“เจ็บก้นกบ” จากการนั่งนานๆ อาจเป็นโรคร้ายได้
“เจ็บก้นกบ” ปัญหาที่พบบ่อยเนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานด้วยท่าเดิมๆ เป็นเวลานานๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน การเกิดอาการปวดเมื่อย เป็นเรื่องปกติมากๆ เพราะไม่ว่าจะขยับอย่างไร ยืนนานๆ เดินนานๆ นอนนานๆ แม่แต่นั่งเฉยๆ ก็สามารถปวดเมื่อยได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในบางรายก็สามารถหายจากอาการเจ็บปวดเหล่านี้ได้เอง แต่ในผู้ป่วยบางรายก็หายเองไม่ได้ จึงเป็นเหตุที่ต้องพบแพทย์ไปตามระเบียบ อย่างไรก็ดีการปวดที่ก้นกบนั้น เบื้องต้นหากเราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กน้อยก็สามารถป้องกันได้ มีวิธีไหนบ้างที่เราทำตามได้?
“เจ็บก้นกบ” เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของโรคอะไรเปล่า?
อาการปวดกระดูกก้นกบเป็นปัญหานึงที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่รบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดย กระดูกก้นกบ จะมีลักษณะชิ้นกระดูกเล็กๆที่อยู่บริเวณส่วนปลายสุดของกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกส่วนที่เชื่อมติดกับกระดูกกระเบนเหน็บ ทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายเวลาที่เรานั่งกับพื้นหรือเก้าอี้ ดังนั้นเวลาที่เรามีอาการกระดูกก้นกบอักเสบหรือกระดูกก้นกบแตกหักร้าว เราจึงมักมีอาการเจ็บก้นกบเวลานั่งนั่นเอง ทั้งนี้ อาการปวดก้นกบแบบนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกระดูกก้นกบอักเสบ จึงอาจทำให้เรามีอาการปวดเวลาขับถ่ายอุจจาระได้อีกด้วย
สาเหตุของการเจ็บก้นกบ
1.การนั่งผิดท่าทางเป็นเวลานาน
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้มากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เพราะการนั่งทำงานในท่าเอนตัวจะทำให้น้ำหนักร่างกายกดทับลงที่กระดูกก้นกบโดยตรง
2.อุบัติเหตุหกล้มก้นกระแทกพื้น
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะในคนรูปร่างปกติ (ไม่อ้วนมาก) กระดูกก้นกบจะอยู่ชิดกับผิวหนังบริเวณก้น เวลาที่มีอุบัติเหตุหกล้มก้นกระแทกพื้น กระดูกก้นกบจึงมักจะกระแทกกับพื้นโดยตรง ทำให้เกิดอาการกระดูกก้นกบอักเสบ
3.โรคต่างๆ ส่งผลต่อกระดูกก้นกบโดยตรง
เช่น เนื้องอกบริเวณกระดูกก้นกบ การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเกร็งตัว เป็นต้น
4. โรคของอวัยวะอื่นๆ ที่อาจส่งผล
ซึ่งเป็นโรคที่อาจไม่ได้เกิดจากกระดูกก้นกบโดยตรงเช่นโรคทางระบบขับถ่าย หรือ โรคทางระบบสืบพันธ์เพศหญิง เป็นต้น
ลักษณะอาการ
-
มีอาการเจ็บปวดรุนแรงขึ้นเมื่อนั่งลง
-
มีอาการเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อถูกสัมผัส หรือถูกกดทับที่บริเวณกระดูกก้นกบ
-
เมื่อเปลี่ยนจากการนั่งเป็นเป็นท่ายืน มีอาการเจ็บที่กระดูกก้นกบมากขึ้น
-
อาการปวด หรือเจ็บกระดูกก้นกบมากขึ้นเมื่อมีอาการท้องผูก และรู้สึกดีขึ้นหลังจากมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ หรือมีการถ่ายอุจจาระออก
นั่งนานๆ นอกจากเจ็บก้นกบแล้วเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
1.โรคหัวใจ
จากการทดสอบโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำกับกลุ่มคน 2 กลุ่ม นั่นคือ คนขับรถประจำทาง และ คอนดักเตอร์ กับ ยาม รปภ. ที่ไม่ได้นั่งทำงาน เมื่อทานอาหารที่ใกล้เคียงกัน พบว่า คนที่นั่งทำงานทั้งวันนั้น มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ มากกว่าคนปกติ 2 เท่า
2.ปวดหลัง เป็นเส้นเลือดขอด และ และโรคหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตัน
ท่าที่เรานั่งอยู่ทั้งวันอาจทำให้คุณเกิดอาการปวดหลังได้ รวมไปถึงคอ ไหล่ กระดูกสันหลัง และสุขภาพหลังของผู้ป่วยจะยิ่งแย่ อีกทั้ง ขณะเดียวกัน ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นเส้นเลือดโป่ง และคต ที่จะทำให้เจ็บ หรือปวด ซึ่งอันตรายที่จะทำให้ อาจจะต้องทำการผ่าตัด และบางรายนั้น เสี่ยงโรคหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตัน ทั้งที่มีและไม่มีอาการด้วย
3.กระดูกอ่อนแอ
ด้านอาการในระยะยาวนั้น หากไม่ได้มีการใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนาน ๆ ก็ย่อมส่งผลถึงการทำงานของส่วนๆ นั้น ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับทางการยภาพที่จะส่งผล จากการนั่งนานนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็ได้แก่ เดินไม่คล่องแคล่วว่องไว ปวดขาขวดข้อ ลุกก็ปวดนั่งก็ปวด เป็นต้น
แนวทางการรักษา
1.รักษาด้วยยา
-
ทานยาลดอาการปวดและลดอักเสบ
หาผู้ป่วยมีอาการปวดมากแนะนำให้ปรึกษาแพทย์และพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen Diclofenac Celebrex และ Arcoxia
-
ฉีดยาชาและ/หรือยาสเตียรอยด์
โดยทั่วไปคนไข้ส่วนมากจะมีอาการดีขึ้นตามลำดับและสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ภายในเวลา 1-3 เดือน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายหลังการรักษาโดยวิธีข้างต้นแล้วนานกว่า 3 เดือน อาจปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการฉีดยาชาและ/หรือยาสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณกระดูกก้นกบที่ปวด เพื่อลดอาการปวดโดยตรง
2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-
ปรับท่าทางการนั่ง
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาอาการปวดกระดูกก้นกบคือการปรับท่าทางการนั่ง โดยแนะนำให้ปรับท่านั่งโดยการโน้มตัวไปข้างหน้าแทนที่จะนั่งแบบเอนหลัง เหตุผลเพื่อป้องกันการกดทับของน้ำหนักตัวลงบนกระดูกก้นกบ
-
การเลือกใช้หมอน
โดยหมอนที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะแนะนำมักจะเป็น หมอนหลุม หรือ หมอนรูปโดนัท (Donut Pillow) เป็นวิธีการรักษาที่ง่ายและได้ผลดี โดยการใช้หมอนที่มีรูตรงกลางเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดทับต่อกระดูกก้นกบ
3.รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
-
ทำกายภาพบำบัด
โดยการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อพิจารณาการใช้อุปกรณ์ทางกายภาพเพื่อลดอาการปวดและอาการอักเสบของกระดูกก้นกบ
-
การประคบเย็น
ภายหลังเกิดอุบัติเหตุใน 48 ชั่วโมงแรก การประคบเย็นด้วย Cold-Hot Pack หรือผ้าห่อน้ำแข็งจะช่วยลดการอักเสบของกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณรอบกระดูกก้นกบได้ดี
-
การประคบร้อนและแช่น้ำอุ่น
ควรทำหลังจากเกิดอุบัติเหตุไปแล้ว 48 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณกระดูกก้นกบดีขึ้น ช่วยให้อาการบาดเจ็บหายเร็วขึ้น ท้ายที่สุด การป้องกันไว้ก่อนจะเป็นการดีที่สุด เพราะหากเกิดอาการปวดก้นกบขึ้นมาแล้วก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตโดยตรง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดและทำกิจวัตรประจำวันได้ยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งให้ถูกท่าและขยับร่างกายให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ และถ้าหากมีอาการก็ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักกายภาพบำบัด เพื่อหาแนวทางการรักษาให้ดีที่สุด
———————–
ข้อควรระวัง: เนื้อหาในบทความ วีดีโอ ข้อความคิดเห็น มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการเข้ารับการตรวจ วิเคราะห์ และการวางแผนการรักษาของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เข้าชมไม่ควรวินิจฉัย หรือ คาดเดาโรคด้วยตัวเองจากการอ่านบทความ ข้อคิดเห็น หรือ ดูวีดีโอ นี้ คนไข้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของตนเองเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด และเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดที่อาจเกิดเพิ่มมากขึ้นในภายหลัง
บทความที่น่าสนใจ
- ยืนทำงาน นานๆ ปวดขาและเท้า แก้ยังไงดี?
- “ปวดหลังคอ” มีหลายแบบ-ปวดแบบไหนที่เสี่ยงอันตราย
- ปวดหลังส่วนบน ลามไปถึงไหล่ ทำยังไงดี?