ปวดหลังเหมือนเข็มทิ่ม เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?
ปวดหลังเหมือนเข็มทิ่ม อาจเป็นภาวะอาการที่หลาย ๆ คนไม่เคยพบมาก่อนหรืออาจเคยเป็นแต่ไม่รู้ตัว เพราะมีความเข้าใจว่าอาการปวดหลังก็เหมือน ๆ กันหมดและเป็นภาวะปกติที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ แต่เดี๋ยวก่อน..แนวคิดเช่นนี้ก็ไม่ผิดอะไรนักแต่ทุก ๆ คนต้องปรับความเชื่อเสียใหม่ จริงอยู่ที่อาการปวดหลังสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ไม่ใช่ว่าอาการที่เกิดจะเหมือนกันหมด โดยเฉพาะอาการปวดหลังจี๊ด ๆ คล้ายเข็มทิ่ม เช่นนี้ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของกล้ามเนื้อหลังอักเสบก็เป็นได้ โดยในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าอาการนี้คืออะไรกันแน่ และอันตรายแค่ไหน
ปวดหลังเหมือนเข็มทิ่ม เกิดจากอะไร มีโอกาสเป็นอาการเรื้อรังหรือไม่?
อาการปวดหลังที่พบบ่อย มักเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากเกินไป หรือเกิดจากอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งบางกรณีอาการจะหายได้เองหากงดการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นสักพัก หรือหากเป็นไม่มาก การใช้ยาทาภายนอกก็จะช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ กรณีมีอาการปวดหลังที่พ่วงด้วยอาการอื่นๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่กำลังบอกว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกายนอกเหนือจากกล้ามเนื้อ และถึงเวลาที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตรงจุด
อาการปวดหลังแบบผิดปกติที่อาจเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหลังอักเสบ
จากที่ได้บอกไปว่าอาการปวดหลังนั้นมีหลากหลายรูปแบบ โดยการเจ็บจากกล้ามเนื้อนั้นสามารถสังเกตด้วยอาการเบื้องต้นเหล่านี้..
- ปวดแบบเจ็บแปลบเหมือนเข็มจิ้ม
- มีอาการปวดที่เดิมๆ อย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์
- เคลื่อนไหวอย่างอิสระไม่ได้ เช่น ก้มตัว ยืดตัวตรง
- ปวดมากจนรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ อาการไม่ทุเลาลง
กล้ามเนื้อหลังอักเสบเกิดจากอะไร
โดยปกติแล้วการอักเสบแบบเรื้อรังนั้นมักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ การเล่นกีฬาโดยใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำๆ ทุกวัน เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะเกิดการเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนอักเสบ ที่เรียกว่า จุดกดเจ็บ ซึ่งเจ้าก้อนเนื้อนี้เองเป็นตัวการทำให้เกิดโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น พนักงานออฟฟิศ นักกีฬา ผู้ที่ทำอาชีพแบกหาม เป็นต้น
ลักษณะอาการของกล้ามเนื้อหลังอักเสบ
ปัญหาการปวดหลัง กล้ามเนื้อหลังอักเสบ หรือบาดเจ็บที่หลังสามารถพบได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. อาการปวดหลังบริเวณบั้นเอว
มีอาการปวดตั้งแต่บริเวณนั้นเอขึ้นไป อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง ถ้าเป็น้อยจะมีแค่อาการปวดเมื่อย ถ้ามีอาการมากจะปวดอยู่ตลอดเวลาและมีอาการหลังแข็งเกร็งทำให้เดินตัวเอียง สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหลังที่มีการหดเกร็ง หรือมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อหลังบางส่วน เมื่อมีการบิดหรือเอียงตัวทันทีขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
2. การบาดเจ็บที่กึ่งกลางหลังตรงกระเบนเหน็บ
เป็นอาการปวดหลังที่พบบ่อยอีกประเภท คือ มีอาการปวดเฉพาะบริเวณกึ่งกลางหลังกระเบนเหน็บมักพบในผู้สูงอายุจะมีอาการปวด เมื่อเคลื่อนไหวเอี้ยวตัวจะไม่มีอาการปวดร้าวไปจุดอื่น ถ้ามีอาการมากจะปวดตลอดเวลา สาเหตุเกิดจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังชื่งเป็นส่วนที่ต่อกับกระดูกเชิงกราน เนื่องจากเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ จึงเป็นง่ายกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่นๆ พบมากในผู้สูงอายุ
กล้ามเนื้ออักเสบรักษาแบบไหน แบ่งออกได้เป็นกี่วิธี
สำหรับอาการนี้สามารถแบ่งวิธีรักษาได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
รักษาด้วยการใช้ยา
โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) ยาที่สามารถซื้อทานเองได้ตามร้านขายยา ได้แก่ ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาต้านอักเสบ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และไดโคฟีแน็ก เป็นต้น
การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เป็นกระแสไฟฟ้าบำบัดเพื่อช่วยในการลดปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า ES ซึ่งช่วงกระแสไฟนี้ จะมีช่วงความถี่ต่ำที่สบายผิว และไม่ละคายเคือง เราจะเลือกใช้ให้เห็นผลถึงการคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและกล้ามเนื้อชั้นลึก โดยผู้รักษาจะมีความรู้สึกสั่นสบายระหว่างการกระตุ้น และรู้สึกถึงการคลายในระดับกล้ามเนื้อชั้นลึกตรงจุดที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
- เครื่องอัลตร้าซาวด์ เป็นเครื่องรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ผลความร้อนในลักษณะความร้อนลึกโดยปล่อยความร้อนลึดออกมาใต้ผิวหนังที่ 2-5 cm. ใช้ลดอาการปวด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อในชั้นลึก ลดอาการบวม และช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมทั้งคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น โดยการประคบนั้นช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง ช่วยบรรเทาอาการปวด และลดบวมได้ดีอีกด้วย ซึ่งก็จะมีการใช้แตกต่างกันไป
กล้ามเนื้ออักเสบใช้เวลารักษานานแค่ไหน
สำหรับระยะเวลาในการรักษาโดยทั่วไป อาการกล้ามเนื้อ หรือ เอ็นอักเสบ จะใช้เวลาราว 2-4 สัปดาห์ ก็จะหายดี หากได้พักอย่างเต็มที่ แต่ในกรณีที่ใช้งานกล้ามเนื้อหลังหรือกล้ามเนื้อนั้น ๆ อยู่ซ้ำ ๆ เช่น เล่นกีฬา นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ และยกของหนัก ฯลฯ ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้พัก และทำให้หายช้าลงได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ด้วยการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ ซึ่งการกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ตลอดจนฟื้นฟูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและอักเสบให้ดีขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและใช้งานกล้ามเนื้อได้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้ที่กำลังมีภาวะอาการควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาที่เหมาะกับระดับอาการของตนเองและถูกจุดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่คาดหวังด้วย
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วิดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวิดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- “ปวดหลังเรื้อรัง” พฤติกรรมที่ทำให้คุณปวดหลังแบบไม่รู้ตัว
- “โรคกระดูกสันหลัง” 4 โรคที่ควรระวังปล่อยไว้อาจส่งผลเสีย
- เครื่องมือกายภาพ 5 แบบมีอะไรบ้างแต่ละแบบรักษาอย่างไร