังช่วงอกคดมาก อาจส่งผลต่อระบบหายใจ ปอดขยายได้น้อยลง ส่งผลให้คนไข้หายใจไม่เต็มที่ เหนื่อยได้ง่ายยิ่งขึ้น ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่กระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม อาจจะไปกดเบียดเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการที่เกิดจากการบดเบียดเส้นประสาทได้ เช่น ปวดร้าวลงขา ขาชา และขาอ่อนแรง ผู้ป่วยไม่สามารถเดินระยะทางไกลได้ เป็นต้น
อวัยวะไหนบ้างที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะกระดูกสันหลังคด
แม้จะมีต้นตอจากกระดูกสันหลัง แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมีอยูมากมายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น…
อาการปวดหลัง
ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังตั้งแต่เด็ก อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาเมื่อมีอายุมากขึ้น
หัวใจและปอด
เมื่อกระดูกสันหลังมีการคดและบิดมากๆอาจจะส่งผลให้กระดูกซี่โครงที่บิดตามไปกดทับต่อหัวใจและปอดได้ ทำให้กระทบต่อระบบการเต้นของหัวใจ และการหายใจ
โครงสร้างร่างกาย
เมื่อกระดูกสันหลังของผู้ป่วยเริ่มคดมากขึ้นในระดับนึงแล้ว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างร่างกายที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดจากภายนอก เช่น ระดับความสมดุลของไหล่และสะโพกไม่เท่า หรือ การบิดของกระดูกซี่โครง สิ่งเหล่านี้มักจะกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยเมื่อต้องออกจากบ้าน
กายภาพบำบัดสำหรับฟื้นฟูกระดูกสันหลังคด
เมื่อพบภาวะกระดูกสันหลังคด การรักษาทางกายภาพบำบัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยชะลอการเพิ่มมุมการคดของกระดูกสันหลังได้ โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมิน วิเคราะห์ภาวะกระดูกสันหลังคด และออกแบบแนวทางการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
เครื่องมือกายภาพบำบัดที่สามารถช่วยปรับแนวกระดูกสันหลังที่คดอยู่ให้ดีขึ้น
นักกายภาพบำบัดจะตรวจภาวะกระดูกสันหลังเพื่อประเมินภาวะคดโค้งทั้งแนวกระดูกเพื่อวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล เพราะความคดโค้งของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป เครื่องมือดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องดึงคอและกระดูกสันหลังไฟฟ้า (Electrical Traction Therapy)
ช่วยยืดกล้ามเนื้อและลดการกดทับเส้นประสาทปรับแนวกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังให้อยู่ในแนวปกติ เพิ่มช่องว่างระหว่างแนวกระดูกสันหลัง
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulator)
เป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังทั้งสองด้านให้ลดการหดสั้นและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลังและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในมัดที่อ่อนแรง ปรับสมดุลของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดสะบัก ปวดหลังและสะโพกได้
ปากกาไฟฟ้า (Point stimulator)
ปากกาไฟฟ้าช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกของแนวกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอถึงส่วนหลัง ทั้งนี้อาจมีการสอนการจัดท่าในการใช้ชีวิตประจำวัน การนั่ง การนอน การทรงตัว การฝึกการหายใจให้ถูกต้องเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด เนื่องจากการออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าวคือวิธีที่เป็นแบบเฉพาะที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับแต่ละคน
การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง (Brace)
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตของกระดูก หรือมีอาการกระดูกสันหลังคดในระดับปานกลางสวมเสื้อเกราะดัดหลัง (Brace) ที่จะช่วยป้องกันกระดูกไม่ให้เกิดความคดงอมากขึ้น
ท้ายที่สุด โรคกระดูกสันหลังคดเป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกวัยตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งกระดูกสันหลังคด อาการหรือสัญญาณที่สามารถสังเกตได้ทั่วไปมีหลายอย่าง เช่น สะโพกไม่เท่ากัน ไหล่สองข้างไม่เท่ากัน ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อก้มลงแล้วสังเกตเห็นว่าหลังด้านซ้ายและขวาสูงไม่เท่ากัน เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการรักษากระดูกสันหลังคดนั้นขึ้นอยู่กับระดับของอาการ คนไข้ที่มีลักษณะอาการดังกล่าว หรือสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังคด สามารถรับการตรวจจากแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ชัดเจน และการวางแผนการดูแลสุขภาพหรือแนวทางการรักษาต่อไป
คำถามที่พบบ่อย
กายภาพบำบัดสามารักษาภาวะกระดูกสันหลังคดได้รึเปล่า
การรักษาทางกายภาพบำบัดจะเน้นไปทางด้านการออกกำลังกายสำหรับลดองศาการคดของกระดูกสันหลัง ทำให้โครงสร้างร่างกายดีขึ้น และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ผลของการรักษาจะช่วยทำให้
-
- ลดอาการปวด
- พัฒนาการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น
- การหายใจที่ดีขึ้น
การรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยของอาการและภาวะการคดของผู้ป่วยแต่ละคน ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องมีการฝึกหายใจร่วมด้วย ขณะที่หลังการรักษาผู้ป่วยยังจำเป็นต้องหมั่นฝึกบริหารออกกำลังกายเองที่บ้าน ซึ่งเป็นท่าออกกำลังกายที่นักกายภาพบำบัดสอนและสามารถทำเองได้โดยปลอดภัย อย่างไรก็ตามการรักษาทางกายภาพบำบัดจะไม่สามารถทำให้ภาวะกระดูกสันหลังคดหายได้ถาวร ผู้ป่วยยังจำเป็นที่ต้องหมั่นออกกำลังกายด้วยตัวเอง และนัดติดตามอาการเป็นระยะ แต่การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดจะสามารถทำให้องศาการคดของกระดูกสันหลังน้อยลงและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัด และลดความเสี่ยงที่แทรกซ้อนตามมาภายหลังการผ่าตัด
ภาวะกระดูกสันหลังคดเจ็บรึเปล่า
โดยส่วนมากผู้ป่วยที่อยู่ในวัยเด็ก หรือ วัยรุ่น มักไม่มีอาการปวดจากภาวะกระดูกสันหลังคด แต่หากเริ่มมีอาการปวดหลัง อาจสันนิษฐานได้ว่าองศาของการคดเริ่มมีอาการรุ่นแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูก ข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อ
ภาวะกระดูกสันหลังคดจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นรึเปล่า
โดยส่วนมากแล้วกระดูกสันหลังของคนส่วนใหญ่อาจพบว่ามีลักษณะการคดเพียงเล็กน้อยและไม่ได้มีการคดมากขึ้นตามช่วงอายุ แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงควรที่จะต้องมีการนัดตรวจระดับองศาการคดอย่างน้อยทุกๆ 4-6 เดือน เพื่อสามารถวางแผนรักษาได้ง่ายขึ้น หากพบเจอระดับการคดที่มากขึ้น
ภาวะกระดูกสันหลังคดทำให้มีปัญหาด้านการเดินและการหายใจ
เมื่อผู้ป่วยมีภาวะกระดูกสันหลังที่คดมากขึ้น การคดอาจจะทำให้เกิดการคดเบียดต่อไขกระดูกสันหลัง ซึ่งทำการเกิดการสูญการทำงานร่วมกันของกลุ่มกล้ามเนื้อขาทำให้ผู้ป่วยเดินแบบปกติได้ยากขึ้น ขณะเดียวกันการบิดของกระดูกซี่โครงก็ส่งผลต่อการกดเบียดไปที่หัวใจและปอด ทำให้กระทบต่อระบบหายใจและการเต้นของหัวใจเช่นกัน
ภาวะกระดูกสันหลังคดมากแค่ไหนถึงต้องเข้ารับการรักษา
หากพบมีภาวะกระดูกสันหลังคดเพียงเล็กน้อยควรหมั่นที่จะติดตามตรวจเช็คระดับองศาการคดสม่ำเสมออย่างน้อย 4-6 เดือนต่อครั้ง และจะเริ่มวางแผนการรักษาเมื่อตรวจพบว่าองศาการคดเริ่มมากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้จนกระทั้งระดับองศาการคดเริ่มมากกว่า 50 องศา โดยปกติแพทย์จะพิจารณาถึงการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
ภาวะกระดูกสันหลังคดอันตรายรึเปล่า
ภาวะกระดูกสันหลังคดเหมือนจะไม่ได้ส่งผลต่อชีวิต แต่จะมีผลต่อระบบการหายใจและระบบการเต้นของหัวใจ ขณะเดียวกันการรักษาในปัจจุบันยังมีทางเลือกการรักษาไม่มากนัก ที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
กระดูกสันหลังคด รักษาที่ไหนดี
สำหรับสถานที่รักษาภาวะโรคกระดูกสนหลังคดนั้น จะขึ้นอยู่กับระดับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนซึ่งสามารถอิงได้จากแนวทางการรักษาตามที่กล่าวจากด้านบน ซึ่งสถานที่ให้การรักษาสามารถเป็นได้ทั้ง คลินิคกายภาพบำบัด โรงพยาบาล และสถานที่รักษาแบบเฉพาะทาง ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาจึงต้องเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยระดับอาการก่อน เพื่อที่จะได้เลือกสถานรักษาที่เหมาะกับตนเองรวมถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้อง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร