เอ็นไขว้หน้าอักเสบ ทำอย่างไรดี ต้องผ่าตัดหรือไม่?
“เอ็นไขว้หน้าอักเสบ” เป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหัวเข่าที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ข้อเข่าบิดตัวอย่างรุนแรงกะทันหัน เช่น การถูกกระแทกขณะเล่นกีฬา เป็นต้น อย่างไรก็ดี การที่มีสาเหตุการบาดเจ็บเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้ชีวิตประจำวันและถ้าหากเส้นเอ็นชนิดนี้เกิดอาการอักเสบขึ้นมาจริงๆ ก็จะส่งผลต่อหัวเข่าโดยตรง เนื่องจากเอ็นไขว้หน้านั้นมีหน้าที่คอยยึดข้อเข่าให้มีความมั่นคง ดังนั้น หากเส้นเอ็นชนิดนี้มีปัญหาก็จะทำให้การเดินและการเคลื่อนไหวอื่นๆ มีปัญหาตามไปด้วย
“เอ็นไขว้หน้าอักเสบ” เกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไร?
เอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament – ACL) เป็นหนึ่งในเอ็นหลักของเข่า อยู่ลึกเข้าไปในบริเวณส่วนกลางของข้อเข่า ช่วยรักษาความมั่นคงของข้อเข่าในการเคลื่อนไหว มีหน้าที่ป้องกันการบิดหมุนของข้อเข่า
สาเหตุ
สาเหตุของเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดมักเกิดจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่มีการบิดหมุนตัว มีการกระโดด เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน เป็นต้น เมื่อมีการบิดหมุนเข่าจะมีแรงไปกระทำต่อเส้นเอ็นไขว้หน้า ซึ่งทำให้เส้นเอ็นไขว้หน้าเกิดการฉีกขาดได้
อาการ
อาการเส้นเอ็นไขว้หน้าอักเสบสามารถแบ่งออกเป็น 2 อาการหลักๆ คือ
-
ระยะเฉียบพลัน
มีอาการปวดเข่าอย่างรุนแรง มีอาการเข่าบิด มีอาการปวด ต้องหยุดเล่นกะทันหัน เข่าบวม ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักข้างที่มีอาการบาดเจ็บได้
-
ระยะเรื้อรัง
เมื่อมีอาการเอ็นไขว้หน้าฉีกขาดและไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด จะมีอาการเข่าหลวม เข่าไม่มั่นคง ไม่สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม เสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อหมอนรองเข่าและกระดูกอ่อนหัวเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย
เอ็นไขว้หน้าอักเสบ ต้องผ่าตัดหรือไม่?
การรักษาเอ็นเข่าฉีกขาด แบ่งเป็น 3 กรณีตามความรุนแรง
แนวทางการรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นชนิดนี้สามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด โดยจะขึ้นอยู่กับอายุและระดับการทำกิจกรรมของผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยที่อายุน้อย นักกีฬา หรือผู้ที่มีความต้องการมีการใช้งานข้อเข่าแบบคล่องตัวมักจะต้องใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด
- กรณีเนื้อเยื่อบางส่วนของเอ็นฉีกขาด แพทย์จะรักษาด้วยยาบรรเทาปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ใส่ผ้าพยุงเข่า หรือทำกายภาพบำบัด งดการใช้เข่าชั่วคราว
- กรณีเอ็นฉีกขาดบางส่วน แพทย์จะพิจารณาร่วมกับผู้ป่วยว่าจะผ่าหรือไม่ ถ้าไม่ผ่าตัดอาจให้พักหรือใส่เฝือกไว้
- กรณีเอ็นเข่าฉีกขาด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด เย็บซ่อมเอ็น หรือสร้างเอ็นใหม่
แต่เนื่องด้วยพบว่าการสมานตัวของเส้นเอ็นไขว้หน้าที่ฉีกขาดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น “การผ่าตัด” จึงสำคัญ การผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าในปัจจุบันใช้วิธีการส่องกล้องผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า (Arthroscopic ACL reconstruction) และใช้เส้นเอ็นจากตำแหน่งอื่นมาทำเอ็นไขว้หน้าใหม่ ซึ่งพบว่า 95% ของผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดสามารถกลับไปใช้ชีวิตและเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม
ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัด
เนื่องจากเอ็นไขว้หน้าเข่าที่ฉีกขาดมีแรงดึงในตัวเอ็น ส่งผลให้เมื่อฉีกไปแต่ละปลายของเอ็นจะหดตัวห่างจากกันไปเรื่อย ๆ การสมานของเอ็นด้วยตัวเองจึงไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการผ่าตัดผ่านกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าเข่าขาดจึงเป็นอีกทางเลือกในการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง เพราะ
- ได้ผลดี
- หายเร็ว
- งอเข่าได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรก
- ฟื้นตัวไวเมื่อทำกายภาพบำบัด
- โดยในการเดิน การใช้ไม้ค้ำยันจะแตกต่างตามอวัยวะที่บาดเจ็บ มีตั้งแต่ไม่ใช้เลยจนถึงใช้เต็มที่ 4 สัปดาห์
ท่ากายบริหารสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเส้นเอ็นเข่า
1) การฝึกยืนบนเบาะนุ่มๆ และงอเข่าเล็กน้อยค้างไว้ 30 วินาที ขณะที่ฝึกหลังต้องตรงนะครับ ไม่ใช้มือยันขาใดๆ และอาจจะเพิ่มความยากอีกนิดโดยการหลับตาในขณะที่ทำด้วย 2) ฝึกงอเข่าหนีบลูกบอล โดยให้ยืนชิดกำแพงนำลูกบอลหนีบไว้ระหว่างเข่าสองข้าง จากนั้นหนีบลูกบอลแล้วค่อยๆงอเข่าลงแล้วเหยียดเข่าขึ้นนับเป็น 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้งนะครับ ซึ่งในขณะที่ทำหากมีอาการปวดเข่าควรหยุดออกกำลังกายทันที เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นได้ 3) ฝึกเตะขา โดยนั่งเก้าอี้ขาพ้นจากพื้น แล้วเตะขาขึ้นโดยมีถุงทรายถ่วงขานํ้หนัก 1 กิโลกรัม ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วเอาขาลง จัดว่าเป็นท่าเบสิกเลยละครับ 4) การปั่นจักรยานก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีไม่แพ้กันนะครับ เพราะเฉพาะคนที่ยังรู้สึกว่ายังยืน เดินไม่สะดวก มีเข่าติดบ้างก็ให้ปั่นบ่อยๆเลยนะ เบื้องต้นอาจจะปั่นแบบไร้แรงต้านไปก่อนคับ จนแข็งแรงดีขึ้นแล้วก็เพิ่มระดับแรงต้านของการปั่นนะ 5) ในรายที่ฝึกออกกำลังกายไม่ได้เลยตามที่แนะนำไปตั้งแต่ 1-4 เนื่องด้วยอาการปวด แนะนำให้ไปเดินในนํ้าความสูงระดับเอวดู หรือว่ายนํ้าตีขาเบาๆเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา อย่างไรก็ดี นอกจากจะเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในนักกีฬาหรือผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายแล้ว บุคคลทั่วไปก็สามารถเกิดเจอกับความเจ็บปวดเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น ทุกคนจึงควรระมัดระวังในการเล่นกีฬาหรือการใช้ชีวิตในระหว่างวันเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นเอ็นไขว้หน้าอักเสบนั่นเอง ทั้งนี้ หากหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บเส้นเอ็นชนิดนี้ไม่ได้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องเพื่อที่อาการจะหายได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน