“เส้นประสาท” กับสารพัดโรคที่ควรระวัง
“เส้นประสาท” อวัยวะที่สำคัญที่สุดอีกระบบหนึ่งของร่างกาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่คอยประสานการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของเราให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่จะเป็นตัวส่งคำสั่งในกระตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา อย่างไรก็ดี ขึ้นชื่อว่าสำคัญที่สุด ก็ย่อมตามมาด้วยการมีความเสี่ยงมากที่สุดด้วยเช่นกัน โดยเราต่างรู้ดีว่าเส้นประสาทนั้นมีมากมายอยู่ในตัวเราซึ่งก็ถูกแบ่งไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายและหากเส้นประสาทตรงส่วนใดเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็น อักเสบ เคลื่อน หรือถูกกดทับ ก็จะส่งผลต่อร่างกายเราโดยตรง
“เส้นประสาท” มีส่วนใดบ้าง และทำงานอย่างไร?
องค์ประกอบของระบบประสาท มีอะไรบ้าง?
ระบบประสาทของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย
1.ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)
ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal card) ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
“สมอง” เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่น ๆ ของระบบประสาท บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม หรือ 3 ปอนด์ สมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาท และแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์ แมตเตอร์เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท โดยสมองของสัตว์ชั้นสูงจะเป็นที่รวมของใยประสาทควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ที่บริเวณศีรษะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ ความฉลาด นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมระบบประสาททั้งหมดอีกด้วย
“สมอง”
ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ประกอบด้วย
-
สมองส่วนหน้า (Forebrain)
ประกอบด้วย
ซีรีบรัม (cerebrum)
เป็นสมองส่วนหน้าสุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความนึกคิด ไหวพริบ และความรู้สึกผิดชอบ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ เช่น ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การรับสัมผัส การพูด การมองเห็น เป็นต้น
ทาลามัส (thalamus)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางหรืออยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่อยทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก ก่อนที่จะส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น
ไฮโพทาลามัส (hypothalamus)
สมองส่วนนี้อยู่ใต้ส่วนทาลามัส ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ การนอนหลับ ความดันเลือด ความหิว ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ เป็นต้น
-
สมองส่วนกลาง (Midbrain)
เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา เช่น ทำให้ลูกตากลอกไปมาได้ ปิดเปิดม่านตาขณะที่มีแสงเข้ามามากหรือน้อย
-
สมองส่วนท้าย (Hindbrain)
ซีรีเบลลัม (cerebellum)
อยู่ใต้ส่วนล่างของซีรีบรัม ทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมและราบรื่น อีกทั้งยังเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตัว ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน และจากข้อต่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ซีรีเบลลัมจึงเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
พอนส์ (pons)
เป็นส่วนของก้านสมองที่อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัมติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ควบคุมการหายใจ การฟัง
เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate)
เป็นสมองส่วนท้ายสุด ซึ่งตอนปลายของสมองส่วนนี้ต่อกับไขสันหลัง จึงเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง นอกจากนี้เมดัลลา ออบลองกาตายังทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือด การกลืน การไอ การจาม เป็นต้นสมองส่วนกลาง พอนส์ และ เมดัลลา ออบลองกาตา สมองทั้ง 3 ส่วนนี้รวมเรียกว่า ก้านสมอง (brain stem)
“ไขสันหลัง”
เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากกระดูกสันหลังข้อแรกไปจนถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวของกระดูกสันหลัง และมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มสมอง ดังนั้นเมื่อมีการเจาะน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังหรือการฉีดเข้าเส้นสันหลัง แพทย์จะฉีดต่ำกว่ากระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ลงไปเพราะบริเวณที่ต่อลงไปจะเป็นมัดของเส้นประสาทไขสันหลัง จะไม่มีไขสันหลังปรากฏอยู่โอกาสที่จะเกิดอันตรายกับไขสันหลังมีน้อยกว่าการฉีดเข้าไปบริเวณอื่น นอกจากนี้ หากมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสหลุดเข้าไปในเยื่อหุ้มไขสันหลัง เชื่อโรคจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังอย่างรุนแรงได้ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน
- เนื้อขาว (White matter) เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
- เนื้อเทา (Gray matter) เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง
โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
- ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
- ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
- ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาท
2.ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System)
ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) รากประสาท (spinal nerve roots) เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerves) เส้นประสาทตามร่างกาย (somatic nerves) โดยระบบประสาทส่วนปลายแบ่งตามหน้าที่ออกเป็นส่วนที่ทำ หน้าที่รับความรู้สึก (sensory division) จะนำกระแสประสาทจากตัวรับผ่านเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางตามทางเดินประสาทขาเข้า (afferent/sensory pathway) และส่วนที่ทำหน้าที่สั่งการ (motor division) จะนำคำสั่งออกจากระบบประสาทส่วนกลางไปสู่อวัยวะตอบสนอง (effector organ) ตามทางเดินประสาทขาออก (efferent/motor pathway) ในส่วนของการสั่งการมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ (voluntary) ผ่านระบบประสาทกาย (somatic nervous system) ไปควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) และการควบคุมนอกอำนาจจิตใจ(involuntary) ผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) ซึ่งแบ่งเป็นระบบsympathetic และ parasympathetic ได้แก่ การควบคุมการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) และต่อมต่าง ๆ (glands)
“เส้นประสาท” กับสารพัดโรคที่ควรระวัง
สาเหตุการเกิดจากโรคระบบประสาทและสมอง
โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เป็นโรคอันตราย หากเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงค์ชีวิตอย่างรุนแรง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้
- ความเสื่อมของเซลล์สมองตามวัย เซลล์สมองและระบบประสาทจะเสื่อมลงไปเรื่อยๆหากอายุเพิ่มขึ้น
- ภาพวะสุขภาพของเลือดและหลอดเลือด การสะสมของไขมัน และ คอเรสเตอรัล ทำให้กระตุ้นการเกิดโรคต่างๆเกี่ยวกับสมอง และ ระบบประสาท
- ภาวะการถูกระทบกระเทือนทางสมอง และ ระบบประสาท อย่างรุนแรง
- ภาวะการติดเชื้อโรคต่างๆ
- การเกิดเนื้องอกในสมอง หรือ มะเร็งที่สมอง
- การได้รับสารพิษที่ระบบสมอง
- ความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่กำเนิด
ลักษณะของอาการโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง จะแสดงอาการ 2 ลักษณะที่เกิดจากสมอง และ ระบบประสาทของร่างกาย โดยลักษณะของอาการที่สามารถสังเกตุได้ มีดังนี้
- มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- มีอาการปวดหัว และ ปวดหัวอย่างรุนแรง
- มีอาการมึนๆงงๆ เซื่องซึม
- กล้ามเนื้อของใบหน้าไม่ปรกติ เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด สายตาพร่ามัว เป็นต้น
- การทรงตัวของร่างกายไม่ดี
- มีอาการชา ซึ่งชาตามมือ เท้า และ ใบหน้า
- ไม่มีแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้
- อาจมีอาการชัก
- มีอาการโคม่า หลับสนิทไม่รู่สึกตัว
โรคต่างๆ ที่มักมากับระบบและเส้นประสาท
1.โรคอัมพาต-อัมพฤกษ์ เกิดจากการที่เซลล์สมองขาดเลือด โดยมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน 2.โรคปลายประสาทอักเสบ คือ อาการบวม แดง อ่อนแรง ชาที่แขน และขา ปลายมือ ปลายเท้า พบมากในผู้สูงวัย แต่ในกรณีที่พบในคนอายุน้อย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ 3.โรคกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมของ เส้นเอ็นที่ก่อตัวเป็นหมอนรองกระดูกสันหลัง (annulus fibrosus) จากการทำงานที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรง 4.โรคปากเบี้ยว เกิดจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 บวมหรืออักเสบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต 5. โรคไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทเอง ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากพันธุกรรมที่ผิดปกติ รวมถึงปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฮอร์โมน ความเครียด การอักเสบในร่างกาย เข้ามาร่วมด้วย ส่งผลทำให้เกิดโรคไมเกรนขึ้น 6.โรคเหน็บชา อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาท รับความรู้สึก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่นิ้ว มือ แขน เท้าหรือขา เป็นอาการที่มีความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้อน หรือเย็นน้อยกว่าปกติหรือไม่มีความรู้สึกเลย บางคนอาจรู้สึกซ่าๆ ที่ปลายมือปลายเท้าหรือบริเวณอื่นหรือมีอาการเหมือนมีอะไรยุบยิบๆ ตามปลายมือปลายเท้า แล้วก็หายไปหรือเป็นตลอด ซึ่งอาการชาจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทส่งความรู้สึกของบริเวณที่เป็นนั้นทำงานบกพร่องนั่นเอง 7. โรคหลอดเลือดในสมองแตก คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลง
การป้องกันการเกิดโรคระบบประสาทและสมอง
โรคระบบประสาทและสมอง นั้นโรคหากปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ คือ การดูแลร่างกาย และ การป้องกันปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค โดย แนวทางการป้องกัน การเกิดโรคระบบประสาทและสมอง มีดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- รักษาสุขภาพจิต โดยให้ผ่อนคลาย ไม่ให้เครียดมากเกินไป
- ไม่สูบบุหรี่
- ไม่ดื่มสุรา และ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก
- หมั่นบริหารสมอง หากิจกรรมที่ได้ฝึกสมองบ่อยๆ
- ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุกระแทกร่างกายอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ดี โรคดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรคที่มาพร้อมกับเส้นประสาทและระบบประสาทเท่านั้น ยังมีอีกหลายโรคที่น่าเป็นห่วง และยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นโรคที่ได้ชื่อว่าเป็นภัยเงียบเพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะเกิดขึ้นกับเราตอนไหน ดังนั้นทุกคนจึงควรหมั่นดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ และถ้าหากมีอาการที่น่าสงสัยหรือผิดปกติก็ต้องรีบไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยของระบบประสาท
——————————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- นั่งนาน ปวดหลัง แก้ได้ไม่ยาก
- ปวดกล้ามเนื้อหลัง (Myofascial Pain Syndrome)
- ปวดหัว มึนหัว ปวดกระบอกตา คล้ายไมเกรน