“โรคหัวไหล่” : 3 โรคอันตรายที่ต้องคอยระวัง
“โรคหัวไหล่” เป็นกลุ่มอาการที่เราต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจาก “ไหล่” ถือเป็นอวัยวะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของร่างกายเพราะไม่ว่าจะเดินเหินไปที่ไหน หรือ การเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตาม เราก็มักจะต้องใช้ไหล่ในการทรงตัว อีกทั้งหัวไหล่ยังเป็นแหล่งของของต่อสำคัญๆ และส่วนประสาทหลายส่วนของร่างกาย ซึ่งแปลว่าในการบาดเจ็บหัวไหล่แต่ละครั้ง หากเป็นอาการที่รุนแรงก็อาจจะส่งผลต่อระบบส่วนอื่นๆ ของร่างของเราด้วยนั่นเอง ดังนั้นการดูแลหัวไหล่จึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะในปัจจุบันมีโรคร้ายแรงหลายชนิดที่สามารถเกิดกับหัวไหล่ของเราได้หากไม่ระวัง
“โรคหัวไหล่” โรคร้ายแรงที่ต้องคอยระวัง
กระดูกของหัวไหล่นั้นเป็นกลุ่มหัวกระดูกที่เบ้าไม่ลึกมาก ประกอบขึ้นเป็นข้อๆ อย่างหลวมๆ โดยจะมีเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ยึดอยู่รอบๆ และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ข้อกระดูกตรงหัวไหล่สามารถหลุดได้ง่ายกว่าบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นกับข้อไหล่อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือเรื้อรังและมีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรค
โรคหัวไหล่ที่อันตราย มีโรคอะไรบ้าง
ประกอบด้วย 3 โรค คือ ภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีก ข้อไหล่ติด และข้ออักเสบ
1.ภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีก
เป็นปัญหาที่พบบ่อยทั้งในคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดและไม่สามารถใช้งานไหล่ได้ปกติ ส่วนใหญ่เส้นเอ็นมักฉีกขาดบริเวณตำแหน่งที่เส้นเอ็นเกาะกับกระดูกต้นแขน (Humerus) ซึ่งอาจฉีกเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้ สาเหตุ สาเหตุหลักของเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด คือการบาดเจ็บที่ไหล่และการสึกหรอของเนื้อเยื่อเอ็น กระบวนการเสื่อมและกิจกรรมในท่าทางที่ต้องยกแขนเหนือศีรษะซ้ำๆ ยังเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด อาการ เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดทำให้เกิดอาการเจ็บซึ่งอาจนำไปสู่อาการและภาวะอื่นๆดังต่อไปนี้
- ปวดบริเวณไหล่
- การรบกวนระหว่างการนอนหลับ
- ความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การหวีผมและการเอื้อมแขนไปด้านหลัง เป็นต้น
- แขนอ่อนแรง
การรักษา
- การฉีดยา อาจใช้การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดที่อาจรบกวนการนอนหลับและการใช้ชีวิตประจำวันอื่น ๆ
- การบำบัด แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับไหล่ของคุณ นอกจากนี้ยังอาจเป็นกระบวนการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดด้วย
- การผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำทางเลือกในการผ่าตัดให้กับผู้ที่มีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดอย่างรุนแรง เพื่อนำเส้นเอ็นที่ฉีกขาดเชื่อมติดเข้ากับกระดูก ทางเลือกของการผ่าตัดอาจรวมถึงการผ่าตัดอาจจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแพทย์ในการรักษาด้วย
2.ข้อไหล่ติด
เป็นภาวะที่มีการขยับข้อไหล่ได้น้อย โดยมักจะเริ่มจากไม่สามารถยก กาง หรือหมุนหัวไหล่ได้ ข้อไหล่จะค่อย ๆ ลดการเคลื่อนไหวจนกระทั่งเคลื่อนไหวได้น้อยลง และพบว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจมีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อไหล่มาก่อนและมีการหยุดเคลื่อนไหวข้อไหล่ไปชั่วคราวอาจมีโอกาสข้อไหล่ติดด้วยเช่นกัน ผู้สูงอายุมักมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าวัยอื่น ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการอาจสะสมจนเป็นมากขึ้น สาเหตุ เกิดจากถุงที่หุ้มข้อหัวไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ข้อไหล่เกิดการอักเสบ การยึดติด และส่งผลให้เกิดการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติและหัวไหลก็เกิดการทำงานที่ผิดปกติในที่สุด โดยความผิดปกตินั้นคือหัวไหล่ไม่สามารถขยับได้เท่าที่ควรจะทำได้และมีอาการปวดร่วมด้วย อาการ จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
-
ระยะที่ 1 Freezing phase เป็นช่วงที่มีที่มีการอักเสบอาการเจ็บปวดที่รุนแรงโดยเฉพาะในช่วงกลางคืนจนรบกวนการพักผ่อนและการใช้ชีวิตประจำวัน
-
ระยะที่ 2 Frozen phase ระยะนี้จะมีอาการปวดลดลงแต่จะมีอาการติดแต่มีอาการติดของไหล่มากขึ้น โดยเฉพาะการหมุนแขน เข้า-ออกและการกางแขน ผู้ป่วยมักบอกว่าไม่สามารถกางแขน เอื้อมมือหวีผมไม่ได้ ในเพศหญิงจะติดตะขอเสื้อในด้านหลังไม่ได้
-
ระยะที่ 3 Thawing phase เป็นช่วงที่ผู้ป่วยขยับไหล่ได้น้อยลง อาการเจ็บปวดก็น้อย
การรักษา สามารถแบ่งออกได้เป็นการรักษา 3 แบบ คือ
- รักษาตามระยะการปวด โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะมีตั้งแต่ระยะปวดมากไปจนถึงระยะน้อยลงแต่ยังมีการยึดติดที่มากซึ่งส่วนใหญ่จะหนักไปทางการ ฉีดยา ให้ยา และรับประทานยาร่วมด้วย
- รักษาด้วยกายภาพบำบัด ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการบรรเทาอาการปวดโดยจะใช้ตั้งแต่อุปกรณ์ทั่วไป เช่น แผ่นเจลล์ประคบไปจนถึงการรักษาการดึงไหล่ด้วยเครื่องดึง ด้วยคลื่นไฟฟ้า คลื่นเหนือเสียง เป็นต้น
- รักษาด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งจะเป็นการทำกายบริหารง่ายๆ ที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เอง ซึ่งการออกกำลังกายหรือท่าต่างๆ ที่สามารถทำได้นั้นควรมีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกายภาพคอยแนะนำอย่างถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพของผลการรักษาที่ดี
3.ข้ออักเสบ
เป็นโรคที่มีความเสี่ยงตามอายุ และสามารถเกิดขึ้นได้จากโรครูมาตอยด์ และโรคเก๊าท์ โดยอาการของโรคนี้จะทำให้ข้อมีอาการปวดบวมแดง เคลื่อนไหวได้ลำบาก หากปล่อยไว้อาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นอาการติดเชื้อที่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นหากมีสัญญาณเตือนให้เข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจให้แน่ใจและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ สาเหตุ เป็นการเสื่อมสภาพของข้อ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประการ และสามารถเกิดขึ้นได้หลายส่วน ซึ่งสามารถแบ่งออกหลัก ๆ ได้ดังนี้
- จากการติดเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส
- ข้อต่อเกิดการสะสมของผลึกกรดยูริก
- เกิดได้จากโรครูมาตอยด์ หรือโรคเก๊าท์
- การเสื่อมสภาพ หรือสึกหรอตามอายุการใช้งานของข้อต่อ
อาการ อาการที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- ข้ออักเสบเรื้อรัง
เกิดจากความทรุดโทรมของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อกระดูกค่อย ๆ หายไป ทำให้ข้อกระดูกเสียดสีกันเวลาเคลื่อนไหวจนเกิดอาการข้อยึด ส่งผลให้ปวดบริเวณข้อ โดยเฉพาะเวลาอากาศเย็น
- ข้ออักเสบรูมาตอยด์
เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เกิดการทำลายข้อต่อกระดูกของตนเอง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัยและเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเพศชาย ทั้งยังเป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคข้ออักเสบ การรักษา การรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่เบื้องต้นคือการหลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักของข้อ และให้ออกกำลังกาย เพื่อทำให้ข้อมีความยืดหยุ่น เช่น ว่ายน้ำ รวมไปถึงพยายามประคบทั้งร้อนและเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้โรคข้ออักเสบยังมีวิธีรักษาอยู่อีกหลายวิธี ดังนี้
- รักษาด้วยยา ผู้ป่วยสามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค รวมถึงระงับอาการปวดได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาทา ยากลุ่มเอ็นเสด และยารักษาโรครูมาตอยด์ เป็นต้น
- ทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดหรือการออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อข้อ สามารถช่วยฟื้นฟูได้ในระดับหนึ่ง
- การผ่าตัด : หากไม่สามารถรักษาด้วยยา และทำกายภาพบำบัดแล้วไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดทั้งการผ่าตัดข้อต่อ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นต้น
ท้ายที่สุด หากเกิดอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวไหล่ดังกล่าว ทุกคนไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวเชาญเพื่อตรวจให้แน่ใจและรับการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรปล่อยปะละเลยจนสายเกินแก้ เพราะโรคเหล่านี้หากเกิดขึ้นมาแล้วและมีระดับความรุนแรงของอาการที่สูง โอกาสที่จะหายก็จะยิ่งเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งดีที่จะไหวตัวไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของเรา
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน